วันพฤหัสบดีที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การจัดทำและแสดงบัญชีรายการรับจ่าย

       การดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำและแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการ
ที่บุคคล หรือ นิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ บังคับใช้กับสัญญา
ที่เกี่ยวกับการจัดหาพัสดุของหน่วยงานของรัฐตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการพัสดุ หรือระเบียบข้อกำหนด กฎ หรือข้อบังคับว่าด้วยการพัสดุ
ของหน่วยงานของรัฐ สัญญาสัมปทาน และสัญญาให้ทุนสนับสนุนของหน่วยงาน
ของรัฐเพื่อการวิจัย หรือเพื่อดำเนินกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีมูลค่าตั้งแต่ 
2,000,000.- บาท (สองล้านบาท) ขึ้นไป  (แก้ไขตามประกาศคณะกรรมการป้องกัน
      สำหรับการดำเนินการ ให้รายงานให้คณะกรรมการป.ป.ช. และกรมสรรพากร
ทราบ ดังนี้
     1. กรณีหน่วยงานของรัฐซึ่งดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
(
e-Government Procurement : e-GP) ของกรมบัญชีกลาง ให้รายงาน
ข้อมูลของคู่สัญญาผ่านระบบ (e-Government Procurement : e-GP
ของกรมบัญชีกลาง
    2. กรณีหน่วยงานของรัฐมิได้ดำเนินการจัดจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
(e-Government Procurement : e-GP) ของกรมบัญชีกลาง ให้รายงานข้อมูล

วันเสาร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การเพิกถอนการเป็นผู้ทิ้งงาน

   หลักเกณฑ์การเพิกถอนการเป็นผู้ทิ้งงาน
   1. กรณีผู้ทิ้งานที่ถูกขึ้นบัญชีไว้แล้วตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ให้เพิกถอนการเป็นผู้ทิ้งงานได้
   2. กรณีผู้ทิ้งงานได้ถูกขึ้นบัญชีไว้แล้วตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ให้มีสิทธิขอเพิกถอนชื่อผู้ทิ้งงานได้
   3. กรณีผู้ทิ้งงานได้ถูกขึ้นบัญชีมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี ให้มีสิทธิขอเพิกถอนชื่อผู้ทิ้งงานได้
แต่ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
       3.1 ต้องเป็นผู้มีฐานะการเงินมั่นคง
       3.2 มีผลงานการดำเนินการที่ผ่านมากับภาคเอกชนสำเร็จเรียบร้อยดี
       3.3 มีการชำระภาษีโดยถูกต้องตามกฎหมาย
       3.4 ต้องเรับรองว่าระหว่างที่ถูกลงโทษให้เป็นผู้ทิ้งงานไม่ได้เข้าทำการเสนอราคา
หรือเสนองานกับส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐ

ที่มา :  หนังสือคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ ที่ กค (กวพ) 0421.3/ว 325
           ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2557

วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2557

คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการบุคคลภายนอก

          ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2549
ข้อ 8 (3) กำหนดให้อธิบดีกรมบัญชีกลางแต่งตั้งคณะกรรมการประกวดราคา เพื่อทำหน้าที่
ในการเผยแพร่ประกาศเชิญชวน รับซองข้อเสนอด้านเทคนิค และพิจารณาคัดเลือกผู้มี
คุณสมบัติเบื้องต้น ควบคุมการเสนอราคาให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และพิจารณาสมควร
รับการเสนอราคาของผู้มีสิทธิเสนอราคารายใด  โดยองค์ประกอบของคณะกรรมการ
ประกวดราคาจะต้องแต่งตั้งบุคคลที่มิได้เป็นข้าราชการซึีงมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ
อย่างน้อย 1 คน เป็นกรรมการด้วย ทั้งนี้ เพือความโปร่งใสในการจัดหาพัสดุ
          กรมบัญชีกลางจึงได้มีหนังสือเวียน ที่ กค 0408.3/ว 201  ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2549
ขอรายชื่อคณะกรรมการที่มิได้เป็นข้าราชการ จากสมาคมต่าง ๆ พร้อมทั้งแจ้งคุณสมบัติ
และลักษณะต้องห้ามของกรรมการบุคคลภายนอกไว้ ดังนี้
         1. เป็นผู้บรรลุนิติภาวะและมีสัญชาติไทย
         2. ไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสีย หรือผลประโยชน์ใดๆ หรือมีผลประโยชน์ที่ได้เสีย
             ที่เกี่ยวข้องกับผู้ที่ประสงค์จะเสนอราคาต่อหน่วยงานที่จะจัดหาพัสดุ
              ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม
         3. ไม่เป็นผู้ติดยาเสพติด
         4. ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ
         5. ไม่เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐ
              หรือหน่วยงานของภาคเอกชน
         6. ไม่เป็นผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานที่จัดหาพัสดุ

วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2557

วิธีตรวจสอบรายชื่อผู้ขาดคุณสมบัติ ของ ป.ป.ช.

          ป.ป.ช. ได้กำหนดให้หน่วยงานของรัฐตรวจสอบบุคคล หรือนิติบุคคลที่จะเข้าเป็นคู่สัญญา
ว่าต้องไม่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้ขาดคุณสมบัติของ ป.ป.ช.  โดยให้ตรวจสอบอย่างน้อย
2 ครั้ง คือ ตรวจสอบคราวเดียวการตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้น และ ตรวจสอบก่อนการทำสัญญา

          วิธีการ
          1.  เข้าเว็บไซต์ของ สำนักงาน ป.ป.ช.  ที่ www.nacc.go.th
          2.  เลือกเมนูศูนย์กำกับดูแลการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ  (ดังรูปที่ 1)
              



                                                   รูปที่ 1


          3.  ระบบจะเข้าสู่หน้าต่างเว็บไซต์ศูนย์กำกับดูแลการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
               เลือกเมนูรายชื่อผู้ขาดคุณสมบัติ  (ดังรูปที่ 2)
               

                                                   รูปที่ 2


             4.  ระบบจะแสดงหน้าเว็บรายชื่อผู้ขาดคุณสมบัติการเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานภาครัฐ

               

                                                   รูปที่ 3




วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557

การอนุมัติให้ดำเนินการจัดหาพัสดุด้วยวิธีการอื่น โดยไม่ต้องขออนุมัติ กวพ.อ.

    คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (กวพ.อ.) ได้มีหนังสือ
ด่วนที่สุด ที่ กค (กวพอ)0421.3/ว 161 ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2557 โดยยกเลิกหนังสือ
คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ด่วนที่สุด ที่ กค (กวพอ)
0421.3/ว 79 ลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2556  พร้อมทั้งซักซ้อมความเข้าใจแนวทาง
การปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ.2549 และอนุมัติการดำเนินการจัดหาพัสดุด้วยวิธีการอื่น ๆ ดังนี้
     1. ให้หน่วยงานพิจารณาว่าในการจัดหาพัสดุครั้งนั้นเป็นการจัดหาในเรื่องการจ้าง
ที่ปรึกษา การจ้างออกแบบและควบคุมงาน การซื้อหรือการจัางโดยวิธีพิเศษ และ
วิธีกรณีพิเศษ หรือไม่  หากต้องดำเนินการตามวิธีดังกล่าว ให้ดำเนินการตามระเบียบ
สำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม หรือระเบียบ
ข้อบังคับของหน่วยงาน โดยไม่ต้องขออนุมัติยกเว้นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบฯ
พ.ศ.2549 ต่อ กวพ.อ.
     2. ให้หน่วยงานพิจารณาการจัดหาพัสดุ โดยพิจารณาประเภทสินค้าและบริการ
เป็นหล้ก ดังนี้
         2.1 เป็นพัสดุที่มีการแข่งขันน้อยรายหรือไม่ โดยพิจารณาจากจำนวนผู้ขาย
ผู้ให้บริการ หรือผู้รับจ้าง
         2.2 มีความซับซ้อนหรือเทคนิคเฉพาะของสินค้าและบริการหรือจากงาน/
โครงการที่จะจัดหา
         2.3 เป็นสินค้าและบริการที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี ประเภทระบบ IT  ให้พิจารณาว่า
เป็นระบบ IT ประเภททั่วไป หรือประเภทที่มีลักษณะเฉพาะ
         2.4 เป็นพัสดุที่มีความผันผวนทางด้านราคาหรือไม่
     3. กรณีหน่วยงานได้ดำเนินการจัดหาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์แล้ว ไม่ว่า
จะอยู่ในขั้นตอนใด ต่อมา หน่วยงานเห็นสมควรยกเลิกการดำเนินการทั้งหมด
หากเข้าหลักเกณฑ์ตามข้อ 1 หรือข้อ 2  ให้หน่วยงานจัดหาด้วยวิธีการอื่นตามระเบียบฯ
พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม หรือระเบียบข้อบังคับของหน่วยงาน โดยไม่ต้องขออนุมัติ
ยกเว้นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบฯ 
พ.ศ.2549 ต่อ กวพ.อ.
     4. กรณีหน่วยงานได้ดำเนินการจัดหาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์แล้ว หากมี
บางรายการที่จัดหาแล้วไม่ได้ผลดี และรายการที่เหลือนั้นมีวงเงินรวมไม่ถึงสองล้านบาท
ให้หน่วยงานจัดหาด้วยวิธีการอื่นตามระเบียบฯพ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม หรือระเบียบ
ข้อบังคับของหน่วยงาน โดยไม่ต้องขออนุมัติยกเว้นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบฯ พ.ศ.2549
ต่อ กวพ.อ.


   

วันอังคารที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

การหักภาษี ณ ที่จ่าย หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ผ่านระบบ GFMIS

     กรมบัญชีกลางได้รับแจ้งจากหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่รับชำระหนี้ค่าสาธารณูปโภค
โดยการจ่ายตรงเข้าบัญชีธนาคาร ผ่านระบบ GFMIS ว่า ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้
นิติบุคคล และไม่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามประมวลรัษฎากร
กรมบัญชีกลาง จึงมีหนังสือว่า กรณีที่หน่วยงานภาครัฐต้องชำระหนี้ค่าสาธารณูโภค
โดยการจ่ายตรงเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ซึ่งได้แก่
การประปานครหลวง (8000001051) การประปาส่วนภูมิภาค (8000001576)
การไฟฟ้านครหลวง (8000001315) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (8000001038)
ให้บันทึกการขอเบิก โดยไม่ต้องระบุการหักภาษี ณ ที่จ่าย 

ที่มา  :  หนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค 0409.3/ว 59  ลงวันที่ 21 มีนาคม 2557

บัญชีราคามาตรฐานครุภัณฑ์ และราคามาตรฐานสิ่งก่อสร้าง (มีนาคม 2557)

    1. บัญชีราคามาตรฐานครุภัณฑ์
    2. บัญชีราคามาตรฐานสิ่งก่อสร้าง

วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2557

การจ้างเอกชนเป็นผู้ออกแบบและควบคุมงานก่อสร้างของส่วนราชการ

     คณะรัฐมนตรีได้มีมติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การออกแบบและหรือควบคุมงานก่อสร้าง
ของส่วนราชการไว้เมื่อปี พ.ศ.2536 ตามหนังสือที่ นร 0205/ว 44 ลงวันที่ 22 มีนาคม
2536  ดังนี้
     1.  การออกแบบก่อสร้างอาคาร
          1.1  เมื่อ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประกาศใช้แล้ว ให้ส่วนราชการที่ยังไม่ได้
ดำเนินการออกแบบก่อสร้าง รีบดำเนินการออกแบบ หากส่วนราชการนั้นไม่มีหน่วยงาน
ออกแบบก่อสร้าง หรือมีแต่ไม่สามารถดำเนินการออกแบบก่อสร้างได้ ให้มีหนังสือ
ขอความร่วมมือกรมโยธาธิการ กรมศิลปากร และส่วนราชการอื่นที่มีหน่วยงานออกแบบ
ก่อสร้าง อย่างน้อยอีกหนึ่งแห่ง อย่างช้าภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ พ.ร.บ.รายจ่ายประจำปี
มีผลใช้บังคับ โดยจะต้องแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับชนิด ประเภท ขนาด วงเงินค่าก่อสร้าง
โดยประมาณ และระยะเวลาของการออกแบบให้เหมาะสมกับลักษณะของงานก่อสร้าง
ตามหลักเกณฑ์ที่กรมโยธาธิการกำหนด
           1.2  ให้ส่วนราชการที่ได้รับการติดต่อแจ้งตอบเป็นหนังสือภายใน 15 วัน 
นับแต่วันที่ได้รับเรื่อง ว่าจะรับออกแบบหรือไม่
           1.3  เมื่อส่วนราชการเจ้าของงบประมาณได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากส่วนราชการ
ที่ได้รับการร้องขอให้ออกแบบก่อสร้างว่าสามารถออกแบบได้แล้ว ให้แจ้งตอบภายใน
7 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
           1.4  กรณีที่ได้รับแจ้งจากส่วนราชการที่ขอความร่วมมือว่าไม่สามารถดำเนินการ
ให้ได้ หรือไม่ได้แจ้งเป็นหนังสือภายในกำหนดเวลาตามข้อ 1.2 ให้ทวงถามทันที
และเมื่อพ้นกำหนดเวลา 15 วัน นับจากวันที่ทวงถาม และยังไม่ได้รับคำตอบ 
ให้ส่วนราชการเจ้าของงบประมาณจ้างเอกชนออกแบบก่อสร้าง โดยขอทำความตกลง
ด้านการเงินกับสำนักงบประมาณต่อไป
                  ในการจ้างเอกชนออกแบบก่อสร้างอาคาร ส่วนราชการเจ้าของงบประมาณ
อาจจะขอความร่วมมือให้กรมโยธาธิการเป็นผู้ดำเนินการว่าจ้างแทนก็ได้
     2.  กาควบคุมงานก่อสร้างอาคาร
          2.1  ส่วนราชการที่ไม่สามารถดำเนินการควบคุมงานก่อสร้างได้เอง และเป็นกรณีที่
ได้รับความร่วมมือจากกรมโยธาธิการ กรมศิลปากร หรือส่วนราชการอื่นดำเนินการออกแบบ
ก่อสร้างให้ เมื่อมีการพิจารณาให้ความเห็นชอบที่จะดำเนินการจ้างก่อสร้างตามระเบียบ
สำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุแล้ว ให้มีหนังสือขอความร่วมมือส่วนราชการที่
ดำเนินการออกแบบ เพื่อส่งเจ้าหน้าที่มาควบคุมงานก่อสร้างอาคาร
           2.2  ให้ส่วนราชการที่ได้รับการติดต่อแจ้งตอบเป็นหนังสือภายใน 15 วัน 
นับแต่วันที่ได้รับเรื่อง 
           2.3  ถ้าส่วนราชการแจ้งตอบว่าสามารถดำเนินการให้ได้ ก็ให้ส่วนราชการ
เจ้าของเรื่องทำหนังสือแจ้งตอบภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
           2.4 กรณีที่ได้รับแจ้งจากส่วนราชการที่ขอความร่วมมือว่าไม่สามารถดำเนินการให้ได้
หรือไม่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือภายในกำหนดเวลาตามข้อ 2.2 หรือเป็นกรณีที่ได้จ้างเอกชน
ออกแบบก่อสร้าง ให้ส่วนราชการจ้างเอกชนเป็นผู้ควบคุมงานก่อสร้าง โดยขอทำความตกลง
ด้านการเงินกับสำนักงบประมาณต่อไป
                  ในการจ้างเอกชนควบคุมงานก่อสร้าง ส่วนราชการเจ้าของงบประมาณ
อาจจะขอความร่วมมือให้กรมโยธาธิการเป็นผู้ดำเนินการว่าจ้างแทนก็ได้
            2.5 นอกจากกรณีตามข้อ 2.1 หากส่วนราชการมีความประสงค์จะขอความร่วมมือ
กรมโยธาธิการ กรมศิลปากร หรือส่วนราชการอื่น ๆ เพื่อส่งเจ้าหน้าที่มาควบคุมงานก่อสร้าง
อาคาร ก็ให้กระทำได้

     และเนื่องจากคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุเห็นว่าในปัจจุบันหลายหน่วยงาน
มิได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว จึงได้มีหนังสือด่วนที่สุด ที่ กค (กวพ)
0421.3/ว 471 ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2556 ซ้อมความเข้าใจมติคณะรัฐมนตรี ดังนี้
     1. การออกแบบก่อสร้าง ตามหลักเกณฑ์ข้อ 1.4 ซึ่งกำหนดเกี่ยวกับการออกแบบ
ก่อสร้างอาคารว่า กรณีที่ได้รับแจ้งจากส่วนราชการที่ขอความร่วมมือ (กรมโยธาธิการ
และผังเมือง  กรมศิลปากร  และส่วนราชการอื่นที่มีหน่วยงานออกแบบก่อสร้างอย่างน้อย
อีกหนึ่งแห่ง) ว่าไม่สามารถดำเนินการออกแบบก่อสร้างให้ได้ หรือไม่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือ
ภายในเวลา 15 วัน ให้ทวงถามทันที และเมื่อพ้นกำหนดสิบห้าวันนับจากวันที่ทวงถาม
และยังไม่ได้รับคำตอบ ให้ส่วนราชการเจ้าของงบประมาณจ้างเอกชนออกแบบก่อสร้าง
อาคาร โดยดำเนินการตามระเบียบการบริหารงบประมาณที่เกี่ยวข้องต่อไป
     2. การควบคุมงานก่อสร้างอาคาร ตามหลักเกณฑ์ข้อ 2.4 ซึ่งกำหนดเกี่ยวกับ
การควบคุมงานก่อสร้างว่า กรณีที่ได้รับแจ้งจากส่วนราชการที่ขอความร่วมมือ
(กรมโยธาธิการและผังเมือง  กรมศิลปากร  และส่วนราชการอื่นที่มีหน่วยงานออกแบบ
ก่อสร้างอย่างน้อยอีกหนึ่งแห่ง) ว่าไม่สามารถส่งเจ้าหน้าที่มาควบคุมงานก่อสร้างให้ได้
หรือไม่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือภายในเวลา 15 วัน หรือเป็นกรณีที่ได้จ้างเอกชนออกแบบ
ก่อสร้าง ให้ส่วนราชการจ้างเอกชนเป็นผู้ควบคุมงานก่อสร้าง โดยดำเนินการตามระเบียบ
การบริหารงบประมาณที่เกี่ยวข้องต่อไป

ที่มา : หนังสือคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ ด่วนที่สุด ที่ กค (กวพ) 0421.3/ว 471
          ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2556

วันพฤหัสบดีที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2557

หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่าตอบแทนคณะกรรมการตามระเบียบพัสดุ

     กระทรวงการคลังได้มีหนังสือเวียนหลักเกณฑ์การเบิกค่าตอบแทนคณะกรรมการ
ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535
คณะกรรมการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ.2549 คณะกรรมการกำหดนราคากลาง และคณะกรรมการสอบข้อเท็จจจริงความผิด
ทางละเมิดฯ  โดยอนุมัติให้ส่วนราชการเบิกจ่ายค่าตอบแทนให้แก่คณะกรรมการดังกล่าว
โดยมีหลักเกณฑ์และอัตราค่าตอบแทน ดังนี้
     1. ประธานกรรมการ ไม่เกิน 1,500 บาทต่อครั้งที่มาประชุม และกรรมการไม่เกินคนละ
1,200 บาท ต่อครั้งที่มาประชุม
     2. คณะกรรมการดังกล่าวต้องไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งซึ่งตามแบบบรรยายลักษณะงาน
กำหนดให้มีหน้าที่เกี่ยวกับการพัสดุ หรือความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน
ที่ตนสังกัด หรือกรณีที่แบบบรรยายลักษณะงานมิได้กำหนดไว้ชัดเจน แจ้งแต่ได้รับมอบหมาย
ให้ปฏิบัติหน้าที่ประจำเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ถือเป็นการปฏิบัติงานปกติประจำที่อยู่ในความ
รับผิดชอบโดยตรงของกรรมการผู้นั้น มิให้มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนกรรมการ
     3. หลักฐานการจ่ายค่าตอบแทนกรรมการให้เป็นไปตามที่กระทรวงการคลังกำหนด
(แนบท้ายหนังสือเวียน)
     4. ค่าตอบแทนที่นอกเหนือหรือแตกต่างจากที่กำหนดไว้ในหลักเกณฑ์นี้ ให้ขอ
ทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง
     5. หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น และมีฐานะ
เป็นกรมขึ้นไป อาจกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบริหารงบประมาณรายจ่ายเพื่อควบคุม
ค่าตอบแทนกรรมการได้ตามความจำเป็น ประหยัด และเหมาะสมภายใต้หลักเกณฑ์นี้
     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน 2556 เป็นต้นไป
   
ที่มา : หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0406.4/ว 132 ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2556