งานพัสดุ 1 ได้ทดลองบันทึกรายการลงในระบบ e-GP โดยรายการที่บันทึก เป็นการจัดจ้างทำครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์ จำนวน 21 รายการ โดยวิธีพิเศษ มีทั้งเงินงบประมาณรายได้ และเงินงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งการจัดจ้างดังกล่าว จะต้องทำระบบ e-GP 2 สัญญา และสามารถส่งมอบของชิ้นใดก่อนก็ได้ เมื่อทดลองบันทึกรายการ ทำให้พบว่า
- หากต้องการทำให้เป็น 2 สัญญา คือ บันทึกสัญญาแรก แล้วจะมีเครื่องหมาย + ให้คลิกที่เครื่องหมาย + จะให้เราเริ่มทำสัญญาที่ 2 โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่า สัญญาแรกจะเรียบร้อยแล้วหรือยัง
- หากรายการที่ส่งมอบ เป็นรายการที่จำเป็นต้องส่งของต่อเนื่องกันไป เช่น งานก่อสร้าง ที่มีหลายงวดงาน ให้เราเลือกแบบ แยกรายการ แต่ในกรณีที่ทดลอง ต้องเลือก แบบรวมรายการ แล้วจึงระบุงวดว่าเป็น 21 งวด แล้วจึงระบุว่า งวดละ 1 รายการ
- ในการบันทึกรายการในสัญญา ต้องพิมพ์ชื่อรายการลงไป และบอกงวด ที่จะต้องส่ง
- ในการเลือกงวดการจ่ายเงิน จะต้องทำการพิมพ์ชื่อรายการ และเลือกงวดงานที่สัมพันธ์กัน, กรอกวงเงินของรายการนั้นลงไป แล้วคลิกที่ช่องจำนวนเงินรวม หากไปคลิกที่ช่องร้อยละ ซึ่งบังคับว่าจะต้องระบุ จะทำให้จำนวนเงินเปลี่ยนไป แต่ถ้าไม่กำหนด ก็จะมีปัญหาตอนเชื่อมโยงเข้าระบบ GFMIS
การเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างระบบ e-GP กับ ระบบ GFMIS
เมื่อทดลองดึงข้อมูล e-GP จาก web online พบว่า
- ระบบให้ระบุเลขที่โครงการ และเลขที่สัญญาจากระบบ e-GP ไม่สามารถค้นหา หรือระบุจากข้อมูลอื่นใดได้นอกจากต้องระบุทั้ง 2 เลขที่
- หากมีการบันทึกเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้เสนอราคาที่เป็นบุคคลธรรมดา ตามคู่มือ คือ ขึ้นต้นด้วย 9 เช่น 999-999-999-000-1 จะพบปัญหาว่า ระบบ GFMIS ไม่สามารถหาผู้ขายที่มีข้อมูลตรงกันได้
- ระบบ GFMIS จะเชื่อมโยงข้อมูลของ ผู้ขาย, เลขที่ใบสั่งซื้อ และจำนวนเงินรวม แต่เจ้าหน้าที่พัสดุจะต้องพิมพ์ข้อมูลอื่น ๆ อาทิเช่น ประเภทการจัดซื้อ, รหัส GPSC, รายการพัสดุ, จำนวน, หน่วยนับ ซึ่งทำให้เกิดความล่าช้ากว่าการบันทึกรายการด้วย บส.01 และ บส.01-1
กรมบัญชีกลาง จะมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ อย่างไร จะมาตรการใดมาช่วยเหลือเจ้าหน้าที่พัสดุ ที่ต้องใช้งานหลาย ๆ ระบบ งานโปร่งใสขึ้นกับระบบจัดซื้อจัดจ้างมีมากขึ้น จะคุ้มค่าหรือไม่กับความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติงาน และความล่าช้าที่จะต้องเกิดขึ้น ความผิดพลาดคลาดเคลื่อนที่อาจจะเกิดขึ้นจากการบันทึกรายการที่ไม่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันได้ หรือแม้กระทั่งความเสี่ยงที่เกิดจากการให้ข้อมูลส่วนบุคคลกับเจ้าหน้าที่พัสดุ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น