แนวทางและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับหลักเณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง
หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติ
การกำหนดราคากลางงานก่อสร้างของทางราชการตามมติคณะรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2555 ได้กำหนดแนวทางและวิธีปฏิบัติกี่ยวกับหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างไว้ รวม 21 ข้อ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2555 ได้กำหนดแนวทางและวิธีปฏิบัติกี่ยวกับหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างไว้ รวม 21 ข้อ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
1. หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางก่อสร้าง
บังคับใช้กับหน่วยงานภาครัฐ
2. หลักเกณฑ์ แนวทาง วิธีปฏิบัติ
และรายละเอียดเกี่ยวกับการกำหนดราคากลางก่อสร้างของทางราชการ ตามมติคณะรัฐมนตรี กฎ
ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง รวมทั้งหนังสือเวียน ซึ่งได้กำหนดไว้แล้ว
ให้ใช้หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างนี้
3. ให้ใช้กับงานก่อสร้าง
โดยไม่คำนึงถึงวงเงิน มูลค่า และหรือ วงเงินงบประมาณของงานก่อสร้าง
4. งานก่อสร้างตามหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างนี้
หมายถึง
4.1 กิจกรรม การกระทำ การประกอบ การติดตั้ง และหรือ
การดำเนินการอื่นใด เพื่อก่อให้เกิดเป็นสิ่งก่อสร้าง อันได้แก่ อาคาร โครงสร้าง
ระบบสาธารณูปโภค หรือสิ่งอื่นใด ซึ่งมีลักษณะคงทน ถาวร และใช้ประโยชน์ได้
และให้หมายความรวมถึง การปรับปรุง การรื้อถอน การต่อเติม
และการซ่อมแซมสิ่งที่ก่อสร้างดังกล่าวด้วย
ทั้งนี้
การปรับปรุง การรื้อถอน การต่อเติม และการซ่อมแซม ดังกล่าว ต้องมีแบบรูปรายการ
และจำเป็นต้องมีการควบคุมดูแลการปฏิบัติงานตลอดระยะเวลาดำเนินการด้วย
4.2 งานก่อสร้างตามข้อ 4.1
ต้องดำเนินการจัดจ้างก่อสร้างตามระเบียบว่าด้วยการพัสดุ และหรือ ระเบียบอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการจัดจ้างก่อสร้าง
ความหมายของงานก่อสร้างดังกล่าว
กำหนดขึ้นเพื่อใช้กับหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างนี้เท่านั้น ไม่มีผลผูกพันหรือเกี่ยวเนื่องกับความหมาย คำจำกัดความ
และหรือขอบเขตของงานก่อสร้างหรือสิ่งก่อสร้าง ตามที่กำหนดในคำสั่ง กฎ
ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรี และหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่นใด
5. หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลาง
ประกอบด้วยหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างอาคาร
หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างทาง สะพาน และท่อเหลี่ยม
และหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างชลประทาน
โดยผู้มีหน้าที่คำนวณราคากลางต้องเลือกใช้หลักเกณฑ์ ดังนี้
5.1 งานก่อสร้างที่อยู่ในกลุ่มงานก่อสร้างอาคาร
ให้ใช้หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างอาคาร
5.2 งานก่อสร้างที่อยู่ในกลุ่มงานก่อสร้างทาง
ให้ใช้หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างทาง
สะพาน และท่อเหลี่ยม
5.3 งานก่อสร้างที่อยู่ในกลุ่มงานก่อสร้างสะพาน
และท่อเหลี่ยม ให้ใช้หลักเกณฑ์การคำนวณ ราคากลางงานก่อสร้างทาง
สะพาน และท่อเหลี่ยม
5.4 งานก่อสร้างที่อยู่ในกลุ่มงานก่อสร้างชลประทาน
ให้ใช้หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างชลประทาน
6. ความหมายและขอบเขตของงานก่อสร้าง
เพื่อประกอบการพิจารณาเลือกใช้หลักเกณฑ์
6.1 งานก่อสร้างอาคาร หมายถึง งานก่อสร้างใหม่
งานปรับปรุง งานซ่อมแซม งานรื้อถอน และหรือ งานต่อเติมอาคาร บ้าน เรือน โรง ร้าน
แพ เรือหรือพาหนะสำหรับขนส่งข้ามฟาก ท่าเทียบเรือ ตึกแถว ร้านค้า โรงเรือน โรงงาน
โรงภาพยนตร์ ศูนย์การค้า คลังสินค้า อาคารสำนักงาน อาคารที่ทำการ อาคารชุดพักอาศัย
ศาลาที่พัก วัด พระอุโบสถ หอระฆัง กุฏิพระ มัสยิด สุเหร่า อนุสาวรีย์ หอสูง
หอประชุม ห้องสมุด ตลาด อู่เรือ คานเรือ ท่าน้ำ ท่าจอดเรือ สถานีนำร่อง สถานีขนส่งฯ
หรือสิ่งก่อสร้างอื่นที่มีลักษณะ รูปแบบ และหรือโครงสร้างคล้ายกับสิ่งก่อสร้างดังกล่าวซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่และหรือเข้าไปใช้สอยได้
และให้หมายความรวมมถึง งานก่อสร้างใหม่ งานปรับปรุง งานซ่อมแซม งานรื้อถอน
และ/หรือ งานต่อเติมสิ่งก่อสร้าง ดังต่อไปนี้ด้วย
(1) อัฒจันทร์
หรือสิ่งก่อสร้างอย่างอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นที่เล่นกีฬา และหรือ
ออกกำลังกาย เช่น สนามกีฬา
สนามฟุตบอล ลู่กีฬา สนามเทนนิส สนามเทนนิส สนามบาสเกตบอล สนาม
แบดมินตัน สระว่ายน้ำ เป็นต้น
(2) ป้ายและหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้ง เพื่อการประชาสัมพันธ์หรือเพื่อการโฆษณา
(3) ถนน ทางเท้า พื้นที่
หรือสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่จอดรถ ที่กลับรถ พื้นลานคอนกรีต
และหรือทางเข้าออกของรถ
ภายในบริเวณซึ่งเป็นส่วนประกอบหรือเกี่ยวเนื่องและหรืออยู่ภายในบริเวณอาคาร ชุมชน
ที่พักอาศัย หรือสวนสาธารณะ
(4) รางระบายน้ำ ท่อระบายน้ำ บ่อพัก บ่อบำบัดน้ำเสีย
บ่อเกรอะบ่อซึม บ่อเก็บน้ำหรือ
ถังพักน้ำ งานระบบประปา
งานปักเสาพาดสาย ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ภายในบริเวณอาคาร ชุมชนที่พักอาศัย
หรือสวนสาธารณะ
(5) สระน้ำ น้ำพุ เขื่อนกันดิน สะพานข้ามคู/คลอง
ทางเดิน งานปลูกต้นไม้ งานประติมากรรม งานปลูกหญ้า และหรืองานจัดสวน
ภายในบริเวณอาคาร ชุมชน ที่พักอาศัย หรือสวนสาธารณะ
(6) เสาธง รั้ว กำแพง ประตูรั้ว และป้อมยาม
(7) งานตกแต่งภายในและหรืองานก่อสร้างอื่นใด
ซึ่งเป็นส่วนประกอบ หรือเกี่ยวเนื่อง
และหรืออยู่ภายในบริเวณอาคาร
ชุมชนที่พักอาศัย หรือสวนสาธารณะ
(8) งานระบบปรับอากาศ ระบายอากาศ งานระบบลิฟท์
และบันไดเลื่อน งานระบบเครื่องกล และระบบพิเศษอื่น ๆ
ที่เป็นส่วนประกอบและติดตั้งอยู่กับตัวอาคาร (Build in) หรือสิ่งก่อสร้างอื่นในกลุ่มงานก่อสร้างอาคาร
(9) สิ่งก่อสร้างอื่น
ตามที่คณะกรรมการกำกับหลักเกณฑ์และตรวจสอบราคากลางงานก่อสร้าง หรือคณะอนุกรรมการ
หรือหน่วยงานที่คณะกรรมการกำกับหลักเกณฑ์
และตรวจสอบราคากลางงานก่อสร้างมอบหมายกำหนด
6.2 งานก่อสร้างชลประทาน หมายถึง การก่อสร้าง
ปรับปรุง ซ่อมแซม รื้อถอน และหรือต่อเติม
สิ่งก่อสร้าง
ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมน้ำเพื่อการชลประทานหรือเพื่อการอื่น เช่น การประมง
การเกษตรกรรม การป้องกันน้ำเค็ม การป้องกันน้ำท่วม การผันน้ำ การจัดรูปที่ดิน
และหรือเพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้า เป็นต้น
โดยทำการก่อสร้างอาคารและหรือสิ่งก่อสร้างต่าง
ๆ เช่น เขื่อนทดน้ำ อาคารประกอบของเขื่อนทดน้ำ เขื่อนกักน้ำ อาคารประกอบของเขื่อนเก็บกักน้ำ คลองส่งน้ำ
อาคารของคลองส่งน้ำ คลองระบายน้ำ คูส่งน้ำ คูระบายน้ำ
สถานีสูบน้ำ เป็นต้น
และให้หมายความรวมถึงสิ่งก่อสร้างอื่นใดซึ่งมีลักษณะ รูปแบบ วัตถุประสงค์
หรือโครงสร้าง คล้ายกับสิ่งก่อสร้างดังกล่าว หรือเป็นส่วนประกอบ
และหรือเกี่ยวเนื่องกับสิ่งก่อสร้างดังกล่าวด้วย
6.3 งานก่อสร้างทาง หมายถึง การก่อสร้าง การขยาย
การบูรณะ และหรือการบำรุงรักษาทาง
หรือถนน
ซึ่งจัดไว้เพื่อประโยชน์ในการจราจรหรือการสาธารณะทางบก แต่ไม่รวมทางรถไฟ
ไม่ว่าในระดับพื้นดิน ใต้หรือเหนือดิน หรือใต้หรือเหนืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น
และให้หมายความรวมถึงที่ดิน พืช พันธุ์ไม้ทุกชนิด
ท่อกลม รางระบายน้ำ ร่องน้ำ
กำแพงกันดิน เขื่อน รั้ว หลักสำรวจ หลักเขต หลักระยะ ป้ายจราจร เครื่องหมาย
เครื่องสัญญาณไฟฟ้า เครื่องแสดงสัญญาณ ที่จอดรถ ที่พักคนโดยสาร ที่พักริมทาง
อาคารและหรือสิ่งอื่นใด
อันเป็นอุปกรณ์งานก่อสร้างทางในบรรดาที่มีอยู่
หรือที่ได้จัดไว้ในเขตงานก่อสร้างทาง
หรือเพื่อประโยชน์งานก่อสร้างทางและหรือผู้ใช้สิ่งก่อสร้างที่เป็นงานก่อสร้างทางนั้น
6.4 งานก่อสร้างสะพานและท่อเหลี่ยม หมายถึง
การก่อสร้าง การขยาย การบูรณะ และหรือการบำรุงรักษาสะพาน ท่อเหลี่ยม ทางต่างระดับ
และหรือสะพานลอยคนเดินข้าม ซึ่งจัดไว้เพื่อประโยชน์ในการจราจร
หรือการสาธารณะทางบกแต่ไม่รวมทางรถไฟ ไม่ว่าในระดับพื้นดิน ใต้หรือเหนือพื้นดิน
หรือใต้หรือเหนืออสังหาริมทรัพย์อื่น และให้หมายความรวมถึงอุโมงค์ ท่าเรือ
สำหรับขึ้นหรือลงรถ และหรือสิ่งอื่นใดอันเป็นอุปกรณ์งานก่อสร้างสะพานและท่อเหลี่ยมในบรรดาที่มีอยู่
หรือที่ได้จัดไว้ในเขตงานก่อสร้างสะพานและท่อเหลี่ยม หรือเพื่อประโยชน์แก่งานก่อสร้างสะพานและท่อเหลี่ยม และหรือผู้ใช้สิ่งก่อสร้างที่เป็นงานก่อสร้างสะพานและท่อเหลี่ยมนั้นด้วย
7. สำหรับงานก่อสร้างอื่นที่ไม่อยู่ในความหมายของขอบเขตงานตามข้อ
6 ให้พิจารณาในรายละเอียดของโครงสร้าง ลักษณะงาน
และหรือขอบเขตของงานส่วนใหญ่ใกล้เคียงกับงานก่อสร้างใด
ให้ใช้หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างที่กำหนดสำหรับกลุ่มงานนั้นเป็นหลัก
หากเป็นโครงการก่อสร้างที่มีความซับซ้อน
ใช้งบประมาณมาก มีลักษณะการก่อสร้างเป็นการเฉพาะ และหรือใช้เทคโนโลยีพิเศษ
และมิได้จัดจ้างตามระเบียบว่าด้วยการพัสดุ
หรือเป็นโครงการ/งานก่อสร้างที่ได้รับอนุมัติ หรือมีระเบียบหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนดให้ใช้วิธีการคำนวณราคากลางเป็นการเฉพาะ
ไม่อยู่ในข้อกำหนดการบังคับใช้ของหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างนี้
แต่สามารถนำหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างนี้มาปรับใช้ได้ตามความเหมาะสมและสอดคล้องตามข้อเท็จจริง
8. กรณีโครงการ/งานก่อสร้างซึ่งจัดจ้างก่อสร้างเป็นสัญญาเดียว
ประกอบด้วยงานหรือกลุ่มงานตาม
ข้อ 6. มากกว่า 1 กลุ่มงาน
และผู้มีหน้าที่คำนวณาคากลางได้พิจารณาแล้วเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทางราชการยิ่งขึ้น
ก็สามารถแยกรายการงานก่อสร้างของโครงการ/งานก่อสร้างดังกล่าวออกเป็นของแต่ละกลุ่มงาน
แล้วใช้
หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างที่กำหนดสำหรับแต่ละกลุ่มงานได้
โดยให้ใช้หลักเกณฑ์การคำนวณ
ราคากลางงานก่อสร้างของกลุ่มงานที่มีปริมาณงานมากที่สุดเป็นหลัก
9. ราคาและแหล่งวัสดุก่อสร้าง
9.1 ราคาวัสดุก่อสร้างให้ใช้ราคาปัจจุบัน
ในขณะพที่คำนวณราคากลางงานก่อสร้างนั้น
9.2 การก่อสร้างในส่วนกลาง
ให้ผู้มีหน้าที่คำนวณราคากลางใช้ราคาและแหล่งวัสดุก่อสร้าง ดังนี้
9.2.1 ราคาวัสดุก่อสร้างตามที่สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า
กระทรวงพาณิชย์ เผยแพร่
9.2.1 หากรายการใดที่สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้าไม่มีข้อมูลราคา
ให้ใช้ราคาวัสดุก่อสร้างที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัดใกล้เคียงเผยแพร่
9.2.3 หากรายการใดที่สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า
และสำนักงานพาณิชย์จังหวัดใกล้เคียงไม่มีข้อมูลเผยแพร่ไว้
ให้ผู้มีหน้าที่คำนวณราคากลางสืบราคาในท้องที่ของส่วนกลาง
หากไม่สามารถสืบราคาในท้องที่
ของส่วนกลางได้
ให้สืบราคาในท้องที่หรือจังหวัดใกล้เคียงโดยใช้ราคาต่ำสุด ทั้งนี้
ให้ผู้มีหน้าที่คำนวณราคากลาง
จัดทำบันทึกแสดงรายละเอียดของการสืบราคา
และการกำหนดราคาดังกล่าวประกอบไว้ด้วย
9.3 การก่อสร้างในส่วนภูมิภาค
ให้ผู้มีหน้าที่คำนวณราคากลางใช้ราคาและแหล่งวัสดุก่อสร้าง ดังนี้
9.3.1 ราคาวัสดุก่อสร้างตามที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัดที่สถานที่ก่อสร้างตั้งอยู่เผยแพร่
9.3.1 หากรายการใดที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัดที่สถานที่ก่อสร้างตั้งอยู่ไม่มีข้อมูลราคา
ให้ใช้ราคาวัสดุก่อสร้างที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัดใกล้เคียงเผยแพร่
9.3.3 หากรายการใดที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัดที่สถานที่ก่อสร้างตั้งอยู่
และสำนักงานพาณิชย์จังหวัดใกล้เคียงไม่มีข้อมูลเผยแพร่ไว้
ให้ผู้มีหน้าที่คำนวณราคากลางสืบราคาในท้องที่หรือจังหวัดที่สถานที่ก่อสร้างตั้งอยู่ได้
ให้สืบราคาในท้องที่หรือจังหวัดใกล้เคียงโดยใช้ราคาต่ำสุด ทั้งนี้
ให้ผู้มีหน้าที่คำนวณราคากลางจัดทำบันทึกแสดงรายละเอียดของการสืบราคา
และการกำหนดราคาดังกล่าวประกอบไว้ด้วย
9.4 กรณีมีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์ของทางราชการ
ผู้มีหน้าที่คำนวณราคากลางอาจใช้ราคาวัสดุก่อสร้างจากแหล่งอื่นนอกเหนือจากที่กำหนดตามข้อ
9.2 หรือ 9.3 แล้วแต่กรณีได้ แต่ราคที่ใช้นั้น เมื่อรวม
ค่าขนส่งแล้ว
ต้องไม่สูงกว่าราคาวัสดุก่อสร้างต่ำสุดที่ สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า
และสำนักงานพาณิชย์จังหวัด
ใกล้เคียง ทั้งนี้
ให้ผู้มีหน้าที่คำนวณราคากลางจัดทำบันทึกแสดงรายละเอียดของการกำหนดราคา
รวมทั้งเหตุผลความจำเป็นประกอบไว้ด้วย
9.5 กรณีที่ผู้มีหน้าที่คำนวณราคากลางได้พิจารณาเห็นว่า
งานก่อสร้างที่คำนวณราคากลางนั้นใช้วัสดุก่อสร้างบางรายการเป็นจำนวนมาก
ให้สืบราคาจากแหล่งผลิต และเมื่อรวมค่าขนส่งแล้วยังเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาจากแหล่งตามข้อ
9.2 หรือ 9.3 แล้วแต่กรณี
ให้ผู้มีหน้าที่คำนวณราคากลางใช้ราคากลางจากแหล่งผลิต
สำหรับวัสดุก่อสร้างนั้น
9.6 ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วงานอื่นของรัฐ อาจตั้งคณะกรรมการ
หรือดำเนินการอื่นใด เพื่อสำรวจรวบรวมข้อมูล และกำหนดราคาและแหล่งวัสดุก่อสร้าง
ที่ต้องดำเนินการ ตามข้อ 9.2.3 และ 9.3.3
รวมทั้งที่ต้องดำเนินการตามข้อ 9.4 และ 9.5
ไว้เป็นบัญชีราคาและแหล่งวัสดุก่อสร้างของหน่วยงาน
โดยต้องมีการปรับปรุงบัญชีราคาและแหล่งวัสดุก่อสร้างดังกล่าวให้มีความเป็นปัจจุบันอยู่เสมอด้วย
9.7 การกำหนดราคาและแหล่งวัสดุก่อสร้างนอกเหนือจากที่กำหนดไว้
ให้เป็นไปตามข้อกำหนดเกี่ยวกับราคาและแหล่งวัสดุก่อสร้าง
ซึ่งได้กำหนดไว้ในรายละเอียดการคำนวณของแต่ละหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง
และตามที่คณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์และตรวจสอบราคากลางงานก่อสร้าง หรือคณะอนุกรรมการ
หรือหน่วยงานที่คณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์ และตรวจสอบราคากลางงานก่อสร้างมอบหมาย
กำหนด
9.8 ข้อกำหนดเกี่ยวกับราคาและแหล่งวัสดุก่อสร้าง
(1) ราคาปัจจุบัน หมายถึง ราคาวัสดุก่อสร้างในช่วงระยะเวลา 30 วัน
นับจากวันที่จัดทำรายงานสรุปการคำนวณราคากลางงานก่อสร้างนั้น
(2) ส่วนกลาง หรือ ท้องที่ของส่วนกลาง หมายถึง พื้นที่ในเขตกรุงเทพฯ
นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ
(3) ส่วนภูมิภาค หมายถึง พื้นที่จังหวัดอื่น ที่ไม่ใช่กรุงเทพฯ
นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ
(4) ท้องที่หรือจังหวัดใกล้เคียง หมายถึง ท้องที่หรือจังหวัดที่มีพื้นที่อยู่ติดกับท้องที่
หรือจังหวัด หรือท้องที่ของส่วนกลาง ที่สถานที่ก่อสร้างตั้งอยู่
(5) วัสดุก่อสร้าง หมายความรวมถึง ครุภัณฑ์ที่เป็นส่วนประกอบ
หรือเป็นส่วนหนึ่งของ
งานก่อสร้างที่ต้องคำนวณรวมในราคากลางงานก่อสร้างนั้นด้วย
(6) การสืบราคา หมายถึง การดำเนินการใด ๆ เพื่อให้ทราบราคา และหรือ
แหล่งวัสดุก่อสร้าง ที่มีความเป็นปัจจุบัน
และสอดคล้องกับราคาวัสดุก่อสร้างที่เป็นจริง
(7) แบบฟอร์มบันทึกแสดงเหตุผลความจำเป็น
รายละเอีดยของการสืบและการกำหนดราคา และหรือแหล่งวัสดุก่อสร้าง ให้ผู้มีหน้าที่คำนวณราคากลาง
กำหนดเองตามความเหมาะสม และสอดคล้องตามข้อมูล และข้อเท็จจริง
(8) ค่าขนส่งตามข้อ 9.4 และข้อ
9.5ให้ประเมินโดยคำนวณจากแหล่งวัสดุก่อสร้างถึงสถานที่ก่อสร้าง
โดยใช้อัตราค่าขนส่งตามตารางค่าขนส่งวัสดุก่อสร้าง
10. ให้สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า
และสำนักงานอาณิชย์จังหวัด พิจารณาเผยแพร่ราคาวัสดุก่อสร้าง
ให้ครอบคลุมประเภทและรายการที่จำเป็นสำหรับการคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง
รวมทั้งปรับปรุงราคาให้มีความเป็นปัจจุบัน และประกาศเป็นการทั่วไปอย่างต่อเนื่อง
11. ค่าขนส่งวัสดุก่อสร้าง
ค่าดำเนนการ และค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร อัตราราคางานดิน
อัตราราคางานปรับปรุงฐานรากและงานระเบิดหิน
รวมทั้งรายละเอียดประกอบการคำนวณราคากลางงานก่อสร้างอื่นใด
ให้กำหนดตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางานก่อสร้าง
และตามที่คณะกรรมการกำกับหลักเกณฑ์และตรวจสอบราคากลางงานก่อสร้าง
หรือคณะอนุกรรมการ
หรือหน่วยงานที่คณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์และตรวจสอบราคากลางงานก่อสร้างมอบหมายกำหนด
ให้กระทรวงการคลัง
(กรมบัญชีกลาง) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปรับปรุงตารางค่าขนส่ง
วัสดุก่อสร้าง
ค่าดำเนินการและค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร อัตราราคางานดิน
อัตราราคางานปรับปรุงฐานรากและงานระเบิดหิน
รวมทั้งรายละเอียดประกอบการคำนวณราคากลางงานก่อสร้างอื่นใด
ให้สอดคล้องตามราคาน้ำมัน สภาวการณ์ทางด้านเศรษฐกิจ และหรือเทคโนโลยีการก่อสร้างที่เปลี่ยนแปลงไป
และแจ้งเวียนให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐทราบและถือปฏิบัติ
12. อัตราค่าแรงงาน/ดำเนินการ
ที่ใช้ในการคำนวณาคากลางงานก่อสร้าง ให้กำหนดตามหลักเกณฑ์
และวิธีการตามที่หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางานก่อสร้าง
และตามที่คณะกรรมการกำกับหลักเกณฑ์และตรวจสอบราคากลางงานก่อสร้าง
หรือคณะอนุกรรมการ หรือหน่วยงานที่คณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์และตรวจสอบราคากลางงานก่อสร้างมอบหมายกำหนด
ให้กระทรวงการคลัง
(กรมบัญชีกลาง) ปรับปรุงบัญชีค่าแรงงาน/ดำเนินการสำหรับการถอดแบบ
คำนวณราคากลางงานก่อสร้าง และแจ้งเวียนให้ส่วนราชการ
รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐทราบและถือปฏิบัติ ตามความเหมาะสมและสอดคล้องตามประกาศค่าแรงขั้นต่ำและ/หรือสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ
และเทคโนโลยีการก่อสร้างที่เปลี่ยนแปลงไป
13. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ใช้เป็นเกณฑ์พิจารณากำหนดค่าดอกเบี้ยสำหรับการคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง
ให้ใช้ค่าเฉลี่ยอัตราดอกเบี้ยงเงินให้กู้ยืมประเภท MLR ของธนาคารขนาดใหญ่ อย่างน้อย 3 ธนาคาร
เป็นเกณฑ์พิจารณา
โดยกำหนดให้เป็นตัวเลขกลม กรณีอัตราดอกเบี้ยฯ เป็นเศษ ถ้าเศษถึง 0.50 ให้ปัดขั้น
ถ้าไม่ถึง 0.50
ให้ปัดลง
ให้กระทรวงการคลัง
(กรมบัญชีกลาง)
กำหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณราคากลางงานก่อสร้างทุกต้นปี
(เดือนตุลาคมของทุกปี)
และระหว่างปีงบประมาณ หากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยเปลี่ยนแปลงถึงร้อยละ 1
พร้อมทั้งจัดทำตาราง Factor F ใหม่ ที่สอดคล้องกับการประกาศเปลี่ยนแปลง
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ย
เพื่อให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐทราบ และถือปฏิบัติต่อไปด้วย
14. อัตราภาษีตามหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง
ให้เป็นไปตามอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยให้กำหนดเป็นตัวเลขกลม กรณีอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเศษ
ถ้าเศษถึง 0.50 ให้ปัดขึ้น ถ้าไม่ถึง 0.50 ให้ปัดลง
ให้กระทรวงการคลัง
(กรมบัญชีกลาง)
ประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อมีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม
พร้อมทั้งจัดทำตาราง Factor F ใหม่
ที่สอดคล้องกับการประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อให้ส่วนราชการ
รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐทราบ และถือปฏิบัติต่อไปด้วย
15. การแบ่งงวดงาน การจ่ายเงิน และการกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงาน
จะต้องกำหนดให้ถูกต้องชัดเจนตามหลักวิชาการ ปริมาณงานในแต่ละงวด
จะต้องสอดคล้องกับจำนวนเงินในแต่ละงวด
โดยคำนึงถึงความเป็นธรรมของทั้งผู้รับจ้างและผู้ว่าจ้าง
16. ในการออกแบบงานก่อสร้าง
หน่วยงานเจ้าของโครงการ/งานก่อสร้าง สามารถให้ส่วนราชการ
รัฐวิสาหกิจ
หน่วยงานอื่นของรัฐ หรือเอกชนเป็นผู้ออกแบบงานก่อสร้างให้ก็ได้
โดยถือปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรี แนวทาง
และหรือวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
ผู้ออกแบบงานก่อสร้างต้องออกแบบให้ถูกต้องเหมาะสมกับการใช้งาน
และเป็นไปตามหลักวิชาการ โดยผู้ออกแบบต้องถอดแบบก่อสร้าง
และจัดทำรายการปริมาณงานและราคา และปริมาณการราคาในเบื้องต้น
ไว้ด้วย
รวมทั้งต้องรับรองแบบฯ และรายการ ปริมาณงานที่ได้ถอดแบบฯ นั้น ไว้ด้วยทุกครั้ง
ทั้งนี้
การออกแบบก่อสร้างดังกล่าว ให้รวมถึงการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง
และแก้ไขแบบก่อสร้างด้วย
17. ให้มีคณะกรรมการกำหนดราคากลาง
เป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการคำนวณราคากลางงานก่อสร้างภายใต้หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง
ดังต่อไปนี้
ในการจ้างก่อสร้างแต่ละครั้ง
ให้หัวหน้าส่วนราชการตามระเบียบว่าด้วยการพัสดุ และหรือ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง
แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคากลาง
โดยให้มีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ดังนี้
17.1 องค์ประกอบ
ประกอบด้วยประธาน
ซึ่งเป็นข้าราชการหรือเทียบเท่า โดยคำนึงถึงลักษณะงาน หน้าที่
และความรับผิดชอบของผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นสำคัญ
1 คน และให้มีกรรมการอย่างน้อย 2 คน กรรมการ
ควรแต่งตั้งจากข้าราชการหรือเทียบเท่าโดยคำนึงถึงลักษณะงาน
หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ที่ได้รับ
การแต่งตั้งเป็นสำคัญ
และควรมีความรู้เกี่ยวกับการประมาณราคาร่วมเป็นกรรมการด้วย
กรณีจำเป็นหรือเพื่อประโยชน์ของทางราชการ
จะแต่งตั้งบุคคลภายนอกซึ่งไม่มีส่วนได้
ส่วนเสียกับการก่อสร้างนั้น
ร่วมเป็นกรรมการด้วยก็ได้
องค์ประชุมของคณะกรรมการกำหนดราคากลาง
ให้ถือปฏิบัติเช่นเดียวกับคณะกรรมการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบว่าด้วยการพัสดุ
17.2 อำนาจหน้าที่
ให้คณะกรรมการกำหนดราคากลางมีอำนาจหน้าที่และรับผิดชอบคำนวณราคากลางงานก่อสร้างครั้งนั้นให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง
แล้วเสนอหัวหน้าส่วนราชการพิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนการประกาศสอบราคา
หรือประกาศประกวดราคา หรือประกาศร่าง TOR
สำหรับการจัดจ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
แล้วแต่กรณี
ในกรณีที่ราคาของผู้เสนอราคาแตกต่างจากราคากลาง
ตั้งแต่ร้อยละ 15 ขึ้นไป โดยใช้
ราคาของผู้เสนอราคารายที่ส่วนราชการเป็นสมควรจ้างเป็นฐานในการคำนวณ ให้คณะกรรมการกำหนดราคากลาง
หรือผู้ที่เกี่ยวข้องแจ้งรายละเอียดการคำนวณราคากลางงานก่อสร้างนั้นให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินทราบโดยเร็ว
การแจ้งรายละเอียดการคำนวณราคากลางงานก่อสร้างของคณะกรรมการกำหนดราคากลาง
หรือผู้ที่เกี่ยวข้องต่อสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินดังกล่าว
ไม่มีผลผูกพันต่อผู้มีอำนาจในการที่จะพิจารณารับ
หรือไม่รับราคาของผู้เสนอราคารายนั้น
กรณีที่มีความจำเป็น
เพื่อประโยชน์ของทางราชการ และหรือเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในทางปฏิบัติ
และส่วนราชการนั้นมทีงานก่อสร้างจำนวนมาก
ส่วนราชการนั้นอาจแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคากลาง
เพื่อทำหน้าที่คำนวณราคากลางงานก่อสร้างหลายโครงการ/งานก่อสร้าง ก็สามารถกระทำได้
โดยองค์ประกอบ และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกำหนดราคากลางต้องเป็นไปตามข้อกำหนดดังกล่าวข้างต้น
รวมทั้งให้ระบุหรือกำหนดภารกิจและระยะเวลาในการดำเนินงานของคณะกรรมการกำหนดราคากลางที่แต่งตั้งตามกรณีดังกล่าวให้เกิดความชัดเจนไว้ในคำสั่งแต่งตั้งด้วย
สำหรับหน่วยงานภาครัฐที่ไม่อยู่ในข้อบังคับของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ
พ.ศ.2535
และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการพัสดุของหน่วยงานนั้น ๆ
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งและประชุมคณะกรรมการ
คณะกรรมการกำหนดราคากลางมีสิทธิ์ได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายครั้ง
ตามพระราชกฤษฎีกา
เบี้ยประชุมกรรมการ
พ.ศ.2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
18. กรณีที่หัวหน้าส่วนราชการได้ให้ความเห็นชอบราคากลางงานก่อสร้างที่คณะกรรมการกำหนด
ราคากลางได้คำนวณไว้แล้ว
และยังไม่ประกาศสอบราคา ประกาศประกวดราคา หรือประกาศร่าง TOR สำหรับกรณีการจัดจ้างก่อสร้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
ภายใน 30 วัน นับถัดจากวันที่หัวหน้าส่วนราชการ
ได้ให้ความเห็นชอบราคากลางก่อสร้างนั้น
ให้หัวหน้าส่วนราชการมอบหมายให้คณะกรรมการกำหนดราคากลางที่คำนวณราคากลางงานก่อสร้างนั้นพิจารณาทบทวนราคากลางให้มีความเป็นปัจจุบัน
แล้วนำเสนอหัวหน้าส่วนราชการพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนการประกาศสอบราคา
ประกาศประกวดราคา หรือประกาศร่าง TOR สำหรับกรณีการจัดจ้างก่อสร้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
19. กรณีมีการประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้
อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ตารางค่าขนส่งวัสดุก่อสร้าง
ตารางค่าดำเนินการและค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร ตารางอัตราราคางานดิน
ตารางอัตราราคางานปรับปรุงฐานรากและงานระเบิดหิน
บัญชีค่าแรงงาน/ดำเนินการสำหรับการถอดแบบคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง
และหรือรายละเอียดประกอบการคำนวณราคากลางงานก่อสร้างอื่นใด
ซึ่งใช้ในการคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง หากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ
และหน่วยงานอื่นของรัฐยังไม่ได้รับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
ให้ถือปฏิบัติตามอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตารางค่าขนส่งวัสดุก่อสร้าง ตารางค่าดำเนินการและค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร
ตารางอัตราราคางานดิน ตารางอัตราราคางานปรับปรุงฐานรากและงานระเบิดหิน
บัญชีค่าแรงงาน/ดำเนินการสำหรับการถอดแบบคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง หรือรายละเอียดประกอบการคำนวณราคากลางงานก่อสร้างอื่นใด
เดิม
หากได้รับแจ้งการเปลี่ยนแปลง
และคณะกรรมการกำหนดราคากลางสามารถคำนวณราคากลางใหม่ได้ทันก่อนการประกาศสอบราคา
หรือประกาศประกวดราคา หรือประกาศร่าง TOR สำหรับการจัดจ้างก่อสร้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
แล้วแต่กรณี ให้คณะกรรมการกำหนดราคากลางคำนวณราคากลางใหม่
และให้ถือราคากลางที่คำนวณใหม่นั้น เป็นราคากลางในการจัดจ้างก่อสร้างครั้งนั้น
หากคณะกรรมการกำหนดราคากลางไม่สามารถคำนวณราคากลางใหม่ได้ทันก่อนการประกาศสอบราคา
หรือประกาศประกวดราคา หรือประกาศร่าง TOR สำหรับการจัดจ้างก่อสร้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
แล้วแต่กรณี แต่ยังไม่ได้ลงนามสัญญาจ้างก่อสร้าง ให้คณะกรรมการกำหนดราคากลางคำนวณราคากลาง
เพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการพิจารณาหรือเพื่อดำเนินการอื่นใด
สำหรับการจ้างก่อสร้างในครั้งนั้นด้วย
หมายเหตุ
1. คำว่า ได้รับจ้าง
หมายถึง การได้รับแจ้งเป็นหนังสือ โดยให้นับวันที่หน่วยงานนั้นลงทะเบียน
หนังสือรับ เป็นวันแรกของการได้รับแจ้ง
2.
เมื่อประกาศและหรือหนังสือแจ้งเวียนเปลี่ยนแปลงอัตอัตราดอกเบี้ยเงินกู้
อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ตารางค่าขนส่งวัสดุก่อสร้าง
ตารางค่าดำเนินการและค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร ตารางอัตราราคางานดิน
ตารางอัตราราคางานปรับปรุงฐานรากและงานระเบิดหิน
บัญชีค่าแรงงาน/ดำเนินการสำหรับการถอดแบบ
คำนวณราคากลางงานก่อสร้าง
และหรือรายละเอียดประกอบการคำนวณราคากลางงานก่อสร้างอื่นใด
แต่หน่วยงานนั้นยังไม่ได้รับจ้างเป็นหนังสือ
หน่วยงานนั้นสามารถดำเนินการไปก่อนได้รับแจ้งเป็นหนังสือได้
20. ในการจ้างก่อสร้างทุกครั้ง
ให้หน่วยงานที่จะมีการจ้างก่อสร้างประกาศเปิดเผยราคากลาง
ที่คณะกรรมการกำหนดราคากลางได้คำนวณไว้
ในประกาศสอบราคา ประกาศประกวดราคา หรือตามที่
กำหนดสำหรับการจัดจ้างก่อสร้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
และวิธีการอื่น
สำหรับรายละเอียดของการคำนวณราคากลางตาม
BOQ. ให้หน่วยงานที่จะมีการจ้างก่อสร้าง
จะต้องจัดเตรียมไว้
หากมีผู้สนใจขอตรวจดู
หรือขอถ่ายสำเนาเอกสารดังกล่าว จะต้องดำเนินการตามคำขอนั้น
ทันที
โดยให้ถือปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ.2540
2.1 ให้กระทรวงการคลัง
(กรมบัญชีกลาง) ในฐานะหน่วยงานกลางซึ่งกำกับดูแลการคำนวณราคากลางงานก่อสร้างของทางราชการ
และเป็นฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดราคากลางงานก่อสร้างของทางราชการ
มีอำนาจหน้าที่นอกเหนือจากที่ได้กำหนดไว้ในหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างนี้
ดังนี้
21.1 ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ ส่งเสริมสนับสนุน ให้คำปรึกษาแนะนำ จัดทำคู่มือ
รวมทั้ง การดำเนินการฝึกอบรม/สัมมนาเกี่ยวกับการกำหนดราคากลางงานก่อสร้าง
ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่น ของรัฐ ให้มีความรู้ ความเข้าใจ
และสามารถคำนวณราคากลางงานก่อสร้างตามหลักเกณฑ์
การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างได้อย่างถูกต้อง
และมีประสิทธิภาพ
21.2 ศึกษาวิเคราะห์ สำรวจ รวบรวมข้อมูล และเสนอแนะแนวทางวิธีการในการพัฒนา
และปรับปรุงหลักเกณฑ์ ข้อมูล แนวทางและวิธีปฏิบัติ
และรายละเอียดประกอบการคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง
ให้มีความสมบูรณ์
เป็นมาตรฐานตามหลักวิชาการ และสอดคล้องตามสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
21.3 อำนาจหน้าที่อื่น ๆ ตามที่คณะรัฐมนตรี
คณะกรรมการกำกับนโยบายราคากลางงานก่อสร้าง
และหรือคณะกรรมการกำกับหลักเกณฑ์และตรวจสอบราคากลางงานก่อสร้างมอบหมาย
หนังสือสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่นร 0506/380
ลงวันที่ 19 มีนาคม 2555
หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง
ลงวันที่ 19 มีนาคม 2555
หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น