คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐได้มีหนังสือ
ด่วนที่สุด ที่ กค (กวจ) 0405.2/ว259 ลงวันที่ 4 มิถุนายน 2561 เพื่อซ้อมความเข้าใจนิยาม
ความหมาย "งานก่อสร้าง" ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ.2560 ว่าหมายถึง
1. การซ่อมแซม หมายถึง การซ่อม การดำเนินการ และหรือการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบ
อันเป็นโครงสร้างของสิ่งก่อสร้าง หรือสิ่งก่อสร้างทั้งหมด หรือบางส่วน ให้คงสภาพ และหรือ
ใช้งานได้ตามปกติดังเดิม
2. การปรับปรุง หมายถึง การแก้ไข การกระทำ และหรือการดำเนินการอื่นใด อันเป็น
โครงสร้างของสิ่งก่อสร้าง หรือสิ่งก่อสร้างทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งได้ก่อสร้างไว้แล้วให้มีสภาพ
ที่ดียิ่งขึ้น
3. การต่อเติม หมายถึง การดัดแปลง เปลี่ยนแปลง เพื่อเพิ่มเติม หรือขยาย ซึ่งลักษณะ
ขอบเขต แบบ รูปทรง สัดส่วน น้ำหนัก เนื้อที่ อันเป็นโครงสร้างของสิ่งก่อสร้าง หรือสิ่งก่อสร้าง
ทั้งหมด หรือบางส่วน ซึ่งได้ก่อสร้างไว้แล้วให้ผิดไปจากเดิม แต่มิใช่เป็นกรณีของการซ่อมแซม
4. การรื้อถอน หมายถึง การรื้อ หรือการดำเนินการอื่นใด เพื่อนำส่วนประกอบอันเป็น
โครงสร้างของสิ่งก่อสร้าง หรือสิ่งก่อสร้างทั้งหมด หรือบางส่วนออกไป
พร้อมทั้งยังมีหลักในการพิจารณาดังนี้
* การดำเนินการดังกล่าว ไม่มีผลกระทบต่อโครงสร้างหลัก หรือ ไม่มีผลกระทบต่อ
ความปลอดภัย หรือ ไม่มีความจำเป็นต้องมีการควบคุมดูแลการปฏิบัติงานตลอดระยะเวลา
ดำเนินการ สามารถดำเนินการจัดจ้างในลักษณะอื่นที่มิใช่งานก่อสร้างได้
* การดำเนินการดังกล่าว มีผลกระทบต่อโครงสร้างหลัก หรือ มีผลกระทบต่อความ
ปลอดภัย หรือ มีความจำเป็นต้องมีการควบคุมดูแลการปฏิบัติงานตลอดระยะเวลาดำเนินการ
จะต้องดำเนินการจัดจ้างในลักษณะงานก่อสร้าง
ที่มา 1. หนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
ด่วนที่สุด กค (กวจ) 0405.2/ว112 ลงวันที่ 5 มีนาคม 2561
2. หนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
ด่วนที่สุด กค (กวจ) 0405.2/ว259 ลงวันที่ 4 มิถุนายน 2561