หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง (ฉบับปรับปรุงใหม่)
ตามมติคณะรัฐมนตรี 6 กุมภาพันธ์ 2550 ได้กำหนดแนวทางและวิธีปฏิบัติ
เกี่่ยวกับหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง ไว้ในอำนาจ หน้าที่
ของคณะกรรมการกำหนดราคากลางไว้ว่า
"กรณีที่ราคากลางที่คณะกรรมการกำหนดราคากลางคำนวณไว้
แตกต่างกับราคาของผู้เสนอราคารายที่ส่วนราชการเห็นควรจ้าง ตั้งแต่
ร้อยละ 15 ขึ้นไป โดยใช้ราคาของผู้เสนอราคารายที่ส่วนราชการ
เห็นสมควรจ้างเป็นฐานในการคำนวณ ให้คณะกรรมการกำหนดราคากลาง
แจ้งรายละเอียดการคำนวณราคากลางก่อสร้างนั้นให้สำนักงาน
การตรวจเงินแผนดินทราบโดยเร็ว
ที่มา : คู่มือแนวทางการปฏิบัติงานสำหรับงานก่อสร้าง
ตัวอย่างเอกสาร
วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556
การพิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการก่อสร้าง กรณี ปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท
คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาให้ความช่วยเหลือ
ผู้ประกอบการก่อสร้างที่ได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนแรงงาน อันเนื่องมาจาก
การปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ซึ่งในส่วนที่ได้รับการอนุมัติแล้วมีหลักเกณฑ์
และเงื่อนไขดังนี้
1. เป็นการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการก่อสร้างเท่านั้น
2. บังคับใช้กับสัญญาก่อสร้างที่ได้ลงนามไว้กับหน่วยงานก่อนวันที่ 1 มกราคม 2556
หรือลงนามระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2556 ถึงวันที่ 22 เมษายน 2556 โดย
2.1 ในช่วงระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2556 ถึงวันที่ 22 เมษายน 2556 ยังมีนิติสัมพันธ์
และยังมิได้มีการส่งมอบงานงวดสุดท้าย หรือ
2.2 มีนิติสัมพันธ์อยู่ แต่ได้มีการส่งมอบงานงวดสุดท้ายในช่วงระหว่าง
วันที่ 1 มกราคม 2556 ถึงวันที่ 22 เมษายน 2556 ยกเว้น
2.3 สัญญาที่ได้พิจารณาก่อนวันที่ 1 มกราคม 2556 แล้วว่า จะบอกเลิกสัญญา
เนื่องจากคู่สัญญาปฏิบัติผิดสัญญา
3. หากเข้าหลักเกณฑ์ ให้ขยายระยะเวลาออกไปอีก 150 วัน แต่ถ้าอายุสัญญา
น้อยกว่า 150 วัน ให้ขยายเวลาได้เท่ากับอายุสัญญาเดิม
4. กรณีที่ผู้รับจ้างถูกปรับไว้ก่อนหน้าวันที่ 1 มกราคม 2556 ยังคงเป็นหน้าที่
ของผู้รับจ้างที่ต้องรับผิดชอบในส่วนของค่าปรับในช่วงก่อนหน้าที่จะได้รับ
การช่วยเหลือฯ แต่จะได้รับการลดหรืองดค่าปรับเฉพาะในช่วงเวลาที่ได้รับ
การช่วยเหลือตามมาตรการนี้เท่านั้น
ตัวอย่าง สัญญาจ้างปรับปรุง สัญญาลงนามเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2555
ครบกำหนดสัญญาเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2555 บริษัท ก. ส่งมอบงานในวันที่
20 มกราคม 2556 บริษัท ก. จะต้องรับผิดชอบค่าปรับตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม
2555 - 31 ธันวาคม 2555 สำหรับค่าปรับในช่วงวันที่ 1 มกราคม 2556 - 20 มกราคม
2556 จะได้รับการยกเว้นค่าปรับตามมติคณะรัฐมนตรี
5. กรณีขยายสัญญา ให้ขยายระยะเวลาโดยนับถัดจากวันสิ้นสุดระยะเวลา
ตามสัญญาเดิม
6. กรณีสัญญาจ้างก่อสร้างเข้าหลักเกณฑ์ หากขยายระยะเวลาออกไป มีผล
ทำให้ผู้รับจ้างไม่ถูกปรับ ก็ให้งด ลดค่าปรับ หรือคืนค่าปรับตามความเป็นจริง
แล้วแต่กรณี
7. กรณีมีการจ้างเอกชนควบคุมงาน ให้ผู้รับจ้างเป็นผู้รับภาระค่าจ้างควบคุมงาน
หรือค่าจ้างที่ปรึกษาสำหรับระยะเวลาที่ได้ขยายออกไป
8. ผู้รับจ้างที่ประสงค์จะขอรับความช่วยเหลือ จะต้องยืนคำร้องขอต่อหน่วยงาน
คู่สัญญาภายใน 60 วัน นับถัดจากวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (วันที่ 25 พฤศจิกายน
2556)
ที่มา : หนังสือด่วนที่สุด สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร 0506/ว 208
ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2556
ผู้ประกอบการก่อสร้างที่ได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนแรงงาน อันเนื่องมาจาก
การปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ซึ่งในส่วนที่ได้รับการอนุมัติแล้วมีหลักเกณฑ์
และเงื่อนไขดังนี้
1. เป็นการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการก่อสร้างเท่านั้น
2. บังคับใช้กับสัญญาก่อสร้างที่ได้ลงนามไว้กับหน่วยงานก่อนวันที่ 1 มกราคม 2556
หรือลงนามระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2556 ถึงวันที่ 22 เมษายน 2556 โดย
2.1 ในช่วงระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2556 ถึงวันที่ 22 เมษายน 2556 ยังมีนิติสัมพันธ์
และยังมิได้มีการส่งมอบงานงวดสุดท้าย หรือ
2.2 มีนิติสัมพันธ์อยู่ แต่ได้มีการส่งมอบงานงวดสุดท้ายในช่วงระหว่าง
วันที่ 1 มกราคม 2556 ถึงวันที่ 22 เมษายน 2556 ยกเว้น
2.3 สัญญาที่ได้พิจารณาก่อนวันที่ 1 มกราคม 2556 แล้วว่า จะบอกเลิกสัญญา
เนื่องจากคู่สัญญาปฏิบัติผิดสัญญา
3. หากเข้าหลักเกณฑ์ ให้ขยายระยะเวลาออกไปอีก 150 วัน แต่ถ้าอายุสัญญา
น้อยกว่า 150 วัน ให้ขยายเวลาได้เท่ากับอายุสัญญาเดิม
4. กรณีที่ผู้รับจ้างถูกปรับไว้ก่อนหน้าวันที่ 1 มกราคม 2556 ยังคงเป็นหน้าที่
ของผู้รับจ้างที่ต้องรับผิดชอบในส่วนของค่าปรับในช่วงก่อนหน้าที่จะได้รับ
การช่วยเหลือฯ แต่จะได้รับการลดหรืองดค่าปรับเฉพาะในช่วงเวลาที่ได้รับ
การช่วยเหลือตามมาตรการนี้เท่านั้น
ตัวอย่าง สัญญาจ้างปรับปรุง สัญญาลงนามเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2555
ครบกำหนดสัญญาเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2555 บริษัท ก. ส่งมอบงานในวันที่
20 มกราคม 2556 บริษัท ก. จะต้องรับผิดชอบค่าปรับตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม
2555 - 31 ธันวาคม 2555 สำหรับค่าปรับในช่วงวันที่ 1 มกราคม 2556 - 20 มกราคม
2556 จะได้รับการยกเว้นค่าปรับตามมติคณะรัฐมนตรี
5. กรณีขยายสัญญา ให้ขยายระยะเวลาโดยนับถัดจากวันสิ้นสุดระยะเวลา
ตามสัญญาเดิม
6. กรณีสัญญาจ้างก่อสร้างเข้าหลักเกณฑ์ หากขยายระยะเวลาออกไป มีผล
ทำให้ผู้รับจ้างไม่ถูกปรับ ก็ให้งด ลดค่าปรับ หรือคืนค่าปรับตามความเป็นจริง
แล้วแต่กรณี
7. กรณีมีการจ้างเอกชนควบคุมงาน ให้ผู้รับจ้างเป็นผู้รับภาระค่าจ้างควบคุมงาน
หรือค่าจ้างที่ปรึกษาสำหรับระยะเวลาที่ได้ขยายออกไป
8. ผู้รับจ้างที่ประสงค์จะขอรับความช่วยเหลือ จะต้องยืนคำร้องขอต่อหน่วยงาน
คู่สัญญาภายใน 60 วัน นับถัดจากวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (วันที่ 25 พฤศจิกายน
2556)
ที่มา : หนังสือด่วนที่สุด สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร 0506/ว 208
ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2556
วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
แนวทางปฏิบัติในการพิจารณาคุณสมบัติของผู้เสนอราคาที่เป็นกิจการร่วมค้า
คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุได้มีหนังสือกำหนดแนวทางปฏิบัติ
ในการพิจารณาคุณสมบัติของผู้เสนอราคาที่เป็นกิจการร่วมค้า
เพื่อให้การพิจารณาเกี่ยวกับคุณสมบัติของกิจการร่วมค้าเป็นไปตาม
แนวทางเดียวกัน ดังนี้
หลักการ
และคุณสมบัติด้านผลงาน |
จดทะเบียน
เป็นนิติบุคคลใหม่ |
ไม่ได้จดทะเบียน
เป็นนิติบุคคลใหม่ |
หลักการ
|
ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน
ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในเอกสารประกวดราคา |
นิติบุคคลแต่ละนิติบุคคล ที่เข้าร่วมค้าทุกราย จะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในเอกสารประกวดราคา ***เว้นแต่ ได้มีข้อตกลง ระหว่างผู้ร่วมค้าเป็นลายลักษณ์อักษรกำหนดให้ ผู้เข้าร่วมค้ารายใดรายหนึ่ง เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการ เข้าเสนอราคากับทางราชการ และแสดงหลักฐาน ดังกล่าวมาพร้อมซองประกวดราคา*** |
คุณสมบัติด้านผลงาน | สามารถนำผลงานก่อสร้าง ของผู้ที่เข้าร่วมค้ามาใช้ แสดงเป็นผลงานก่อสร้าง ของกิจการร่วมค้า ที่เข้าประกวดราคาได้ |
นิติบุคคลทุกรายจะต้อง มีผลงานตามที่ประกาศ กำหนด ***เว้นแต่ ได้มีข้อตกลง ระหว่างผู้ร่วมค้าเป็น ลายลักษณ์อักษรกำหนดให้ ผู้เข้าร่วมค้ารายใดรายหนึ่ง เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการ เข้าเสนอราคากับทางราชการ และแสดงหลักฐานดังกล่าว มาพร้อมซองประกวดราคา สามารถใช้ผลงานก่อสร้าง ของผู้ร่วมค้าหลักรายเดียว เป็นผลงานก่อสร้างของ กิจการร่วมค้าที่ยื่นเสนอราคาได้ |
วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
งานวิจัยกับแนวปฏิบัติของคณะกรรมการ ป.ป.ช.
มาตรา 103/7 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน
และปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554
ได้กำหนดมาตรการการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐไว้ 2 ประการ ได้แก่
1. การให้หน่วยงานของรัฐจัดทำรายละเอียดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง
ราคากลาง การคำนวณราคากลางไว้ในระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
2. การให้บุคคล หรือนิติบุคคล ที่เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ
แสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการต่อกรมสรรพากร
โดยตามประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำ
และแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญา
กับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2554 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ดูคู่มือ ข้อ 2.4.3)
จากมาตรการดังกล่าว ในส่วนของ ข้อ 1. ส่วนราชการผู้ให้ทุนจะเป็นผู้
ประกาศราคากลางตามแบบที่ สำนักงาน ป.ป.ช.กำหนด ดังรูป
และปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554
ได้กำหนดมาตรการการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐไว้ 2 ประการ ได้แก่
1. การให้หน่วยงานของรัฐจัดทำรายละเอียดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง
ราคากลาง การคำนวณราคากลางไว้ในระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
2. การให้บุคคล หรือนิติบุคคล ที่เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ
แสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการต่อกรมสรรพากร
โดยตามประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำ
และแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญา
กับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2554 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ดูคู่มือ ข้อ 2.4.3)
จากมาตรการดังกล่าว ในส่วนของ ข้อ 1. ส่วนราชการผู้ให้ทุนจะเป็นผู้
ประกาศราคากลางตามแบบที่ สำนักงาน ป.ป.ช.กำหนด ดังรูป
โดยการประกาศดังกล่าว ให้ปรกาศภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่
ผู้มีอำนาจได้อนุมัติให้เงินสนับสนุนทุนการวิจัย
ทั้งนี้ หากในการวิจัยดังกล่าวมีการจัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงินเกินกว่า
100,000 บาท ก็จะต้องดำเนินการประกาศราคากลางในส่วนของการจัดซื้อ
จัดจ้างนั้น ตามแบบการประกาศราคากลางที่สอดคล้องกับงาน
สำหรับมาตรการการให้บุคคล หรือนิติบุคคล ที่เป็นคู่สัญญากับหน่วยงาน
ของรัฐแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการต่อกรมสรรพากร นั้น
ส่วนราชการเจ้าของงบประมาณจะต้องกำหนดไว้ในข้อกำหนดคุณสมบัติ
ของผู้รับทุน แต่หากการให้ทุนอุดหนุนการวิจัยดังกล่าวมีวงเงินเกิน
2,000,000 บาท ส่วนราชการเจ้าของงบประมาณจะต้องบันทึกข้อมูลสัญญา
หน่วยงานของรัฐในระบบบันทึกข้อมูลคู่สัญญาหน่วยงานของรัฐ บนเว็บไซต์
ของ สำนักงาน ป.ป.ช.
วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556
คุณลักษณะพื้นฐานของกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV)
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้กำหนดคุณลักษณะพื้นฐาน
ของกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ไว้ โดยแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. กล้องโทรทัศน์วงจรปิด IP แบบมุมมองคงที่ (IP Fixed Camera)
2. กล้องโทรทัศน์วงจรปิด IP แบบโดมมุมมองคงที่ (Dome IP Fixed Camera)
3. กล้องโทรทัศน์วงจรปิด IP แบบปรับมุมมองได้ (IP Pan Tilt Zoom Camera)
ที่มา : http://www.mict.go.th/download/cctv-270556_new.pdf
https://docs.google.com/file/d/0B4R2t_28NkfFZ0ZmQlhvNW1WOFE/edit (link สำรอง)
ของกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ไว้ โดยแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. กล้องโทรทัศน์วงจรปิด IP แบบมุมมองคงที่ (IP Fixed Camera)
2. กล้องโทรทัศน์วงจรปิด IP แบบโดมมุมมองคงที่ (Dome IP Fixed Camera)
3. กล้องโทรทัศน์วงจรปิด IP แบบปรับมุมมองได้ (IP Pan Tilt Zoom Camera)
ที่มา : http://www.mict.go.th/download/cctv-270556_new.pdf
https://docs.google.com/file/d/0B4R2t_28NkfFZ0ZmQlhvNW1WOFE/edit (link สำรอง)
วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556
เว็บไซต์สำหรับสืบค้นราคากลาง/ราคามาตรฐาน ของส่วนราชการ
วันนี้จะขอแนะนำเว็บไซต์ที่ต้องใช้เพื่อสืบค้นราคากลาง หรือราคามาตรฐานนะคะ
1. ราคามาตรฐานครุภัณฑ์ และสิ่งก่อสร้าง สืบค้นได้จากเว็บไซต์ของสำนักงบประมาณ (คลิก)
2. ราคามาตรฐานครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ สืบค้นได้จากเว็บไซต์ของกระทรวงเทคโนโลยี-
สารสนเทศ และการสื่อสาร (คลิก)
3. ราคากลางยา และเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา สืบค้นได้จากเว็บไซต์ของกระทรวงสาธารณสุข (คลิก)
และถ้ามีเพิ่มเติมจะนำมาแจ้งให้ทราบอีกนะคะ
1. ราคามาตรฐานครุภัณฑ์ และสิ่งก่อสร้าง สืบค้นได้จากเว็บไซต์ของสำนักงบประมาณ (คลิก)
2. ราคามาตรฐานครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ สืบค้นได้จากเว็บไซต์ของกระทรวงเทคโนโลยี-
สารสนเทศ และการสื่อสาร (คลิก)
3. ราคากลางยา และเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา สืบค้นได้จากเว็บไซต์ของกระทรวงสาธารณสุข (คลิก)
และถ้ามีเพิ่มเติมจะนำมาแจ้งให้ทราบอีกนะคะ
วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2556
การประกาศรายละเอียดข้อมูลราคากลางและการคำนวณราคากลาง
คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติในการเปิดเผยรายละเอียด
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ราคากลาง และการคำนวณราคากลาง
เพื่อให้ประชาชนสามารถตรวจสอบได้ ไว้ดังนี้
1. ประเภทการจัดซื้อจัดจ้าง
1.1 งานก่อสร้าง
1.2 การจ้างควบคุมงาน
1.3 การจ้างออกแบบ
1.4 การจ้างที่ปรึกษา
1.5 การจ้างงานวิจัย หรือเงินสนับสนุนให้ทุนการวิจัย
1.6 การจ้างพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์
1.7 การจัดซื้อจัดจ้างที่มิใช่งานก่อสร้าง
2. เงื่อนไขการประกาศ
2.1 ให้ประกาศรายละเอียดข้อมูลราคากลางและคำนวณราคากลาง
ในการจัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงินเกินกว่าหนึ่งแสนบาท
2.2 ให้ประกาศในระบบฐานข้อมูล (เว็บไซต์) 2 แห่ง ดังนี้
2.2.1 ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของกรมบัญชีกลาง (ระบบ e-GP)
2.2.2 เว็บไซต์ของหน่วยงานที่จัดซื้อจัดจ้าง หากไม่มี ให้ประกาศ
หน้าเว็บไซต์ของหน่วยงานที่เป็นต้นสังกัด
2.3 ระยะเวลาที่ประกาศ
2.3.1 กรณีการจัดหาที่มีการแข่งขันที่ต้องประกาศเชิญชวน
- ให้ประกาศตั้งแต่วันที่มีการประกาศขอบเขตดำเนินการ (TOR)
หรือประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
- ให้ประกาศไปจนถึงวันที่ผู้มีอำนาจอนุมัติการสั่งซื้อสั่งจ้าง
ได้มีคำสั่งรับคำเสนอซื้อหรือจ้าง หรือเมื่อพ้น 30 วัน
นับแต่วันที่คณะกรรมการพิจารณาผล หรือผู้มีอำนาจหน้าที่
พิจารณาผลเสนอความเห็นต่อผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อสั่งจ้าง
แล้วแต่ระยะเวลาใดถึงกำหนดก่อน
2.3.2 กรณีการจัดหาที่ไม่มีประกาศเชิญชวน
- ให้ประกาศภายใน 3 วัน นับแต่วันที่ผู้มีอำนาจได้อนุมัติ
รายงานขอซื้อขอจ้าง หรืออนุมัติการจัดซื้อจัดจ้าง
หรืออนุมัติให้เงินสนับสนุนทุนการวิจัย
- หากไม่สามารถประกาศก่อสร้างการสั่งซื้่อสั่งจ้างได้
ให้ประกาศพร้อมกับการจัดซื้อจัดจ้าง
- กรณีที่มีเหตุสุดวิสัย หรือเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้
ให้ประกาศภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีการจัดซื้อจัดจ้าง
การประกาศดังกล่าว ให้ประกาศเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 30 วัน
และสำหรับผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมฟังการประชุมสัมมนา เชิญ คลิกเพื่อดูวิดีโอค่ะ
ที่มา : คู่มือแนวทางการเปิดเผยรายละเอียดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง
ราคากลาง และการคำนวณราคากลาง
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ราคากลาง และการคำนวณราคากลาง
เพื่อให้ประชาชนสามารถตรวจสอบได้ ไว้ดังนี้
1. ประเภทการจัดซื้อจัดจ้าง
1.1 งานก่อสร้าง
1.2 การจ้างควบคุมงาน
1.3 การจ้างออกแบบ
1.4 การจ้างที่ปรึกษา
1.5 การจ้างงานวิจัย หรือเงินสนับสนุนให้ทุนการวิจัย
1.6 การจ้างพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์
1.7 การจัดซื้อจัดจ้างที่มิใช่งานก่อสร้าง
2. เงื่อนไขการประกาศ
2.1 ให้ประกาศรายละเอียดข้อมูลราคากลางและคำนวณราคากลาง
ในการจัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงินเกินกว่าหนึ่งแสนบาท
2.2 ให้ประกาศในระบบฐานข้อมูล (เว็บไซต์) 2 แห่ง ดังนี้
2.2.1 ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของกรมบัญชีกลาง (ระบบ e-GP)
2.2.2 เว็บไซต์ของหน่วยงานที่จัดซื้อจัดจ้าง หากไม่มี ให้ประกาศ
หน้าเว็บไซต์ของหน่วยงานที่เป็นต้นสังกัด
2.3 ระยะเวลาที่ประกาศ
2.3.1 กรณีการจัดหาที่มีการแข่งขันที่ต้องประกาศเชิญชวน
- ให้ประกาศตั้งแต่วันที่มีการประกาศขอบเขตดำเนินการ (TOR)
หรือประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
- ให้ประกาศไปจนถึงวันที่ผู้มีอำนาจอนุมัติการสั่งซื้อสั่งจ้าง
ได้มีคำสั่งรับคำเสนอซื้อหรือจ้าง หรือเมื่อพ้น 30 วัน
นับแต่วันที่คณะกรรมการพิจารณาผล หรือผู้มีอำนาจหน้าที่
พิจารณาผลเสนอความเห็นต่อผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อสั่งจ้าง
แล้วแต่ระยะเวลาใดถึงกำหนดก่อน
2.3.2 กรณีการจัดหาที่ไม่มีประกาศเชิญชวน
- ให้ประกาศภายใน 3 วัน นับแต่วันที่ผู้มีอำนาจได้อนุมัติ
รายงานขอซื้อขอจ้าง หรืออนุมัติการจัดซื้อจัดจ้าง
หรืออนุมัติให้เงินสนับสนุนทุนการวิจัย
- หากไม่สามารถประกาศก่อสร้างการสั่งซื้่อสั่งจ้างได้
ให้ประกาศพร้อมกับการจัดซื้อจัดจ้าง
- กรณีที่มีเหตุสุดวิสัย หรือเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้
ให้ประกาศภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีการจัดซื้อจัดจ้าง
การประกาศดังกล่าว ให้ประกาศเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 30 วัน
และสำหรับผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมฟังการประชุมสัมมนา เชิญ คลิกเพื่อดูวิดีโอค่ะ
ที่มา : คู่มือแนวทางการเปิดเผยรายละเอียดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง
ราคากลาง และการคำนวณราคากลาง
การติดตั้งแผ่นป้ายแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับงานก่อสร้างของทางราชการ
การติดตั้งแผ่นป้ายแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับงานก่อสร้างของทางราชการ
จะบังคับใช้ใน 2 กรณี คือ
1. กรณีงานก่อสร้างสาธารณูปโภคที่ต้องขุดเจาะถนนหรือทางเท้า ซึ่งอยู่ใน
ความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร
2. กรณีงานก่อสร้างทุกประเภทซึ่งมีค่างานตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป (และมิใช่
งานตามกรณีที่ 1)
โดยงานก่อสร้างตามกรณีที่ 2 ต้องดำเนินการดังนี้
1. ให้ติดตั้งแผ่นป้ายไว้ ณ บริเวณสถานที่กอ่สร้าง โดยกำหนดเป็นเงื่อนไข
ในสัญญาจ้างให้ผู้รับจ้างเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการจัดทำและติดตั้ง
แผ่นป้าย
2. แผ่นป้ายต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับงานก่อสร้าง ดังนี้
2.1 ชื่อหน่วยงานเจ้าของโครงการ สถานที่ติดต่อ และหมายเลขโทรศัพท์
พร้อมดวงตราหน่วยงานเจ้าของโครงการ
2.2 ประเภทและชนิดของสิ่งก่อสร้าง
2.3 ปริมาณงานก่อสร้าง
2.4 ชื่อ ที่อยู่ ผู้รับจ้างพร้อมหมายเลขโทรศัพท์
2.5 ระยะเวลาเริ่มต้นและระยะเวลาสิ้นสุดของโครงการ
2.6 วงเงินค่าก่อสร้าง
2.7 ชื่อเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการผู้ควบคุมงาน พร้อมหมายเลขโทรศัพท์
2.8 ชื่อเจ้าหน้าที่ของบริษัทวิศวกรที่ปรึกษาผู้ควบคุมงาน พร้อมหมายเลข
โทรศัพท์
2.9 กำลังก่อสร้างด้วยเงินภาษีอากรของประชาชน
3. ขนาดของแผ่นป้ายแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับงานก่อสร้าง
3.1 งานก่อสร้างขนาดเล็ก และงานก่อสร้างในพื้นที่ชนบท
แผ่นป้ายควรมีขนาดไม่เล็กกว่า 1.20 x 2.40 เมตร
3.2 งานก่อสร้างขนาดใหญ่ และงานก่อสร้างในเขตชุมชนเมือง
หรืองานก่อสร้างในกรุงเทพมหานคร แผ่นป้ายควรมีขนาด
ไม่เล็กกว่า 2.40 x 4.80 เมตร
4. งานก่อสร้างทาง คลอง หรือลำน้ำ ให้ติดตั้งแผ่นป้ายรายละเอียดไว้
ณ จุดเริ่มต้น และจุดสิ้นสุดงานก่อสร้าง อย่างน้อย 2 จุด
ที่มา : หนังสือคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ กรมบัญชีกลาง
ที่ กค (กวพ) 0421.3/ว 231 ลงวันที่ 24 มิถุนายน 2556
จะบังคับใช้ใน 2 กรณี คือ
1. กรณีงานก่อสร้างสาธารณูปโภคที่ต้องขุดเจาะถนนหรือทางเท้า ซึ่งอยู่ใน
ความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร
2. กรณีงานก่อสร้างทุกประเภทซึ่งมีค่างานตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป (และมิใช่
งานตามกรณีที่ 1)
โดยงานก่อสร้างตามกรณีที่ 2 ต้องดำเนินการดังนี้
1. ให้ติดตั้งแผ่นป้ายไว้ ณ บริเวณสถานที่กอ่สร้าง โดยกำหนดเป็นเงื่อนไข
ในสัญญาจ้างให้ผู้รับจ้างเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการจัดทำและติดตั้ง
แผ่นป้าย
2. แผ่นป้ายต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับงานก่อสร้าง ดังนี้
2.1 ชื่อหน่วยงานเจ้าของโครงการ สถานที่ติดต่อ และหมายเลขโทรศัพท์
พร้อมดวงตราหน่วยงานเจ้าของโครงการ
2.2 ประเภทและชนิดของสิ่งก่อสร้าง
2.3 ปริมาณงานก่อสร้าง
2.4 ชื่อ ที่อยู่ ผู้รับจ้างพร้อมหมายเลขโทรศัพท์
2.5 ระยะเวลาเริ่มต้นและระยะเวลาสิ้นสุดของโครงการ
2.6 วงเงินค่าก่อสร้าง
2.7 ชื่อเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการผู้ควบคุมงาน พร้อมหมายเลขโทรศัพท์
2.8 ชื่อเจ้าหน้าที่ของบริษัทวิศวกรที่ปรึกษาผู้ควบคุมงาน พร้อมหมายเลข
โทรศัพท์
2.9 กำลังก่อสร้างด้วยเงินภาษีอากรของประชาชน
3. ขนาดของแผ่นป้ายแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับงานก่อสร้าง
3.1 งานก่อสร้างขนาดเล็ก และงานก่อสร้างในพื้นที่ชนบท
แผ่นป้ายควรมีขนาดไม่เล็กกว่า 1.20 x 2.40 เมตร
3.2 งานก่อสร้างขนาดใหญ่ และงานก่อสร้างในเขตชุมชนเมือง
หรืองานก่อสร้างในกรุงเทพมหานคร แผ่นป้ายควรมีขนาด
ไม่เล็กกว่า 2.40 x 4.80 เมตร
4. งานก่อสร้างทาง คลอง หรือลำน้ำ ให้ติดตั้งแผ่นป้ายรายละเอียดไว้
ณ จุดเริ่มต้น และจุดสิ้นสุดงานก่อสร้าง อย่างน้อย 2 จุด
ที่มา : หนังสือคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ กรมบัญชีกลาง
ที่ กค (กวพ) 0421.3/ว 231 ลงวันที่ 24 มิถุนายน 2556
การจ้างทาสีอาคาร เบิกจ่ายจากหมวดไหนดี
กรณีที่ส่วนราชการจะดำเนินการจ้างทาสีอาคาร และการดำเนินการ
ดังกล่าวนั้นมีวงเงินสูง แต่ไม่ทราบว่าจะต้องเบิกจ่ายเงินจากหมวดไหนดี
ผู้เขียนจึงได้นำคำตอบของสำนักงบประมาณมาให้ชมเพื่อใช้เป็นแนวทาง
ในการปฏิบัติงานค่ะ
ได้มีผู้ถามไปยังสำนักงบประมาณว่า การจ้างทาสีภายนอกอาคาร
วงเงิน 1,000,000 บาท จะถือว่าเป็นการซ่อมแซม หรือการปรับปรุง
และต้องใช้งบดำเนินงานหรืองบลงทุน
สำนักงบประมาณได้ตอบว่า เป็นรายจ่ายเพื่อซ่อมแซมอาคาร
ให้คงสภาพเดิม เบิกจ่ายจากงบดำเนินงาน ลักษณะค่าใช้สอย
ดังกล่าวนั้นมีวงเงินสูง แต่ไม่ทราบว่าจะต้องเบิกจ่ายเงินจากหมวดไหนดี
ผู้เขียนจึงได้นำคำตอบของสำนักงบประมาณมาให้ชมเพื่อใช้เป็นแนวทาง
ในการปฏิบัติงานค่ะ
ได้มีผู้ถามไปยังสำนักงบประมาณว่า การจ้างทาสีภายนอกอาคาร
วงเงิน 1,000,000 บาท จะถือว่าเป็นการซ่อมแซม หรือการปรับปรุง
และต้องใช้งบดำเนินงานหรืองบลงทุน
สำนักงบประมาณได้ตอบว่า เป็นรายจ่ายเพื่อซ่อมแซมอาคาร
ให้คงสภาพเดิม เบิกจ่ายจากงบดำเนินงาน ลักษณะค่าใช้สอย
วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
สินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (ฉลากเขียว)
ตามที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ (กวพ) เห็นควรให้การสนับสนุนสินค้า
ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะสินค้าที่ได้รับ "ฉลากเขียว" ซึ่งเป็นสินค้า
ที่มีคุณภาพ และกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับ
ผลิตภัณฑ์ที่ทำหน้าที่อย่างเดียวกัน โดยที่คุณภาพยังอยู่ในระดับมาตรฐาน
ที่กำหนด และผ่านการประเมินมาตรฐานทางด้านสิ่งแวดล้อมตามข้อกำหนด
และเห็นควรให้มีการสนับสนุนให้ส่วนราชการภายใต้บังคับระเบียบสำนัก-
นายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 จัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการ
ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในส่วนของสินค้าฉลากเขียวตามคู่มือ
การจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของกรมควบคุม
มลพิษ นั้น
กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
จัดทำเกณฑ์ข้อกำหนดสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไว้ 17 รายการ
ซึ่งแบ่งออกเป็น สินค้า จำนวน 14 รายการ และ บริการ 3 รายการ ดังนี้
1. กระดาษคอมพิวเตอร์ กระดาษสีทำปก
2. กระดาษชำระ
3. กล่องใส่เอกสาร
4. เครื่องถ่ายเอกสาร
5. เครื่องพิมพ์
6. เครื่องเรือนเหล็ก
7. ซองบรรจุภัณฑ์
8. ตลับหมึก
9. แบตเตอรี่ปฐมภูมิ
10. ปากกาไวท์บอร์ด
11. ผลิตภัณฑ์ลบคำผิด
12. แฟ้มเอกสาร
13. สีทาอาคาร
14. หลอดฟลูออเรสเซนต์
15. บริการทำความสะอาด
16. บริการโรงแรม
17. บริการเช่าเครื่องถ่ายเอกสาร
ที่มา : 1. คู่มือการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตร
กับสิ่งแวดล้อมของกรมควบคุมมลพิษ
2. หนังสือ ที่ กค (กวพ) 0421.3/ว181 ลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2556
ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะสินค้าที่ได้รับ "ฉลากเขียว" ซึ่งเป็นสินค้า
ที่มีคุณภาพ และกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับ
ผลิตภัณฑ์ที่ทำหน้าที่อย่างเดียวกัน โดยที่คุณภาพยังอยู่ในระดับมาตรฐาน
ที่กำหนด และผ่านการประเมินมาตรฐานทางด้านสิ่งแวดล้อมตามข้อกำหนด
และเห็นควรให้มีการสนับสนุนให้ส่วนราชการภายใต้บังคับระเบียบสำนัก-
นายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 จัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการ
ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในส่วนของสินค้าฉลากเขียวตามคู่มือ
การจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของกรมควบคุม
มลพิษ นั้น
กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
จัดทำเกณฑ์ข้อกำหนดสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไว้ 17 รายการ
ซึ่งแบ่งออกเป็น สินค้า จำนวน 14 รายการ และ บริการ 3 รายการ ดังนี้
1. กระดาษคอมพิวเตอร์ กระดาษสีทำปก
2. กระดาษชำระ
3. กล่องใส่เอกสาร
4. เครื่องถ่ายเอกสาร
5. เครื่องพิมพ์
6. เครื่องเรือนเหล็ก
7. ซองบรรจุภัณฑ์
8. ตลับหมึก
9. แบตเตอรี่ปฐมภูมิ
10. ปากกาไวท์บอร์ด
11. ผลิตภัณฑ์ลบคำผิด
12. แฟ้มเอกสาร
13. สีทาอาคาร
14. หลอดฟลูออเรสเซนต์
15. บริการทำความสะอาด
16. บริการโรงแรม
17. บริการเช่าเครื่องถ่ายเอกสาร
ที่มา : 1. คู่มือการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตร
กับสิ่งแวดล้อมของกรมควบคุมมลพิษ
2. หนังสือ ที่ กค (กวพ) 0421.3/ว181 ลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2556
วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
ค่าครุภัณฑ์ที่มีวงเงินต่อชุดไม่เกิน 5,000 บาท
สำนักงบประมาณได้มีหนังสือเขียนซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้จ่าย
งบประมาณรายจ่ายสำหรับค่าวัสดุ ค่าครุภัณฑ์ หรือค่าสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะ
คงทนถาวร และใช้เกณฑ์ราคาในการกำหนดงบรายจ่ายสำหรับค่าวัสดุที่มีวงเงิน
ต่อหน่วยหรือต่อชุดไม่เกิน 5,000 บาท ค่าครุภัณฑ์ที่มีวงเงินต่อหน่วยหรือต่อชุด
เกินกว่า 5,000 บาท และค่าสิ่งก่อสร้างที่มีวงเงินต่อหน่วยเกินกว่า 50,000 บาท
โดยได้ซ้อมความเข้าใจในกรณีที่เมื่อผลการจัดซื้อจัดจ้างยุติแล้วมีผลทำให้
งบรายจ่ายของรายการงบประมาณรายจ่ายเปลี่ยนแปลงไปจากงบรายจ่ายที่ได้รับ
การจัดสรรงบประมาณไว้เดิม เช่น
1. ได้ัรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบลงทุน มีราคาต่อหน่วย 5,500 บาท
แต่ผลการจัดหาได้ วงเงิน 4,900 บาท ซึ่งจัดเป็นค่าวัสดุ ก็ให้โอนเปลี่ยนแปลง
งบประมาณรายจ่ายไปตั้งจ่ายในงบดำเนินงาน ลักษณะค่าวัสดุ
2. ได้ัรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบดำเนินงาน ลักษณะค่าวัสดุ
เป็นการจัดหาสิ่งของที่มีลักษณะคงทนถาวร มีราคาต่อหน่วย 2,900 บาท
แต่ผลการจัดหาได้ วงเงิน 5,500 บาท ซึ่งจัดเป็นค่าครุภัณฑ์ ก็ให้โอน
เปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่ายไปตั้งจ่ายในงบลงทุน ลักษณะค่าครุภัณฑ์
ที่มา : หนังสือสำนักงบประมาณ ที่ นร 0704/ว49 ลงวันที่ 23 เมษายน 2555
งบประมาณรายจ่ายสำหรับค่าวัสดุ ค่าครุภัณฑ์ หรือค่าสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะ
คงทนถาวร และใช้เกณฑ์ราคาในการกำหนดงบรายจ่ายสำหรับค่าวัสดุที่มีวงเงิน
ต่อหน่วยหรือต่อชุดไม่เกิน 5,000 บาท ค่าครุภัณฑ์ที่มีวงเงินต่อหน่วยหรือต่อชุด
เกินกว่า 5,000 บาท และค่าสิ่งก่อสร้างที่มีวงเงินต่อหน่วยเกินกว่า 50,000 บาท
โดยได้ซ้อมความเข้าใจในกรณีที่เมื่อผลการจัดซื้อจัดจ้างยุติแล้วมีผลทำให้
งบรายจ่ายของรายการงบประมาณรายจ่ายเปลี่ยนแปลงไปจากงบรายจ่ายที่ได้รับ
การจัดสรรงบประมาณไว้เดิม เช่น
1. ได้ัรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบลงทุน มีราคาต่อหน่วย 5,500 บาท
แต่ผลการจัดหาได้ วงเงิน 4,900 บาท ซึ่งจัดเป็นค่าวัสดุ ก็ให้โอนเปลี่ยนแปลง
งบประมาณรายจ่ายไปตั้งจ่ายในงบดำเนินงาน ลักษณะค่าวัสดุ
2. ได้ัรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบดำเนินงาน ลักษณะค่าวัสดุ
เป็นการจัดหาสิ่งของที่มีลักษณะคงทนถาวร มีราคาต่อหน่วย 2,900 บาท
แต่ผลการจัดหาได้ วงเงิน 5,500 บาท ซึ่งจัดเป็นค่าครุภัณฑ์ ก็ให้โอน
เปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่ายไปตั้งจ่ายในงบลงทุน ลักษณะค่าครุภัณฑ์
ที่มา : หนังสือสำนักงบประมาณ ที่ นร 0704/ว49 ลงวันที่ 23 เมษายน 2555
ค่าวัสดุกับค่าซ่อมแซมบำรุงรักษาทรัพย์สิน
การจำแนกประเภทรายจ่ายตามงบประมาณ ตามหนังสือเวียนสำนักงบประมาณ
ที่ นร 0704/ว33 ลงวันที่ 18 มกราคม 2553 ได้ให้ความหมายของคำว่า ค่าใช้สอย
หมายถึง รายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งบริการ และรายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งบริการตาม
(11) ค่าซ่อมแซมบำรุงรักษาทรัพย์สิน เพื่อให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ รวมถึง
ได้กำหนดด้วยว่า กรณีเป็นการจ้างเหมาทั้งสิ่งของและค่าแรงให้จ่ายจาก ค่าใช้สอย
ค่าวัสดุ หมายถึง รายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งของ โดยสภาพมีลักษณะเมื่อใช้แล้ว
ย่อมสิ้นเปลือง หมดไป แปรสภาพ หรือไม่คงสภาพเดิม และให้หมาความรวมถึง
รายจ่าย (5) รายจ่ายเพื่อซ่อมแซมบำรุงรักษาทรัพย์สินให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ
แต่ไม่รวมถึงค่าจัดหาเครื่องยนต์ใหม่เพื่อใช้ในการซ่อมแซมรถยนต์ เมื่อพิจารณาแล้ว
จะเห็นได้ว่า เป็นรายจ่ายเพื่อการซ่อมแซมและบำรุงรักษาทรัพย์สินเหมือนกัน
เพียงแต่เบิกจ่ายต่างหมวดรายจ่ายกัน และยากต่อการพิจารณาว่าจะต้องอยู่ใน
หมวดใด
ทั้งนี้ ในหนังสือเวียนดังกล่าว ได้กำหนดว่า กรณีที่ส่วนราชการเป็นผู้ดำเนินการ
ซ่อมแซมบำรุงรักษาทรัพย์สินเอง ให้ปฏิบัติดังนี้
1. ค่าจ้างเหมาแรงงานของบุคคลภายนอก ให้จ่ายจาก ค่าใช้สอย
2. ค่าสิ่งของที่ส่วนราชการซื้อมาใช้ในการซ่อมแซมบำรุงรักษาทรัพย์สิน
ให้จ่ายจาก ค่าวัสดุ
เพื่อประกอบการทำความเข้าใจ ผู้เขียนขอนำข้อคำถามที่ได้มีผู้สอบถาม
ไปยังสำนักงบประมาณถึงความหมายและความแตกต่างของ ค่าใช้สอยและ
ค่าวัสดุ รวมถึงได้สอบถามถึงการซ่อมแซมซึ่งรวมแบตเตอรี่ซึ่งเป็นวัสดุ
อยู่ในรายการซ่อมแซมด้วย
สำนักงบประมาณได้ให้คำตอบว่า การซ่อมแซมบำรุงรักษาทรัพย์สิน
เพื่อให้สามารถใช้งานได้ตามปกติมีอยู่ 2 กรณี คือ กรณีที่มีแต่ค่าแรงงาน
และกรณีที่มีทั้งค่าแรงงานและค่าสิ่งของ การเบิกจ่ายในหมวดค่าวัสดุ
จะเป็นกรณีส่วนราชการซื้อวัสดุมาซ่อมโดยไม่รวมค่าแรง ดังนั้น หากซื้อ
แบตเตอรี่มาเพื่อซ่อม ก็ให้เบิกในหมวดค่าวัสดุ แต่หากจ้างซ่อมแล้วมีการ
ใส่แบตเตอรี่ด้วย ก็ให้เบิกจ่ายจากค่าใช้สอย โดยไม่ต้องแยกการเบิกจ่าย
ที่ นร 0704/ว33 ลงวันที่ 18 มกราคม 2553 ได้ให้ความหมายของคำว่า ค่าใช้สอย
หมายถึง รายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งบริการ และรายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งบริการตาม
(11) ค่าซ่อมแซมบำรุงรักษาทรัพย์สิน เพื่อให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ รวมถึง
ได้กำหนดด้วยว่า กรณีเป็นการจ้างเหมาทั้งสิ่งของและค่าแรงให้จ่ายจาก ค่าใช้สอย
ค่าวัสดุ หมายถึง รายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งของ โดยสภาพมีลักษณะเมื่อใช้แล้ว
ย่อมสิ้นเปลือง หมดไป แปรสภาพ หรือไม่คงสภาพเดิม และให้หมาความรวมถึง
รายจ่าย (5) รายจ่ายเพื่อซ่อมแซมบำรุงรักษาทรัพย์สินให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ
แต่ไม่รวมถึงค่าจัดหาเครื่องยนต์ใหม่เพื่อใช้ในการซ่อมแซมรถยนต์ เมื่อพิจารณาแล้ว
จะเห็นได้ว่า เป็นรายจ่ายเพื่อการซ่อมแซมและบำรุงรักษาทรัพย์สินเหมือนกัน
เพียงแต่เบิกจ่ายต่างหมวดรายจ่ายกัน และยากต่อการพิจารณาว่าจะต้องอยู่ใน
หมวดใด
ทั้งนี้ ในหนังสือเวียนดังกล่าว ได้กำหนดว่า กรณีที่ส่วนราชการเป็นผู้ดำเนินการ
ซ่อมแซมบำรุงรักษาทรัพย์สินเอง ให้ปฏิบัติดังนี้
1. ค่าจ้างเหมาแรงงานของบุคคลภายนอก ให้จ่ายจาก ค่าใช้สอย
2. ค่าสิ่งของที่ส่วนราชการซื้อมาใช้ในการซ่อมแซมบำรุงรักษาทรัพย์สิน
ให้จ่ายจาก ค่าวัสดุ
เพื่อประกอบการทำความเข้าใจ ผู้เขียนขอนำข้อคำถามที่ได้มีผู้สอบถาม
ไปยังสำนักงบประมาณถึงความหมายและความแตกต่างของ ค่าใช้สอยและ
ค่าวัสดุ รวมถึงได้สอบถามถึงการซ่อมแซมซึ่งรวมแบตเตอรี่ซึ่งเป็นวัสดุ
อยู่ในรายการซ่อมแซมด้วย
สำนักงบประมาณได้ให้คำตอบว่า การซ่อมแซมบำรุงรักษาทรัพย์สิน
เพื่อให้สามารถใช้งานได้ตามปกติมีอยู่ 2 กรณี คือ กรณีที่มีแต่ค่าแรงงาน
และกรณีที่มีทั้งค่าแรงงานและค่าสิ่งของ การเบิกจ่ายในหมวดค่าวัสดุ
จะเป็นกรณีส่วนราชการซื้อวัสดุมาซ่อมโดยไม่รวมค่าแรง ดังนั้น หากซื้อ
แบตเตอรี่มาเพื่อซ่อม ก็ให้เบิกในหมวดค่าวัสดุ แต่หากจ้างซ่อมแล้วมีการ
ใส่แบตเตอรี่ด้วย ก็ให้เบิกจ่ายจากค่าใช้สอย โดยไม่ต้องแยกการเบิกจ่าย
แต่หากว่า แบตเตอรี่ที่ต้องการซื้อมาเพื่อซ่อม มีราคาเกินกว่า 5,000 บาท
ซึ่งจะต้องเข้าข่ายที่จะต้องเบิกจ่ายในหมวดค่าครุภัณฑ์ตามหลักการจำแนก
ประเภทรายจ่ายแล้ว ก็จะมีประเด็นที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติม
สำนักงบประมาณเคยมีการให้ข้อคำตอบไว้ว่า การจัดหาแบตเตอรี่ ก็เพื่อ
ซ่อมแซมให้ใช้งานได้ถือเป็นการซ่อมแซมบำรุงรักษาสินทรัพย์ให้ใช้งาน
ได้ตามปกติ เนื่องจากแบตเตอรี่เป็นส่วนประกอบของรถยนต์จึงจัดเป็นค่าวัสดุ
วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
แนวทางปฏิบัติในการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อใช้ในการปฏิบัติราชการตามภารกิจของหน่วยงาน
แนวทางการปฏิบัติในการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อใช้ในการปฏิบัติราชการ
ตามภารกิจของหน่วยงาน ตามหนังสือคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ ด่วนที่สุด
ที่ กค (กวพ) 0421.3/ว462 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2555 ใช้บังคับสำหรับ
การจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงของส่วนราชการเพื่อใช้ในการปฏิบัติภารกิจของ
หน่วยงาน โดยครอบคลุมรถราชการ และยานพาหนะอย่างอื่น รวมถึงอุปกรณ์
เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องจักรกล ครุภัณฑ์ หรือสิ่งอื่นใดที่ส่วนราชการ
มีไว้เพื่อใช้ในการปฏิบัติภารกิจ ซึ่งจำเป็นต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิง
โดยแยกเป็น 2 กรณี คือ 1. กรณีการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงไม่ถึง 10,000 ลิตร
และ 2. กรณีการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงตั้งแต่ 10,000 ลิตรขึ้นไป ซึ่งกรณีที่ 2
ให้จัดซื้อจาก บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) หรือคลังน้ำมัน หรือสถานีบริการ
จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยตรง โดยวิธี
กรณีพิเศษ
สำหรับขั้นตอนหลัก ๆ ของการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงไม่ถึง 10,000 ลิตร
กรณีส่วนราชการไม่มีภาชนะที่ใช้สำหรับเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง ประกอบไปด้วย
1. การจัดทำรายงานขอซื้อน้ำมันเชื้อเพลิง 2. ดำเนินการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิง
และ 3. การจัดทำทะเบียนควบคุมการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิง
แต่หากส่วนราชการมีภาชนะที่ใช้สำหรับเก็บรักษา จะประกอบด้วยขั้นตอน
1. การจัดทำรายงานขอซื้อน้ำมันเชื้อเพลิง 2. ดำเนินการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิง
3. การตรวจรับน้ำมันเชื้อเพลิง 4. การควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง
ที่มา : หนังสือด่วนที่สุด ที่ กค (กวพ) 0421.3/ว462 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555
ตามภารกิจของหน่วยงาน ตามหนังสือคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ ด่วนที่สุด
ที่ กค (กวพ) 0421.3/ว462 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2555 ใช้บังคับสำหรับ
การจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงของส่วนราชการเพื่อใช้ในการปฏิบัติภารกิจของ
หน่วยงาน โดยครอบคลุมรถราชการ และยานพาหนะอย่างอื่น รวมถึงอุปกรณ์
เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องจักรกล ครุภัณฑ์ หรือสิ่งอื่นใดที่ส่วนราชการ
มีไว้เพื่อใช้ในการปฏิบัติภารกิจ ซึ่งจำเป็นต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิง
โดยแยกเป็น 2 กรณี คือ 1. กรณีการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงไม่ถึง 10,000 ลิตร
และ 2. กรณีการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงตั้งแต่ 10,000 ลิตรขึ้นไป ซึ่งกรณีที่ 2
ให้จัดซื้อจาก บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) หรือคลังน้ำมัน หรือสถานีบริการ
จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยตรง โดยวิธี
กรณีพิเศษ
สำหรับขั้นตอนหลัก ๆ ของการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงไม่ถึง 10,000 ลิตร
กรณีส่วนราชการไม่มีภาชนะที่ใช้สำหรับเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง ประกอบไปด้วย
1. การจัดทำรายงานขอซื้อน้ำมันเชื้อเพลิง 2. ดำเนินการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิง
และ 3. การจัดทำทะเบียนควบคุมการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิง
แต่หากส่วนราชการมีภาชนะที่ใช้สำหรับเก็บรักษา จะประกอบด้วยขั้นตอน
1. การจัดทำรายงานขอซื้อน้ำมันเชื้อเพลิง 2. ดำเนินการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิง
3. การตรวจรับน้ำมันเชื้อเพลิง 4. การควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง
ที่มา : หนังสือด่วนที่สุด ที่ กค (กวพ) 0421.3/ว462 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555
การซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่(มือถือ)สำหรับใช้ในราชการ
หากส่วนราชการต้องการที่จะซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่ไว้ใช้ในราชการ
สำนักงบประมาณได้ให้แนวไว้ว่า
ให้อยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้าส่วนราชการที่จะพิจารณาตามความจำเป็น
และเหมาะสม ตามลักษณะงานในตำแหน่งหน้าที่นั้น ๆ ว่ามีความจำเป็นที่จะต้อง
ใช้ติดต่ออย่างไร จำนวนเท่าไร เพื่อประโยชน์แก่ทางราชการและไม่ทำให้ราชการ
เสียประโยชน์ รวมทั้งไม่เป็นภาระกับงบประมาณของส่วนราชการ ภายในวงเงิน
งบประมาณที่ได้รับการจัดสรร และการจัดซื้อต้องดำเนินการตามระเบียบ
สำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ด้วย
สำนักงบประมาณได้ให้แนวไว้ว่า
ให้อยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้าส่วนราชการที่จะพิจารณาตามความจำเป็น
และเหมาะสม ตามลักษณะงานในตำแหน่งหน้าที่นั้น ๆ ว่ามีความจำเป็นที่จะต้อง
ใช้ติดต่ออย่างไร จำนวนเท่าไร เพื่อประโยชน์แก่ทางราชการและไม่ทำให้ราชการ
เสียประโยชน์ รวมทั้งไม่เป็นภาระกับงบประมาณของส่วนราชการ ภายในวงเงิน
งบประมาณที่ได้รับการจัดสรร และการจัดซื้อต้องดำเนินการตามระเบียบ
สำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ด้วย
ครุภัณฑ์นอกมาตรฐานบัญชีราคามาตรฐานครุภัณฑ์ของสำนักงบประมาณ
ในกรณีที่จะตั้งงบประมาณในการจัดซื้อจัดจ้าง หรือกรณีที่ต้องการจะกำหนด
รายละเอียดของครุภัณฑ์ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง สิ่งที่ควรพิจารณาขั้นต้นคือ
รายการดังกล่าวเป็นพัสดุที่อยู่ในบัญชีราคามาตรฐานครุภัณฑ์ของสำนักงบประมาณ
หรือไม่ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ของสำนักงบประมาณ (www.bb.go.th)
แต่หากรายการดังกล่าวมีชื่ออยู่ในบัญชีราคามาตรฐานครุภัณฑ์แต่คุณสมบัติต่ำกว่า
หรือไม่มีรายการอยู่ในบัญชีราคามาตรฐานล่ะ
ตัวอย่างกรณีครุภัณฑ์ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
ได้มีหน่วยงานสอบถามการจัดซื้อตู้เย็นขนาด 4.9 คิว ราคา 6,000 บาท
รายละเอียดของครุภัณฑ์ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง สิ่งที่ควรพิจารณาขั้นต้นคือ
รายการดังกล่าวเป็นพัสดุที่อยู่ในบัญชีราคามาตรฐานครุภัณฑ์ของสำนักงบประมาณ
หรือไม่ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ของสำนักงบประมาณ (www.bb.go.th)
แต่หากรายการดังกล่าวมีชื่ออยู่ในบัญชีราคามาตรฐานครุภัณฑ์แต่คุณสมบัติต่ำกว่า
หรือไม่มีรายการอยู่ในบัญชีราคามาตรฐานล่ะ
ตัวอย่างกรณีครุภัณฑ์ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
ได้มีหน่วยงานสอบถามการจัดซื้อตู้เย็นขนาด 4.9 คิว ราคา 6,000 บาท
ตัวอย่างกรณีไม่มีรายการอยู่ในบัญชีมาตรฐาน
หน่วยงานต้องการจัดซื้อไม่ชักฟิวส์ และถุงมือยาง
จะสังเกตได้ว่า สำนักงบประมาณจะให้คำตอบในลักษณะเดียวกันว่า เป็นรายการ
ที่สำนักงบประมาณมิได้กำหนดคุณลักษณะเฉพาะและราคาไว้ในบัญชีราคามาตรฐาน
ครุภัณฑ์ของสำนักงบประมาณ อาจเป็นรายการวัสดุกรณีที่มีราคาจัดหาต่อหน่วย
หรือต่อชุด ไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท หรือเป็นรายการครุภัณฑ์กรณีที่มีราคาจัดหาต่อหน่วย
หรือต่อชุด เกินกว่า ๕,๐๐๐ บาทแล้วแต่กรณี ตามหลักการจำแนกประเภทรายจ่าย
ตามงบประมาณ แจ้งตามหนังสือสำนักงบประมาณ ที่ นร ๐๗๐๔/ว ๓๓ ลงวันที่
๑๘ มกราคม ๒๕๕๓ ดังนั้น หากมีความจำเป็นต้องจัดหารายการดังกล่าว ก็ให้
ดำเนินการกำหนดรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะ โดยคำนึงถึงความจำเป็นและเหมาะสม
กับการใช้งาน แล้วตรวจสอบราคาจากผู้แทนจำหน่ายตามคุณลักษณะเฉพาะที่กำหนด
๓ รายขึ้นไป โดยคำนึงถึงความจำเป็นและเหมาะสมกับการใช้งาน แล้วตรวจสอบราคา
จากผู้แทนจำหน่ายตามคุณลักษณะเฉพาะที่กำหนด ๓ รายขึ้นไป โดยอาจตรวจสอบ
ราคาจากผู้แทนจำหน่ายโดยตรง และ/หรือตรวจสอบข้อมูลของผู้ประกอบการเพิ่มเติม
ผ่านเว็บไซต์ www.google.co.th (ถ้ามี) เพื่อนำผลการสำรวจมาประกอบการพิจารณา
กำหนดประเภทรายจ่าย คุณลักษณะเฉพาะ และราคากลาง แล้วดำเนินการจัดหา
ตามแนวทางที่กำหนดไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุพ.ศ. ๒๕๓๕
และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ดังนั้น หากมีรายการครุภัณฑ์ที่เข้าข่ายกรณีดังกล่าว สามารถนำคำตอบของ
สำนักงบประมาณไปเป็นแนวทางในการเสนอข้อมูลให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณา
ทั้งในด้านราคา และด้านคุณลักษณะเฉพาะได้ค่ะ
วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
ผู้ขาย/ผู้รับจ้างตรวจสอบการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร (ส่วนราชการโอนให้ผู้ขาย/ผู้รับจ้าง)
ผู้ขาย/ผู้รับจ้างต้องการตรวจสอบเงินที่ส่วนราชการโอนเข้าบัญชีเงินฝากต้องเข้าสู่ระบบ
เพื่อเข้าใช้งานรายงานการจ่ายชำระเงินที่เว็บไซต์ที่ http://vendors.mygfmis.com ทั้งนี้ ผู้ขาย/ผู้รับจ้าง จะต้องลงทะเบียนเพื่อใช้งานแล้วเท่านั้น ทั้งนี้ เว็บไซต์ให้ปฏิบัติดังนี้ (หากต้องการดูข้อมูลเริ่มตั้งแต่ลงทะเบียน ดูได้ที่ http://office.nu.ac.th/psd/natarnongj/money.htm)
1. เข้าใช้งานที่ http://vendors.mygfmis.com
2.1 ช่อง “รหัสประจำตัวผู้เสียภาษี” ระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
ของผู้ขายที่ได้ลงทะเบียนไว้แล้ว
2.2 ช่อง “รหัสผ่าน” ระบุรหัสผ่านตามที่ได้กำหนดไว้เมื่อทำการลงทะเบียน
ดังรูปที่ 1 แล้วจึงเลือก "ตกลง" เพือเข้าสู่หน้าจอถัดไป ดังรูปที่ 2 รูปที่ 1 รูปที่ 2
2.3 ใช้ Mouse Click เลือก “รายงานการจ่ายชำระเงิน” เพื่อเข้าสู่
หน้าจอการเรียกแสดงข้อมูล ดังรูปที่ 3
รูปที่ 3
2.4 ผู้ขายต้องเลือกวันที่ที่ต้องการให้ระบบแสดงข้อมูล
โดยกดปุ่ม เพื่อเลือกวันที่ที่ต้องการ (หากไม่ระบุ ระบบจะ ไม่ประมวลผล) ดังรูปที่ 4
รูปที่ 4
2.5 กดปุ่ม “ตกลง” ระบบจะแสดงข้อมูลการจ่ายชำระเงินของหน่วยงาน
ภาครัฐเฉพาะการตั้งเบิกของหน่วยงานภาครัฐเพื่อจ่ายชำระเงินให้แก่ผู้ขายตามเลขประจำตัว ผู้เสียภาษีอากรหรือเลขประจำตัวบัตรประชาชนที่ผู้ขายระบุตอนทำการลงทะเบียน ซึ่งรายงาน จะแสดงข้อมูลในรูปของ Excel file ดังรูปที่ 5
รูปที่ 5
ข้อมูลอะไรบ้างที่แสดงในรายงาน
ข้อมูลที่แสดงในรายงานการจ่ายชำระเงิน มีดังนี้
· ช่อง “ส่วนราชการผู้จ่ายชำระเงิน” แสดง หน่วยงานระดับกรมที่จ่ายชำระเงิน
ให้แก่ผู้ขาย
· ช่อง “หน่วยเบิกจ่าย” แสดง หน่วยงานระดับหน่วยเบิกจ่าย ซึ่งเป็นผู้ตั้งเบิก
และจ่ายชำระเงิน
· ช่อง “จังหวัด” แสดง จังหวัดที่หน่วยเบิกจ่ายนั้นสังกัดอยู่
· ช่อง “เลขที่ใบแจ้งหนี้” แสดงเลขที่เอกสารใบแจ้งหนี้ที่หน่วยงานบันทึก
ในระบบในขั้นตอนการ ตั้งเบิกของหน่วยงาน
· ช่อง “วันที่สั่งโอนเงิน” แสดง วันที่ที่กรมบัญชีกลางทำการสั่งโอนเงิน
· ช่อง “ธนาคาร/สาขา” แสดง ชื่อธนาคาร และสาขาของบัญชีเงินฝากธนาคาร
ที่หน่วยงานภาครัฐ
สั่งให้โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้ขาย
รูปที่ 6
§ ช่อง “ชื่อบัญชี” แสดง ชื่อเจ้าของบัญชีเงินฝากธนาคาร
ที่หน่วยงานภาครัฐสั่งโอนเงินเข้าบัญชี
§ ช่อง “เลขที่บัญชี “ แสดง เลขที่บัญชีธนาคารที่หน่วยงานภาครัฐ
สั่งโอนเงินเข้าบัญชี
§ ช่อง “จำนวนเงินรวม” แสดง จำนวนเงินที่หน่วยงานภาครัฐ
ทำการตั้งเบิกก่อนหักภาษี ณ ที่จ่าย และค่าปรับ
§ ช่อง “ภาษีหัก ณ ที่จ่าย” แสดง จำนวนเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย
§ ช่อง “ค่าปรับ” แสดง ค่าปรับ (ถ้ามี)
§ ช่อง “จำนวนเงินสุทธิ” แสดง จำนวนเงินที่หน่วยงานภาครัฐ
สั่งจ่ายให้แก่ผู้ขายหลังจาก หักภาษีหัก ณ ที่จ่าย และค่าปรับ (ถ้ามี) แล้ว แต่เป็นมูลค่า ก่อน หักค่าธรรมเนียมในการโอนเงิน
หากบรรทัดรายการใดมีสัญลักษณ์รูปสี่เหลี่ยม ปรากฏในช่องสุดท้าย
(ดังแสดงในรูปที่ 9) ให้ผู้ใช้กดที่ปุ่ม จะปรากฏหน้าต่างย่อย ดังรูปที่ 7 ซึ่งจะแสดง ข้อความในกรณีที่เป็นรายการการโอนเงินที่ได้รับการโอนสิทธิการรับเงินจากผู้ขายรายอื่น โดยจะระบุรหัสผู้ขาย-ชื่อผู้ขาย ผู้ที่โอนสิทธิการรับชำระเงินมาให้ นอกจากนี้ถ้าส่วนราชการ ได้บันทึกรายละเอียดเพิ่มเติมของการจ่ายชำระเงิน เช่น กรณีที่หน่วยงานภาครัฐรวบรวม ใบแจ้งหนี้หลายใบเพื่อจ่ายชำระในรายการเดียว รายละเอียดเลขที่ใบแจ้งหนี้ย่อยที่หน่วยงาน ภาครัฐระบุตอนตั้งเบิกจะปรากฏใน “รายละเอียดเพิ่มเติม”
รูปที่ 7
ข้อจำกัดในการใช้งาน
1. ผู้ที่ใช้งานจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์พอสมควร
2. คอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ จะต้องต่อเข้ากับระบบ internet
3. ข้อมูลที่เรียกได้อาจจะไม่เป็นปัจจุบัน
ปัญหาในการเริ่มต้น
เมื่อเรียกเวปขึ้นมา มักจะมีหน้าจอว่าง ให้คลิกขวาที่แถบสีเหลือง
จะปรากฏข้อความขึ้นมา ให้เลือก Temporarily allow Pop-ups
เมื่อเลือกแล้ว หน้าจอด้านล่างนี้จึงจะเปิดขึ้นมา
ที่มา/แหล่งอ้างอิง
http://gfmisreport.mygfmis.com/public/Download/Manual_WebVendorPayment.doc
|
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)