วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2559
การกำหนดค่่าน้ำหนัก การพิจาณาโดยใช้เกณฑ์ Price Performance
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการจัดหาพัสดุด้วยวิธี
ตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Market : e - market) และด้วยวิธีประกวดราคา
อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Bidding : e - bidding) ข้อ 32 การกำหนดหลักเกณฑ์
ที่ใช้ในการพิจารณาผู้ชนะ โดยใช้หลักเกณฑ์การประเมินค่าประสิทธิภาพต่อราคา
มีขั้นตอนดังนี้
1. พิจารณาตัวเลือกตัวแปรหลักดังต่อไปนี้ อย่างน้อย 2 ตัวแปรหลัก สำหรับ
ใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินค่าประสิทธิภาพต่อราคา ได้แก่
(ก) ราคาที่เสนอราคา (Price) เป็นตัวหลักประเภทบังคับ
(ข) ผลกาประเมินผู้ค้าภาครัฐ (Grading) เป็นตัวหลักประเภทไม่บังคับ
(ค) คุณภาพและคุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ต่อทางราชการ เป็นตัวแปรหลัก
ประเภทไม่บังคับ ได้แก่ คุณภาพของสินค้า มาตรฐานของสินค้า ต้นทุนของพัสดุนั้น
ตลอดอายุการใช้งาน บริการหลังการขาย และประโยชน์ระยะยาวที่จะเกิดขึ้นแก่
ส่วนราชการ
(ง) การเสนอพัสดุที่เป็นกิจการที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุนเป็น
ตัวแปรประเภทไม่บังคับ
ให้ส่วนราชการพิจารณาเลือกใช้ตัวแปรหลักตาม (ก) - (ง) มากำหนดเป็นเกณฑ์
ในการประเมินค่าประสิทธิภาพต่อราคา โดยส่วนราชการอาจเลือกใชตัวแปรประเภทบังคับ
ตาม (ก) และตัวแปรประเภทไม่บังคับตาม (ข) - (ง) หรือท้ั้งหมดก็ได้
2. หลังจ่กที่ได้กำหนดตัวแปรหลักแล้ว ให้พิจารณาน้ำหนักของตัวแปรหลักแต่ละ
ตัวแปร โดยกำหนดให้นัำหนักของตัวแปรรวมทั้งหมดเท่ากับ 100 ในการพิจารณาน้ำหนัก
ของตัวแปร ให้คำนึงถึงความเหมาะสม และประโยชน์ของทางราชการเป็นหลัก
นอกจากนี้แล้ว กรมบัญชีกลางได้ตอบข้อซักถามเกี่ยวกับการกำหนดเกณฑ์ไว้ว่า
การพิจารณากำหนดน้ำหนักตัวแปร ไม่จำเป็นต้องให้น้ำหนักตัวแปรราคามากกว่าตัวแปรอื่น
เสมอไป ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับพัสดุที่จัดหาว่ามีความซับซ้อน และมีความจำเป็นต้องคำนึงถึงคุณสมบัติ
ทางเทคนิคมากน้อยเพียงใด หากซับซ้อนมาก การกำหนดน้ำหนักให้กับตัวแปรอื่นที่ไม่ใช่
ตัวแปรราคา ควรกำหนดไม่เกินร้อยละ 60 ในกรณีซับซ้อนปานกลางและคำนึงถึงคุณสมบัติ
ทางเทคนิคน้อย อาจกำหนดน้ำหนักให้กับตัวแปรอื่นที่ไม่ใช่ตัวแปรราคาลดลงตามความ
เหมาะสม เช่น ไม่เกินร้อยละ 50 เป็นต้น
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น