วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555

การพัสดุ กับอากรแสตมป์



         "การพัสดุ" หมายถึง การจัดทำเอง การซื้อ การจ้าง การจ้างที่ปรึกษา การจ้างออกแบบและควบคุมงาน การเปลี่ยน การเช่า การควบคุม การจำหน่าย และการดำเนินการอื่นๆ ที่กำหนดไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 ซึ่งในที่นี้ จะได้นำเสนอเฉพาะเรื่องของการจ้างเท่านั้นและก่อนอื่น เราต้องศึกษาความหมายของการจ้างที่มีอยู่ในระเบียบเสียก่อน ได้แก่ความหมายของ การจ้าง การจ้างที่ปรึกษา และการจ้างออกแบบและควบคุมงาน ดังนี้
               "การจ้าง" ให้หมายความรวมถึง การจ้างทำของ และการรับขน ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์
และการจ้างเหมาบริการ แต่ไม่รวมถึง การจ้างลูกจ้างของส่วนราชการ ตามระเบียบของกระทรวงการคลัง การรับขน 
ในการเดินทางไปราชการ ตามกฎมาย ว่าด้วยค่าใช้จ่าย ในการเดินทางไปราชการ การจ้างที่ปรึกษา การจ้างออกแบบ
และควบคุมงาน และการจ้างแรงงาน ตามประมวลกฎมายแพ่งและพาณิชย์
             "การจ้างที่ปรึกษา" หมายความว่า การจ้างบริการจากที่ปรึกษา แต่ไม่รวมถึง การจ้าง ออกแบบและควบคุม 
งานก่อสร้างอาคาร ด้วยเงินงบประมาณ
           "การจ้างออกแบบและควบคุมงาน" หมายความว่า การจ้างบริการ จากนิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดา
ที่ประกอบธุรกิจบริการ ด้านงานออกแบบ และควบคุมงานก่อสร้างอาคาร ด้วยเงินงบประมาณ

กฎหมายใดที่ระบุให้ปิดอากรแสตมป์
             เมื่อดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใด ๆ ก็ตาม อาทิเช่น ตกลงราคา สอบราคา ประกวดราคา วิธีพิเศษ หรือแม้กระทั่งวิธีกรณีพิเศษก็ตาม เมื่อเราทำใบสั่งจ้าง ข้อตกลงจ้าง หรือสัญญาจ้าง สิ่งที่จะต้องดำเนินการคือ การปิดอากรแสตมป์ตาม พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร พุทธศักราช 2481" หมวด 6 อากรแสตมป์  ค่าอากรแสตมป์/ผู้ที่ต้องเสียอากร/ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์

ลักษณะแห่งตราสาร
ค่าอากรแสตมป์
ผู้ที่ต้องเสียอากร
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์
4. จ้างทำของ
ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท แห่งสินจ้างที่กำหนดไว้
หมายเหตุ
(1) ถ้าในเวลากระทำสัญญาจ้างทำของไม่ทราบจำนวนสินจ้างว่าเป็นราคาใด ให้ประมาณจำนวนสินจ้างตามสมควรแล้วเสียอากรตามจำนวนสินจ้างที่ประมาณนั้น
(2) ถ้ามีการรับเงินสินจ้างเป็นคราว ๆ และอากรที่เสียไว้เดิมยังไม่ครบ ให้เสียอากรเพิ่มเติมให้ครบตามจำนวนที่ต้องเสียทุกครั้งในทันทีที่มีการรับเงิน
(3) เมื่อการรับจ้างทำของได้สิ้นสุดลงแล้ว และปรากฏว่าได้เสียอากรเกินไป ให้ขอคืนตามมาตรา 122 ได้
ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร
s สัญญาที่ทำขึ้นนอกประเทศไทยและการปฏิบัติตามข้อสัญญานั้นมิได้ทำในประเทศไทย
1 บาท
ผู้รับจ้าง
ผู้รับจ้าง
             จากตาราง เราจะเห็นได้ว่า หากเราจ้างทำของ เราจะต้องติดอากรแสตมป์ 1 บาท ของทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท โดยให้ผู้รับจ้างเป็นผู้เสียอากรและเป็นผู้ขีดฆ่าแสตมป์ แต่เราก็สามารถขีดฆ่าแทนได้เช่นกัน เพราะวรรคท้ายของมาตรา 107 ของพระราชบัญญัติกำหนดว่า ให้ผู้ทรงตราสารหรือผู้ถือเอาประโยชน์ขีดฆ่าแทนได้ ทั้งนี้ เรา"ขีดฆ่า" เพื่อมิให้ใช้แสตมป์ได้อีก อาจโดยการลายมือชื่อหรือลงชื่อห้างร้านบนแสตมป์ หรือขีดเส้นคร่อมฆ่าแสตมป์ที่ปิดทับกระดาษ และลงวัน เดือน ปี ก็ได้

วิธีการคิดค่าอากรแสตมป์
                เรารู้แล้วว่าจะต้องติดอากรแสตมป์ 1 บาท ของทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือที่เราพูดกันติดปากว่า ติดอากร พันละ 1 บาท) วิธีคิดก็คือ นำจำนวน 1,000 หารวงเงินที่จ้าง ตัวอย่างเช่น เราจ้าง 20,000 บาท หารด้วย 1,000 ก็จะได้เท่ากับ 20 บาท แต่มีวิธีที่ง่าย ๆ ก็คือ เราตัดตัวเลขสามตัวหลังเครื่องหมาย , ออกไป ในที่นี้คือ เลข 0 เราก็จะได้ราคาอากรแสตมป์ที่เราจะติดแล้ว หากมีเศษ เราก็ติดเพิ่มเข้าไป 1 บาท เท่านี้เราก็ปิดอากรแสตมป์ไม่ขาดแล้ว

การจ้างตั้งแต่ 200,000 บาทขึ้นไป
                กรณีที่งานจ้างเป็นการจ้างที่มีวงเงินไม่ถึงสองแสนบาท ให้ติดอากรแสตมป์ แต่ถ้าสองแสนบาทขึ้นไป ให้ไปซื้อตราสารที่สรรพากร  เป็นการปฏิบัติตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 37) เรื่อง กำหนดวิธีการชำระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากร สำหรับตราสารบางลักษณะ ประกาศ ณ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.2538  (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ ๕๔) ใช้บังคับ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป) ซึ่งมีข้อที่เกี่ยวข้องกับการจ้าง ดังนี้
              ข้อ 2 ให้กำหนดวิธีการชำระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์ตามมาตรา 103(3) แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับตราสารแห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ท้ายหมวด 6 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร (3) จ้างทำของ เฉพาะที่รัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหาร ราชการส่วนท้องถิ่น เป็นผู้ว่าจ้างและมีสินจ้างตั้งแต่ 200,000 บาทขึ้นไป ตามลักษณะแห่งตราสาร 4. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์
                          ข้อ 3 วิธีเสียอากรเป็นตัวเงิน (3) สำหรับตราสารตามข้อ 2(3) ให้ผู้รับจ้างชำระอากรเป็นตัวเงิน แทนการปิดแสตมป์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อากรแสตมป์ โดยต้องนำตราสารมาสลักหลังตาม ระเบียบของกรมสรรพากรก่อนกระทำตราสาร หรือภายใน15 วันนับแต่วันถัดจากวัน กระทำตราสารนั้น
                         กล่าวโดยสรุปก็คือ หากมีการจ้างทำของ ที่มีวงเงินตั้งแต่ 200,000.- บาทขึ้นไป เฉพาะที่รัฐบาล องค์การ
ของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เป็นผู้ว่าจ้าง ให้ผู้รับจ้างชำระอากรเป็นตัวเงิน แทนการปิดแสตมป์ ภายใน 15 วัน ซึ่งหากล่าช้า ผู้รับจ้างจะต้องเสียเงินเพิ่ม ดังนี้
                         - กรณีไม่เกิน 90 วัน เสียเพิ่ม 2 เท่า
                         - กรณีเกิน 90 วัน เสียเพิ่ม 5 เท่า
                    ในกรณีที่ผู้รับจ้างไปชำระอากรเป็นตัวเงินกับสรรพากรนั้น ทางสรรพากรจะดูจากใบเสนอราคา แล้วหักภาษีมูลค่าเพิ่ม (ถ้ามี) เพื่อให้ได้มูลค่าสินค้าที่แท้จริง แล้วจึงคำนวณค่าอากร

                                ศึกษา เพิ่มเติมได้ที่ http://www.rd.go.th/publish/2593.0.html
แหล่งอ้างอิง       1. พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรพุทธศักราช 2481 หมวด 6
2. บัญชีอัตราอากรแสตมป์ ท้ายหมวด 6
3. ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 37) เรื่อง กำหนดวิธีการชำระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากร สำหรับตราสารบางลักษณะ download เอกสารได้ที่นี่
4. แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ ๕๔) ใช้บังคับ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป

ไม่มีความคิดเห็น: