คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐตอบข้อหารือเกี่ยวกับการการเลือกใช้วิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุจากต่างประเทศไว้ว่า
- หากมีความจำเป็นต้องจัดซื้อจัดจ้างพัสดุจากต่างประเทศ และพัสดุนั้นมีผู้ประกอบการซึ่งมีคุณสมบัติโดยตรงตามเงื่อนไขที่หน่วยงานกำหนดหลายราย ก็สามารถจัดซื้อซื้อจัดจ้างโดยวิธีคัดเลือก ตามมาตรา 56 วรรคหนึ่ง (1) (จ) โดยเชิญผู้ประกอบการไม่น้อยกว่า 3 ราย มายื่นข้อเสนอ เว้นแต่จะมีผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนดน้อยกว่า 3 ราย
- หากมีผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐกำหนดเพียงรายเดียว หรือไม่มีพัสดุอื่นที่ใช้ทดแทนได้ ให้หน่วยงานของรัฐเชิญผู้ประกอบการรายนั้นมาเจรจาต่อรองราคาตามมาตรา 56 วรรคหนึ่ง (2) (ค)
ที่มา : หนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
ที่ กค (กวจ) 0405.2/054703 ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2560
วันเสาร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2561
การจัดทำประกันอุบัติเหตุกลุ่มสำหรับนักศึกษา
คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ไดัมีหนังสือตอบข้อหารือแนวทางปฏิบัติในการจัดทำประกันอุบัติเหตุกลุ่มสำหรับนักศึกษา ว่า การจัดทำประกันอุบัติเหตุให้กับ
กลุ่มนักศึกษาถือเป็นการประกันภัย ประเภทประกันวินาศภัยตามกฎหมายที่ต้องดำเนินการภายใต้
พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบกับมาตรา 69 แห่งพระราช-
บัญญัติประกันวินาศภัยฯ กำหนดให้ การจัดทำกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยจะต้องเป็นไปตามแบบและข้อความที่นายทะเบียนได้ให้ความเห็นชอบ กรณีดังกล่าวจึงมิใช้การจัดซื้อจัดจ้างและ
การดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งพัสดุ ตามนัยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการ
บริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 และไม่ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการ
บริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 ดังนั้น หากเราจะมีการประกันภัยประเภทอื่นก็สามารถนำความตาม
หนังสือดังกล่าวนี้ไปอ้างอิงว่า เพราะเหตุใดจึงไม่ต้องดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามพระราชบัญญัติ
ที่มา : หนังสือ คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
ที่ กค (กวจ) 0405.2/055557 ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2560
กลุ่มนักศึกษาถือเป็นการประกันภัย ประเภทประกันวินาศภัยตามกฎหมายที่ต้องดำเนินการภายใต้
พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบกับมาตรา 69 แห่งพระราช-
บัญญัติประกันวินาศภัยฯ กำหนดให้ การจัดทำกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยจะต้องเป็นไปตามแบบและข้อความที่นายทะเบียนได้ให้ความเห็นชอบ กรณีดังกล่าวจึงมิใช้การจัดซื้อจัดจ้างและ
การดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งพัสดุ ตามนัยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการ
บริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 และไม่ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการ
บริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 ดังนั้น หากเราจะมีการประกันภัยประเภทอื่นก็สามารถนำความตาม
หนังสือดังกล่าวนี้ไปอ้างอิงว่า เพราะเหตุใดจึงไม่ต้องดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามพระราชบัญญัติ
ที่มา : หนังสือ คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
ที่ กค (กวจ) 0405.2/055557 ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2560
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)