วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555

การโอนสิทธิรับเงินในระบบ GFMIS



                    ตามหนังสือ กระทรวงการคลัง ที่ กค 0526.5/ว 110  ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2541 
กระทรวงการคลัง ได้กำหนดวิธีปฏิบัติในการจ่ายเงินค่าทรัพย์สิน ค่าจ้างทำของ และค่าเช่าทรัพย์สิน

ของส่วนราชการ กรณีที่เจ้าหนี้ (ผู้โอนสิทธิ)  ได้โอนสิทธิการรับเงินให้กับผู้อื่น (ผู้รับโอนสิทธิ)
โดยได้กำหนดหลักว่า หากมีการโอนสิทธิเรียกร้องให้ส่วนราชการสำเนาหนังสือบอกกล่าว
การโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวให้กับกรมสรรพากร หรือสำนักงานสรรพากรจังหวัด โดยไม่ต้อง
แจ้งการยินยอมให้กับผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องทราบ 
                    วิธีปฏิบัติข้างต้น เป็นวิธีปฏิบัติเบื้องต้น เมื่อได้รับทราบการโอนสิทธิเรียกร้อง
แต่เมื่อใช้ระบบ GFMIS  กรมบัญชีกลาง ได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กค 0427/ว 157  ลงวันที่
18 เมษายน 2548  เรื่อง   แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการโอนสิทธิการรับเงินในระบบ GFMIS  
จากหนังสือด่วนที่สุดดังกล่าว มีสิ่งที่เจ้าหน้าที่พัสดุจะต้องดำเนินการ และใช้แบบฟอร์ม ดังนี้
 
ตาราง 1  แสดงวิธีปฏิบัติ และเอกสารที่ต้องใช้ เกี่ยวกับการโอนสิทธิการรับเงินในระบบ GFMIS 

ผู้ขาย
ยังไม่มีอยู่ในระบบ
หรือ
มีอยู่ในระบบภายใต้รหัสหน่วยงานอื่น
มีอยู่ในระบบ
ภายใต้รหัสหน่วยงาน
ของมหาวิทยาลัยแล้ว
1.  ผู้โอนสิทธิเรียกร้อง
1.  สร้างข้อมูลหลักผู้ขาย
     (แบบ ผข.01)
2.  ขออนุมัติข้อมูลหลักผู้ขาย
     จากคลังจังหวัด
     (แบบขออนุมัติสร้าง
     ข้อมูลหลักผู้ขาย)
3.  ขอเปลี่ยนแปลงผู้รับเงินแทน
     (แบบขอเปลี่ยนแปลง
     ข้อมูลหลักผู้ขาย)
1.  ขอเปลี่ยนแปลงผู้รับเงินแทน
     (แบบขอเปลี่ยนแปลง
       ข้อมูลหลักผู้ขาย)
2.  ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้อง
1.  สร้างข้อมูลหลักผู้ขาย
     (แบบ ผข.01)
2.  ขออนุมัติข้อมูลหลักผู้ขาย
     จากคลังจังหวัด
     (แบบขออนุมัติสร้าง
     ข้อมูลหลักผู้ขาย)
-


เอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้อง

            ภายหลังจากการกรอกข้อมูลต่างๆ ครบถ้วนแล้ว สิ่งที่จะต้องดำเนินการต่อไป คือ 
การจัดเตรียมเอกสารเพื่อส่งให้กับคลังจังหวัดเพื่อยืนยันการอนุมัติและเปลี่ยนแปลงข้อมูลหลัก
โดยจัดเตรียมเอกสาร หลักฐาน ดังนี้
            1.     ผู้โอนสิทธิ (ผู้ขายที่เป็นคู่สัญญา)  ให้แนบเอกสารและหลักฐาน ดังนี้

ตาราง 2  แสดงเอกสารและหลักฐานประกอบแบบขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลหลักผู้ขายของผู้โอนสิทธิ

กรณียังไม่มีอยู่ในระบบ
หรือ
มีอยู่ในระบบภายใต้รหัสหน่วยงานอื่น
กรณีมีอยู่ในระบบภายใต้รหัสหน่วยงาน
ของมหาวิทยาลัยแล้ว
1.  แบบ ผข.01
2.  แบบขออนุมัติสร้างข้อมูลหลักผู้ขาย
3.  สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (กรณี
     เป็นบุคคลธรรมดา)/สำเนาบัตรผู้เสียภาษี
     หรือ ภ.พ.20 (กรณีเป็นนิติบุคคล)
4.  สำเนาใบทะเบียนพาณิชย์ (กรณีเป็นบุคคล
     ธรรมดา)/สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียน
     (กรณีเป็นนิติบุคคล)
5.  สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร, เอกสาร
     ทางธนาคารที่มีเลขที่บัญชีเงินฝากของผู้ขาย
6.  แบบขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลหลักผู้ขาย
7.  สำเนาสัญญาการโอนสิทธิการรับเงิน
     หรือหนังสือบอกกล่าการโอนสิทธิเรียกร้อง
8.  สำเนาสัญญาซื้อขาย/สัญญาจ้าง ที่ระบุ
     เลขที่บัญชีเงินฝาก สำหรับให้คลังจังหวัด
     โอนเงินค่าสินค้าและบริการ
1.  แบบขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลหลักผู้ขาย
2.  สำเนาสัญญาการโอนสิทธิการรับเงิน
     หรือหนังสือบอกกล่าการโอนสิทธิเรียกร้อง
3.  สำเนาสัญญาซื้อขาย/สัญญาจ้าง


            2.     ผู้รับโอนสิทธิ (ผู้ขายที่เป็นผู้รับเงินแทน)  ให้แนบเอกสารและหลักฐาน เช่นเดียวกับ
ผู้โอนสิทธิ ดังตารางข้างต้น  แต่ทว่า หากผู้รับโอนสิทธิมีความประสงค์จะขอรับโอนสิทธิการรับเงิน
เข้าบัญชีเงินฝากที่ไม่มีอยู่ในระบบ ก็จะต้องแนบแบบขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลหลักผู้ขายแต่หากเป็น
บัญชีที่อยู่ในระบบแล้วก็แนบเพียงแค่ข้อ 1 ถึง ข้อ 5 (ตารางด้านซ้าย)  เท่านั้น

หมายเหตุ
                     1.    การจัดทำใบสั่งซื้อ/จ้าง/เช่า (PO)  จะต้องระบุรหัสผู้ขายและบัญชีเงินฝากธนาคาร
ของผู้ขายที่เป็นคู่สัญญา
                    2.    ผู้ขายทั้งสองราย  (ผู้โอนสิทธิ และผู้รับโอนสิทธิ)  จะต้องเป็นผู้ขายที่ได้รับการอนุมัติ
และยืนยันแล้วเท่านั้น จึงจะสามารถเบิกจ่ายเงินได้

การพัสดุ กับอากรแสตมป์



         "การพัสดุ" หมายถึง การจัดทำเอง การซื้อ การจ้าง การจ้างที่ปรึกษา การจ้างออกแบบและควบคุมงาน การเปลี่ยน การเช่า การควบคุม การจำหน่าย และการดำเนินการอื่นๆ ที่กำหนดไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 ซึ่งในที่นี้ จะได้นำเสนอเฉพาะเรื่องของการจ้างเท่านั้นและก่อนอื่น เราต้องศึกษาความหมายของการจ้างที่มีอยู่ในระเบียบเสียก่อน ได้แก่ความหมายของ การจ้าง การจ้างที่ปรึกษา และการจ้างออกแบบและควบคุมงาน ดังนี้
               "การจ้าง" ให้หมายความรวมถึง การจ้างทำของ และการรับขน ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์
และการจ้างเหมาบริการ แต่ไม่รวมถึง การจ้างลูกจ้างของส่วนราชการ ตามระเบียบของกระทรวงการคลัง การรับขน 
ในการเดินทางไปราชการ ตามกฎมาย ว่าด้วยค่าใช้จ่าย ในการเดินทางไปราชการ การจ้างที่ปรึกษา การจ้างออกแบบ
และควบคุมงาน และการจ้างแรงงาน ตามประมวลกฎมายแพ่งและพาณิชย์
             "การจ้างที่ปรึกษา" หมายความว่า การจ้างบริการจากที่ปรึกษา แต่ไม่รวมถึง การจ้าง ออกแบบและควบคุม 
งานก่อสร้างอาคาร ด้วยเงินงบประมาณ
           "การจ้างออกแบบและควบคุมงาน" หมายความว่า การจ้างบริการ จากนิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดา
ที่ประกอบธุรกิจบริการ ด้านงานออกแบบ และควบคุมงานก่อสร้างอาคาร ด้วยเงินงบประมาณ

กฎหมายใดที่ระบุให้ปิดอากรแสตมป์
             เมื่อดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใด ๆ ก็ตาม อาทิเช่น ตกลงราคา สอบราคา ประกวดราคา วิธีพิเศษ หรือแม้กระทั่งวิธีกรณีพิเศษก็ตาม เมื่อเราทำใบสั่งจ้าง ข้อตกลงจ้าง หรือสัญญาจ้าง สิ่งที่จะต้องดำเนินการคือ การปิดอากรแสตมป์ตาม พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร พุทธศักราช 2481" หมวด 6 อากรแสตมป์  ค่าอากรแสตมป์/ผู้ที่ต้องเสียอากร/ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์

ลักษณะแห่งตราสาร
ค่าอากรแสตมป์
ผู้ที่ต้องเสียอากร
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์
4. จ้างทำของ
ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท แห่งสินจ้างที่กำหนดไว้
หมายเหตุ
(1) ถ้าในเวลากระทำสัญญาจ้างทำของไม่ทราบจำนวนสินจ้างว่าเป็นราคาใด ให้ประมาณจำนวนสินจ้างตามสมควรแล้วเสียอากรตามจำนวนสินจ้างที่ประมาณนั้น
(2) ถ้ามีการรับเงินสินจ้างเป็นคราว ๆ และอากรที่เสียไว้เดิมยังไม่ครบ ให้เสียอากรเพิ่มเติมให้ครบตามจำนวนที่ต้องเสียทุกครั้งในทันทีที่มีการรับเงิน
(3) เมื่อการรับจ้างทำของได้สิ้นสุดลงแล้ว และปรากฏว่าได้เสียอากรเกินไป ให้ขอคืนตามมาตรา 122 ได้
ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร
s สัญญาที่ทำขึ้นนอกประเทศไทยและการปฏิบัติตามข้อสัญญานั้นมิได้ทำในประเทศไทย
1 บาท
ผู้รับจ้าง
ผู้รับจ้าง
             จากตาราง เราจะเห็นได้ว่า หากเราจ้างทำของ เราจะต้องติดอากรแสตมป์ 1 บาท ของทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท โดยให้ผู้รับจ้างเป็นผู้เสียอากรและเป็นผู้ขีดฆ่าแสตมป์ แต่เราก็สามารถขีดฆ่าแทนได้เช่นกัน เพราะวรรคท้ายของมาตรา 107 ของพระราชบัญญัติกำหนดว่า ให้ผู้ทรงตราสารหรือผู้ถือเอาประโยชน์ขีดฆ่าแทนได้ ทั้งนี้ เรา"ขีดฆ่า" เพื่อมิให้ใช้แสตมป์ได้อีก อาจโดยการลายมือชื่อหรือลงชื่อห้างร้านบนแสตมป์ หรือขีดเส้นคร่อมฆ่าแสตมป์ที่ปิดทับกระดาษ และลงวัน เดือน ปี ก็ได้

วิธีการคิดค่าอากรแสตมป์
                เรารู้แล้วว่าจะต้องติดอากรแสตมป์ 1 บาท ของทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือที่เราพูดกันติดปากว่า ติดอากร พันละ 1 บาท) วิธีคิดก็คือ นำจำนวน 1,000 หารวงเงินที่จ้าง ตัวอย่างเช่น เราจ้าง 20,000 บาท หารด้วย 1,000 ก็จะได้เท่ากับ 20 บาท แต่มีวิธีที่ง่าย ๆ ก็คือ เราตัดตัวเลขสามตัวหลังเครื่องหมาย , ออกไป ในที่นี้คือ เลข 0 เราก็จะได้ราคาอากรแสตมป์ที่เราจะติดแล้ว หากมีเศษ เราก็ติดเพิ่มเข้าไป 1 บาท เท่านี้เราก็ปิดอากรแสตมป์ไม่ขาดแล้ว

การจ้างตั้งแต่ 200,000 บาทขึ้นไป
                กรณีที่งานจ้างเป็นการจ้างที่มีวงเงินไม่ถึงสองแสนบาท ให้ติดอากรแสตมป์ แต่ถ้าสองแสนบาทขึ้นไป ให้ไปซื้อตราสารที่สรรพากร  เป็นการปฏิบัติตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 37) เรื่อง กำหนดวิธีการชำระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากร สำหรับตราสารบางลักษณะ ประกาศ ณ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.2538  (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ ๕๔) ใช้บังคับ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป) ซึ่งมีข้อที่เกี่ยวข้องกับการจ้าง ดังนี้
              ข้อ 2 ให้กำหนดวิธีการชำระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์ตามมาตรา 103(3) แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับตราสารแห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ท้ายหมวด 6 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร (3) จ้างทำของ เฉพาะที่รัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหาร ราชการส่วนท้องถิ่น เป็นผู้ว่าจ้างและมีสินจ้างตั้งแต่ 200,000 บาทขึ้นไป ตามลักษณะแห่งตราสาร 4. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์
                          ข้อ 3 วิธีเสียอากรเป็นตัวเงิน (3) สำหรับตราสารตามข้อ 2(3) ให้ผู้รับจ้างชำระอากรเป็นตัวเงิน แทนการปิดแสตมป์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อากรแสตมป์ โดยต้องนำตราสารมาสลักหลังตาม ระเบียบของกรมสรรพากรก่อนกระทำตราสาร หรือภายใน15 วันนับแต่วันถัดจากวัน กระทำตราสารนั้น
                         กล่าวโดยสรุปก็คือ หากมีการจ้างทำของ ที่มีวงเงินตั้งแต่ 200,000.- บาทขึ้นไป เฉพาะที่รัฐบาล องค์การ
ของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เป็นผู้ว่าจ้าง ให้ผู้รับจ้างชำระอากรเป็นตัวเงิน แทนการปิดแสตมป์ ภายใน 15 วัน ซึ่งหากล่าช้า ผู้รับจ้างจะต้องเสียเงินเพิ่ม ดังนี้
                         - กรณีไม่เกิน 90 วัน เสียเพิ่ม 2 เท่า
                         - กรณีเกิน 90 วัน เสียเพิ่ม 5 เท่า
                    ในกรณีที่ผู้รับจ้างไปชำระอากรเป็นตัวเงินกับสรรพากรนั้น ทางสรรพากรจะดูจากใบเสนอราคา แล้วหักภาษีมูลค่าเพิ่ม (ถ้ามี) เพื่อให้ได้มูลค่าสินค้าที่แท้จริง แล้วจึงคำนวณค่าอากร

                                ศึกษา เพิ่มเติมได้ที่ http://www.rd.go.th/publish/2593.0.html
แหล่งอ้างอิง       1. พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรพุทธศักราช 2481 หมวด 6
2. บัญชีอัตราอากรแสตมป์ ท้ายหมวด 6
3. ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 37) เรื่อง กำหนดวิธีการชำระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากร สำหรับตราสารบางลักษณะ download เอกสารได้ที่นี่
4. แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ ๕๔) ใช้บังคับ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป

หน่วยนับในระบบ GFMIS และระบบ e-GP



หน่วยนับ/หน่วยสั่งซื้อ
ข้อความของ
หน่วยการวัด
หน่วยนับ/หน่วยสั่งซื้อ
ข้อความของ
หน่วยการวัด
หน่วยนับ/หน่วยสั่งซื้อ
ข้อความของ
หน่วยการวัด
'
นิ้ว
KMH
กิโลเมตรต่อชั่วโมง
PPT
อัตราส่วนล้านล้าน
"2
ตารางนิ้ว
KMN
เคลวิน/นาที
PRD
งวด
"3
ลูกบาศก์นิ้ว
KMS
เคลวิน/วินาที
PRS
คน
%O
ต่อ mille
KPA
กิโลปาสคาล
PT
ไพนท์, หน่วยวัดขนาดของเหลว US
A/V
ซีเมนส์ต่อเมตร
KVA
กิโลโวลต์แอมแปร์
QML
กิโลโมล
ACR
เอเคอร์
L
ลิตร
QT
ควอรท,หน่วยวัดขนาดของเหลว US
AU
หน่วยนับกิจกรรม
LB
US ปอนด์
RF
มิลลิฟาเรด
BAG
ถุง
LHK
ลิตรต่อ 100 กิโลเมตร
RHO
กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร
BK
เล่ม
LMI
ลิตร/นาที
RM
รีม
BPH
แกลลอนต่อชั่วโมง (US)
LMS
ลิตร/โมลวินาที
ROL
Roll (ม้วน)
BT.
ขวด
LPH
ลิตรต่อชั่วโมง
R-U
นาโนฟาเรด
C3S
ลูกบาศก์เซนติเมตร/วินาที
LT
Kilotonne
SHE
ผืน
CAB
ตู้
M
เมตร
SHT
แผ่น
CAN
กระป๋อง
M/L
โมลต่อลิตร
ST
ชุด
CAR
คัน
M/M
โมลต่อลูกบาศก์เมตร
STK
ท่อน
CCM
ลูกบาศก์เซนติเมตร
M/S
เมตร/วินาที
SYS
ระบบ
CD3
ลูกบาศก์เดซิเมตร
M2
ตารางเมตร
T
หลักพัน
CL
เซนติลิตร
M-2
1 / ตารางเมตร
TM
ครั้ง
CM
เซนติเมตร
M2S
ตารางเมตร/วินาที
TO
ตัน
CM2
ตารางเซนติเมตร
M3
ลูกบาศก์เมตร
TOM
ตัน/ลูกบาศก์เมตร
CMS
เซนติเมตร/วินาที
M3H
ลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมง
TON
US ตัน
CRT
กล่อง
M3S
ลูกบาศก์เมตร/วินาที
TUB
ท่อ
CT
คาร์ตัน
MAC
เครื่อง
U1
แท่ง
CUP
ถ้วย
MD
มัด
U10
ขด
CV
หีบ
MEJ
เมกะจูล
U11
โคม
DAY
วัน
MG
มิลลิกรัม
U12
คิว
DEG
องศา
MGL
มิลลิกรัม/ลิตร
U13
ปี๊บ
DM
เดซิเมตร
MGO
เมกะโอมห์
U14
ซอง
DR
ถัง
MGQ
มิลลิกรัม/ลูกบาศก์เมตร
U15
ดวง
DZ
โหล
MH
เมตร/ชั่วโมง
U16
ดอก
EA
ชิ้น
MHV
เมกะโวลต์
U17
แผง
EML
หน่วยเอมไซน์/มิลลิลิตร
MI
ไมล์
U18
ตลับ
EU
หน่วยเอมไซน์
MI2
ตารางไมล์
U19
เที่ยว
FIL
แฟ้ม
MIN
นาที
U2
ตัว
FOZ
ออนซ์หน่วยวัดของเหลว US
MIS
ไมโครวินาที
U20
นัด
FT
ฟุต
ML
มิลลิลิตร
U21
แท่น
FT2
ตารางฟุต
MLI
Milliliter act. ingr.
U22
บาน
FT3
ลูกบาศก์ฟุต
MM
มิลลิเมตร
U23
ใบ
FYR
กิกะจูล
MM2
ตารางมิลลิเมตร
U24
ภาพ/รูป
G
กรัม
MM3
ลูกบาศก์มิลลิเมตร
U25
เรือน
GA
US แกลลอน
MN
เมกะนิวตัน
U26
ล้อ
GAU
กรัมทองคำ
MNM
มิลลินิวตัน/เมตร
U27
ลัง
GL
gram act.ingrd / liter
MPG
ไมล์ต่อแกลลอน (US)
U28
วง
GLI
กรัม/ลิตร
MPL
มิลิโมลต่อลิตร
U29
เส้น
GM
กรัมต่อโมล
MPS
มิลลิปาสคาลวินาที
U3
ลูก
GM2
กรัม/ตารางเมตร
MS
พิโควินาที
U30
หลอด
GM3
กรัมต่อลูกบาศก์เมตร
MS2
เมตร/วินาทีกำลังสอง
U31
หลัง
GOH
กิกะโอห์ม
MSC
ไมโครซเมนส์ต่อเซนติเมตร
U32
เม็ด
GPM
แกลลอนต่อไมล์ (US)
MSE
มิลลิวินาที
U33
ไมโครแอมแปร์
GRO
ตัวใหญ่
MTH
เดือน
U34
ไมโครฟาเรด
GRP
กลุ่ม
MWH
เมกะวัตต์ ชั่วโมง
U35
ไมโครเมตร
H
ชั่วโมง
NA
นาโนแอมแปร์
U36
ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร
HA
เฮกตาร์
NAM
นาโนเมตร
U37
ไมโครลิตร
HL
เฮกโตลิตร
NG
Gram act. ingrd.
U4
กระสอบ
HR.
ชั่วโมง
NI
กิโลนิวตัน
U40
ไมโครกรัม/ลิตร
IB
พิโคฟาเรด
NM
นิวตัน/เมตร
U5
กรง
JKG
จูล/กิโลกรัม
NMM
นิวตัน/ตารางมิลลิเมตร
U6
กรอบ
JMO
จูล/โมล
NS
นาโนวินาที
U7
กระถาง
JOB
งาน
OC
ออนซ์
U8
กระบอก
KAI
Kilogram act. ingrd.
P
จุด
U9
ก้อน
KD3
กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร
PAA
คู่
UNT
หน่วย
KG
กิโลกรัม
PAC
แพค/ห่อ
VAL
วัสดุที่คิดมูลค่าเท่านั้น
KGM
กิโลกรัม/โมล
PAL
แพลเลต
VAM
โวลต์แอมแปร์
KGS
กิโลกรัมต่อวินาที
PAS
ปาสคาลวินาที
WKS
สัปดาห์
KIK
kg act.ingrd. / kg
PC.
เมกะโวลต์แอมแปร์
Y
ปี
KJK
กิโลจูล/กิโลกรัม
PGL
กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
YD
หลา
KJM
กิโลจูล/โมล
PMI
หนึ่ง/นาที
YD2
ตารางหลา
KM
กิโลเมตร
PPB
อัตราส่วนพันล้าน
YD3
ลูกบาศก์หลา
KM2
ตารางกิโลเมตร
PPM
อัตราส่วนล้าน

หมายเหตุ:  เรียงลำดับตามตัวอักษรภาษาอังกฤษ