การติดตั้งแผ่นป้ายแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับงานก่อสร้างของทางราชการ
จะบังคับใช้ใน 2 กรณี คือ
1. กรณีงานก่อสร้างสาธารณูปโภคที่ต้องขุดเจาะถนนหรือทางเท้า ซึ่งอยู่ใน
ความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร
2. กรณีงานก่อสร้างทุกประเภทซึ่งมีค่างานตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป (และมิใช่
งานตามกรณีที่ 1)
โดยงานก่อสร้างตามกรณีที่ 2 ต้องดำเนินการดังนี้
1. ให้ติดตั้งแผ่นป้ายไว้ ณ บริเวณสถานที่กอ่สร้าง โดยกำหนดเป็นเงื่อนไข
ในสัญญาจ้างให้ผู้รับจ้างเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการจัดทำและติดตั้ง
แผ่นป้าย
2. แผ่นป้ายต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับงานก่อสร้าง ดังนี้
2.1 ชื่อหน่วยงานเจ้าของโครงการ สถานที่ติดต่อ และหมายเลขโทรศัพท์
พร้อมดวงตราหน่วยงานเจ้าของโครงการ
2.2 ประเภทและชนิดของสิ่งก่อสร้าง
2.3 ปริมาณงานก่อสร้าง
2.4 ชื่อ ที่อยู่ ผู้รับจ้างพร้อมหมายเลขโทรศัพท์
2.5 ระยะเวลาเริ่มต้นและระยะเวลาสิ้นสุดของโครงการ
2.6 วงเงินค่าก่อสร้าง
2.7 ชื่อเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการผู้ควบคุมงาน พร้อมหมายเลขโทรศัพท์
2.8 ชื่อเจ้าหน้าที่ของบริษัทวิศวกรที่ปรึกษาผู้ควบคุมงาน พร้อมหมายเลข
โทรศัพท์
2.9 กำลังก่อสร้างด้วยเงินภาษีอากรของประชาชน
3. ขนาดของแผ่นป้ายแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับงานก่อสร้าง
3.1 งานก่อสร้างขนาดเล็ก และงานก่อสร้างในพื้นที่ชนบท
แผ่นป้ายควรมีขนาดไม่เล็กกว่า 1.20 x 2.40 เมตร
3.2 งานก่อสร้างขนาดใหญ่ และงานก่อสร้างในเขตชุมชนเมือง
หรืองานก่อสร้างในกรุงเทพมหานคร แผ่นป้ายควรมีขนาด
ไม่เล็กกว่า 2.40 x 4.80 เมตร
4. งานก่อสร้างทาง คลอง หรือลำน้ำ ให้ติดตั้งแผ่นป้ายรายละเอียดไว้
ณ จุดเริ่มต้น และจุดสิ้นสุดงานก่อสร้าง อย่างน้อย 2 จุด
ที่มา : หนังสือคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ กรมบัญชีกลาง
ที่ กค (กวพ) 0421.3/ว 231 ลงวันที่ 24 มิถุนายน 2556
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น