กรณีที่ผู้ขาย/ผู้รับจ้าง ได้โอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงิน
กระทรวงการคลังได้แจ้งวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวกับการโอนสิทธิเรียกร้อง
ดังนี้
1. เมื่อส่วนราชการได้รับหนังสือบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้อง
ในเงินค่าพัสดุ/ค่าเช่า/ค่าก่อสร้าง ให้ส่วนราชการส่งสำเนาหนังสือ
บอกกล่าวการโอนสิทธิการรับเงินดังกล่าวให้กรมสรรพากร หรือ
สำนักงานสรรพากรจังหวัด แล้วแต่กรณี เพื่อทราบ (ส่วนราชการ
ไม่ต้องแจ้งความยินยอมในการโอนสิทธิเรียกร้องให้ผู้รับโอนทราบ)
2. ให้ส่วนราชการวางฎีกาขอเบิกเงินให้แก่เจ้าหนี้ตามที่ระบุ
ในสัญญาตามปกติ แต่ให้ส่วนราชการจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่
ผู้รับโอนโดยตรง
3. ส่วนราชการจะต้องเรียกหลักฐานแสดงการโอนสทธิเรียกร้อง
เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการพิจารณาการจ่ายเงิน และให้ส่ง
สำเนาหลักฐานแสดงการโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวให้สำนักงาน
ตรวจเงินแผ่นดิน หรือสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินภาค แล้วแต่กรณี
เพื่อทราบด้วย
4. ให้ผู้รับโอนออกใบเสร็จรับเงินเท่าจำนวนเงินสุทธิที่ได้รับ
จากส่วนราชการ โดยระบุว่าเป็นการรับเงินตามสิทธิเรียกร้องของผู้ใด
5. ให้ส่วนราชการหมายเหตุรายละเอียดในใบเสร็จรับเงิน
ซึ่งผู้รับโอนออกให้ด้วยว่า เป็นการจ่ายเงินตามหลักฐานแสดงการ
โอนสิทธิเรียกร้องของผู้ขาย/ผู้รับจ้าง/ผู้ให้เช่า รายใด ตามสัญญา
ซื้อขาย/สัญญาจ้าง/สัญญาเช่า เลขที่ใด ลงวันที่ เดือน พ.ศ. ใด
เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบด้วย
6. ให้ส่วนราชการออกใบรับรองการหักเงิน ณ ที่จ่าย สำหรับกรณี
ที่มีการโอนสิทธิเรียกร้อง แล้วส่งต้นฉบับให้แก่ผู้ขาย/ผู้รับจ้าง/
ผู้ให้เช่า 1 ฉบับ ส่วนสำเนาอีก 1 ฉบับ ส่งให้แก่กรมสรรพากร
หรือสำนักงานสรรพากรจังหวัด แล้วแต่กรณี
7. ให้ส่วนราชการใช้หนังสือบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้อง
ใบเสร็จรับเงินของผู้รับโอน ที่แสดงจำนวนเงินที่ได้รับใบสุทธิ
และสำเนาใบรับรองการหักเงิน ณ ที่จ่าย ที่ส่วนราชการออกให้
ผู้รับโอนเป็นหลักฐานในการบันทึกบัญชี
ตัวอย่างเอกสาร
อ้างอิง : หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0526.5/ว 110
ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2541
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น