วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ค้นหาเลขประจำตัวผู้เสียภาษี 13 หลัก ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล


              เมื่อคราวที่แล้วได้นำเสนอการสืบค้นข้อมูลเลขประจำตัวผู้เสียภาษี 13 หลัก ของผู้ขาย
นิติบุคคล ซึ่งจดภาษีมูลค่าเพิ่ม ว่าให้ตรวจสอบได้ที่  http://www.rd.go.th/publish/313.0.html นั้น
วันนี้จะแนะนำอีกเว็บไซต์ที่สามารถสืบค้นข้อมูลเลขภาษีใหม่ของผู้ขายได้ทุกประเภท แต่ยังคงเป็น
เว็บไซต์ของสรรพากรเช่นเดิม แต่เปลี่ยนเป็น
http://tinreg.rd.go.th/findNID/FindingNIDMain_new.asp
         
               จะพบหน้าจอดังรูปที่ 1

 


รูปที่ 1  แสดงหน้าจอสืบค้นข้อมูล   (สามารถคลิกที่รูปเพื่อดูรูปขยายได้)

                   แล้วจึงเลือกค้นหาข้อมูล ตัวอย่างเช่น ต้องการค้นเลขภาษี 13 หลักของ ห้างหุ้นส่วนสามัญ 
สะอาดเซอร์วิส   เลขภาษี 10 หลัก คือ 2530010122



รูปที่ 2  แสดงตัวอย่างการระบุข้อมูลที่ต้องการค้นหา   (สามารถคลิกที่รูปเพื่อดูรูปขยายได้)



หมายเหตุ  การระบุชื่อ ไม่ต้องระบุทั้งหมด ควรระบุเพียงบางส่วน เพื่อความถูกต้อง
                        และสะดวกต่อการค้นหา

                ระบบจะแสดงผลการสืบค้น ดังรูป



รูปที่ 3  แสดงผลการสืบค้นข้อมูล   (สามารถคลิกที่รูปเพื่อดูรูปขยายได้)


                

มาตรการเร่งรัดติดตามการใช้จ่ายเงินปีงบประมาณ พ.ศ.2556

            มาตรการเร่งรัดติดตามการใช้จ่ายเงินปีงบประมาณ พ.ศ.2556 ในส่วนที่น่าสนใจที่จะนำเสนอ
ให้เจ้าหน้าที่พัสดุได้ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ ที่สำคัญ ๆ ประกอบด้วย
            1. การก่อหนี้งบลงทุน  ให้ก่อหนี้ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม 2556 หากไม่สามารถ
ดำเนินการได้ภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ให้ชี้แจงปัญหาอุปสรรคพร้อมเหตุผลความจำเป็น
ในการขอผ่อนผันต่อคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ
            2. ปีงบประมาณ พ.ศ.2556 กระทรวงการคลังไม่มีนโยบายให้กันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี
กรณีไม่มีหนี้ผูกพัน เงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีของงบประมาณ พ.ศ.2555 และเงินที่ได้รับอนุมัติ
ให้ขยายเวลาเบิกจ่ายเงินก่อนปีงบประมาณ 2555 ให้เร่งรัดการดำเนินงานและเบิกจ่าย
ให้แล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ พ.ศ.2556 เนื่องจากกระทรวงการคลังจะไม่ขยายเวลา
การเบิกจ่ายเงินดังกล่าวต่อไป
            3.  ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐที่ได้รับจัดสรรเงินงบประมาณ
ต้องดำเนินการบันทึกข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-GP) ระยะที่ 2
เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากระบบ e-GP ระยะที่ 2 ไปรับระบบ GFMIS Web Online
โดยถือปฏิบัติตามนัยหนังสือคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ ด่่วนที่สุด ที่ กค (กวพ) 0421.3/
ว 378 ลงวันที่ 24 กันยายน 2555 อย่างเคร่งครัด
           ทั้งนี้ ยังมีมาตรการอีกหลายมาตรการที่ถูกนำมาใช้ในการเร่งรัดติดตามการใช้จ่ายเงิน
ปีงบประมาณ พ.ศ.2556  ซึ่งสามารถอ่านได้ตามหนังสือของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ด่วนที่สุด ที่ นร 0506/ว 280 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2555 ค่ะ

ที่มา : หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร 0506/ว 280
          ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2555

อัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง ต้นปีงบประมาณ 2556

           ตามที่คณะรัฐมนตรึได้มีมติเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2555  เห็นชอบหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลาง
งานก่อสร้างที่ทบทวนและปรับปรุงใหม่  โดยในส่วนของหลักเกณฑ์การใช้ตาราง Factor F และแนวทาง
วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์กำหนดราคากลาง การคำนวณราคากลางก่อสร้าง ได้กำหนดให้
กระทรวงการคลัง (กรมบัญชีกลาง) กำหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ใช้เป็นเกณฑ์
ในการคำนวณราคากลางงานก่อสร้างทุกต้นปีงบประมาณ และระหว่างปีงบประมาณห
ากค่าเฉลี่ยของอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมประเภท MLR ของธนาคารขนาดใหญ่อย่างน้อย
3 ธนาคาร เปลี่ยนแปลงถึงร้อยละ 1
           กระทรวงการคลังจึงได้มีประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ใช้เป็นเกณฑ์
ในการคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง โดยกำหนดให้ใช้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ใช้เป็นเกณฑ์การคำนวณ
ราคากลางงานก่อสร้าง ณ ต้นปีงบประมาณ พ.ศ.2556 ที่อัตราร้อยละ 7 ต่อปี จนกว่าจะมีประกาศ
เปลี่ยนแปลง

ที่มา  :   หนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค 0421.5/ว 128  ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2555

วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ตัวชี้วัด 1.1 การเผยแพร่กฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการพัสดุ

         การเผยแพร่กฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการพัสดุ เป็นตัวชี้วัด 1.1  ในตัวชี้วัดทั้ง 6 ตัว ของมาตรฐานและตัวชี้วัดความโปร่งใสด้านการจัดหาพัสดุ (การจัดซื้อจัดจ้าง)  ตัวชี้วัดดังกล่าวพิจารณาจากการเผยแพร่กฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการพัสดุและการจัดหาพัสดุของหน่วยงาน ว่ามี หรือไม่มีการเผยแพร่ หรือไม่อย่างไร และพิจารณาจากช่องทางหรือความหลากหลายในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารนั้น ๆ
         เกณฑ์มาตรฐานการประเมิน เป็นแบบรายข้อ   ประกอบด้วย
         1.  มีการเผยแพร่กฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับ ณ ที่ทำการของหน่วยงาน
         2. มีการเผยแพร่กฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับ ณ ที่หน่วยงานอื่นในพื้นที่ใกล้เคียง
         3. มีการเผยแพร่กฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับ ผ่านสื่อเฉพาะกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น วิทยุชุมชน/หนังสือและจดหมายข่าวการจัดซื้อจัดจ้าง เป็นต้น
         4. มีการเผยแพร่กฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับ ทางเว็บไซต์ของหน่วยงาน
         5. มีการเผยแพร่กฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับ ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ
          จากเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น เกณฑ์ในข้อ 2 และ ข้อ 5 อาจจะไม่มีหน่วยงานใดได้ทำ เนื่องจากการเผยแพร่กฎหมาย ระเบียบ เป็นเรื่องที่ส่วนกลางเป็นผู้บังคับให้หน่วยงานเป็นผู้ปฏิบัติ ทุกหน่วยงานจึงได้รับข้อมูล การนำไปเผยแพร่ ณ ที่หน่วยงานอื่นในพื้นที่ใกล้เคียง หรือที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ จึงอาจไม่สามารถวัดความโปร่งใสด้านการจัดหาได้ อีกทั้งประโยชน์ที่ได้ก็ไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายที่เสียไป และสำหรับเรื่องข้อบังคับ ก็เช่นกัน มักเป็นเรื่องเฉพาะหน่วยงาน ดังนั้นการเผยแพร่ ณ ที่หน่วยงานอื่นในพื้่นที่ใกล้เคียง หรือ ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ จึงอาจไม่เกิดประโยชน์ในด้านวัดความโปร่งใสด้านการจัดหาพัสดุ