คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐได้มีหนังสือ
ด่วนที่สุด ที่ กค (กวจ) 0405.2/ว259 ลงวันที่ 4 มิถุนายน 2561 เพื่อซ้อมความเข้าใจนิยาม
ความหมาย "งานก่อสร้าง" ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ.2560 ว่าหมายถึง
1. การซ่อมแซม หมายถึง การซ่อม การดำเนินการ และหรือการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบ
อันเป็นโครงสร้างของสิ่งก่อสร้าง หรือสิ่งก่อสร้างทั้งหมด หรือบางส่วน ให้คงสภาพ และหรือ
ใช้งานได้ตามปกติดังเดิม
2. การปรับปรุง หมายถึง การแก้ไข การกระทำ และหรือการดำเนินการอื่นใด อันเป็น
โครงสร้างของสิ่งก่อสร้าง หรือสิ่งก่อสร้างทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งได้ก่อสร้างไว้แล้วให้มีสภาพ
ที่ดียิ่งขึ้น
3. การต่อเติม หมายถึง การดัดแปลง เปลี่ยนแปลง เพื่อเพิ่มเติม หรือขยาย ซึ่งลักษณะ
ขอบเขต แบบ รูปทรง สัดส่วน น้ำหนัก เนื้อที่ อันเป็นโครงสร้างของสิ่งก่อสร้าง หรือสิ่งก่อสร้าง
ทั้งหมด หรือบางส่วน ซึ่งได้ก่อสร้างไว้แล้วให้ผิดไปจากเดิม แต่มิใช่เป็นกรณีของการซ่อมแซม
4. การรื้อถอน หมายถึง การรื้อ หรือการดำเนินการอื่นใด เพื่อนำส่วนประกอบอันเป็น
โครงสร้างของสิ่งก่อสร้าง หรือสิ่งก่อสร้างทั้งหมด หรือบางส่วนออกไป
พร้อมทั้งยังมีหลักในการพิจารณาดังนี้
* การดำเนินการดังกล่าว ไม่มีผลกระทบต่อโครงสร้างหลัก หรือ ไม่มีผลกระทบต่อ
ความปลอดภัย หรือ ไม่มีความจำเป็นต้องมีการควบคุมดูแลการปฏิบัติงานตลอดระยะเวลา
ดำเนินการ สามารถดำเนินการจัดจ้างในลักษณะอื่นที่มิใช่งานก่อสร้างได้
* การดำเนินการดังกล่าว มีผลกระทบต่อโครงสร้างหลัก หรือ มีผลกระทบต่อความ
ปลอดภัย หรือ มีความจำเป็นต้องมีการควบคุมดูแลการปฏิบัติงานตลอดระยะเวลาดำเนินการ
จะต้องดำเนินการจัดจ้างในลักษณะงานก่อสร้าง
ที่มา 1. หนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
ด่วนที่สุด กค (กวจ) 0405.2/ว112 ลงวันที่ 5 มีนาคม 2561
2. หนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
ด่วนที่สุด กค (กวจ) 0405.2/ว259 ลงวันที่ 4 มิถุนายน 2561
วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2561
วันอังคารที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2561
รายละเอียดสินค้าใน e-catalog
หากท่านต้องการตรวจสอบรายละเอียดของสินค้าใน e-catalog ที่กรมบัญชีกลาง
ได้จัดเตรียมไว้ให้ว่ามีคุณลักษณะตรงตามที่หน่วยงานต้องการหรือไม่ มีวิธีการที่จะ
แนะนำ ดังนี้
1. ไปที่เว็บไซต์ระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (www.gprocurement.go.th) แล้วดูที่
ด้านขวามือล่าง เพื่อหาเมนูดาวน์โหลดแนะนำ เลือกเมนูคู่มือ
5. เมื่อเลือกชื่อรายการสินค้าแล้ว จะพบรายละเอียดของสินค้าใน e-catalog
ได้จัดเตรียมไว้ให้ว่ามีคุณลักษณะตรงตามที่หน่วยงานต้องการหรือไม่ มีวิธีการที่จะ
แนะนำ ดังนี้
1. ไปที่เว็บไซต์ระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (www.gprocurement.go.th) แล้วดูที่
ด้านขวามือล่าง เพื่อหาเมนูดาวน์โหลดแนะนำ เลือกเมนูคู่มือ
2. เลือก รายการสินค้าในระบบ e-market
3. คลิกที่ข้อความคุณลักษณะของสินค้าในระบบ e-market เพื่อดาวน์โหลดเอกสาร
4. รูปแบบของรายละเอียดจะเป็นตาราง excel ซึ่งสามารถเลือกตามชื่อรายการที่ต้องการได้
5. เมื่อเลือกชื่อรายการสินค้าแล้ว จะพบรายละเอียดของสินค้าใน e-catalog
หากตรวจสอบแล้วว่ารายละเอียดสินค้าตรงกับรายละเอียดของสินค้าใน e-catalog และต้องการที่จะประกาศเชิญชวน ก็ให้ดำเนินการด้วยวิธี e-market แต่หากตรวจสอบแล้วพบว่า รายละเอียดสินค้า
แตกต่างจากรายละเอียดสินค้าตใน e-catalog ก็ให้ดำเนินการด้วยวิธี e-bidding นะคะ
วันเสาร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2561
การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุจากต่างประเทศ
คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐตอบข้อหารือเกี่ยวกับการการเลือกใช้วิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุจากต่างประเทศไว้ว่า
- หากมีความจำเป็นต้องจัดซื้อจัดจ้างพัสดุจากต่างประเทศ และพัสดุนั้นมีผู้ประกอบการซึ่งมีคุณสมบัติโดยตรงตามเงื่อนไขที่หน่วยงานกำหนดหลายราย ก็สามารถจัดซื้อซื้อจัดจ้างโดยวิธีคัดเลือก ตามมาตรา 56 วรรคหนึ่ง (1) (จ) โดยเชิญผู้ประกอบการไม่น้อยกว่า 3 ราย มายื่นข้อเสนอ เว้นแต่จะมีผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนดน้อยกว่า 3 ราย
- หากมีผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐกำหนดเพียงรายเดียว หรือไม่มีพัสดุอื่นที่ใช้ทดแทนได้ ให้หน่วยงานของรัฐเชิญผู้ประกอบการรายนั้นมาเจรจาต่อรองราคาตามมาตรา 56 วรรคหนึ่ง (2) (ค)
ที่มา : หนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
ที่ กค (กวจ) 0405.2/054703 ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2560
- หากมีความจำเป็นต้องจัดซื้อจัดจ้างพัสดุจากต่างประเทศ และพัสดุนั้นมีผู้ประกอบการซึ่งมีคุณสมบัติโดยตรงตามเงื่อนไขที่หน่วยงานกำหนดหลายราย ก็สามารถจัดซื้อซื้อจัดจ้างโดยวิธีคัดเลือก ตามมาตรา 56 วรรคหนึ่ง (1) (จ) โดยเชิญผู้ประกอบการไม่น้อยกว่า 3 ราย มายื่นข้อเสนอ เว้นแต่จะมีผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนดน้อยกว่า 3 ราย
- หากมีผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐกำหนดเพียงรายเดียว หรือไม่มีพัสดุอื่นที่ใช้ทดแทนได้ ให้หน่วยงานของรัฐเชิญผู้ประกอบการรายนั้นมาเจรจาต่อรองราคาตามมาตรา 56 วรรคหนึ่ง (2) (ค)
ที่มา : หนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
ที่ กค (กวจ) 0405.2/054703 ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2560
การจัดทำประกันอุบัติเหตุกลุ่มสำหรับนักศึกษา
คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ไดัมีหนังสือตอบข้อหารือแนวทางปฏิบัติในการจัดทำประกันอุบัติเหตุกลุ่มสำหรับนักศึกษา ว่า การจัดทำประกันอุบัติเหตุให้กับ
กลุ่มนักศึกษาถือเป็นการประกันภัย ประเภทประกันวินาศภัยตามกฎหมายที่ต้องดำเนินการภายใต้
พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบกับมาตรา 69 แห่งพระราช-
บัญญัติประกันวินาศภัยฯ กำหนดให้ การจัดทำกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยจะต้องเป็นไปตามแบบและข้อความที่นายทะเบียนได้ให้ความเห็นชอบ กรณีดังกล่าวจึงมิใช้การจัดซื้อจัดจ้างและ
การดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งพัสดุ ตามนัยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการ
บริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 และไม่ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการ
บริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 ดังนั้น หากเราจะมีการประกันภัยประเภทอื่นก็สามารถนำความตาม
หนังสือดังกล่าวนี้ไปอ้างอิงว่า เพราะเหตุใดจึงไม่ต้องดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามพระราชบัญญัติ
ที่มา : หนังสือ คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
ที่ กค (กวจ) 0405.2/055557 ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2560
กลุ่มนักศึกษาถือเป็นการประกันภัย ประเภทประกันวินาศภัยตามกฎหมายที่ต้องดำเนินการภายใต้
พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบกับมาตรา 69 แห่งพระราช-
บัญญัติประกันวินาศภัยฯ กำหนดให้ การจัดทำกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยจะต้องเป็นไปตามแบบและข้อความที่นายทะเบียนได้ให้ความเห็นชอบ กรณีดังกล่าวจึงมิใช้การจัดซื้อจัดจ้างและ
การดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งพัสดุ ตามนัยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการ
บริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 และไม่ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการ
บริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 ดังนั้น หากเราจะมีการประกันภัยประเภทอื่นก็สามารถนำความตาม
หนังสือดังกล่าวนี้ไปอ้างอิงว่า เพราะเหตุใดจึงไม่ต้องดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามพระราชบัญญัติ
ที่มา : หนังสือ คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
ที่ กค (กวจ) 0405.2/055557 ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2560
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)