วันอาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

รวม VDO เกี่ยวกับ ว.89



















การตรวจสอบประกันคอมพิวเตอร์

 กรณีการจัดซื้อครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์หรือการแพทย์แล้วมีเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ประกอบ 

ซึ่งผู้แทนจำหน่ายครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์มักจะระบุยี่ห้อ/รุ่นมาไม่ถูกต้อง เราควรที่จะมีทักษะในการพิจารณา

โดยการตรวจสอบจากหมายเลขเครื่องของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ผู้ขายนำมาส่งมอบ  ซึ่งจะทำให้เราได้ยี่ห้อ

รุ่น ที่ถูกต้อง อีกทั้ง ยังสามารถทราบระยะเวลาการรับประกันของเครื่องคอมพิวเตอร์อีกด้วย 

Acer
https://register.acer.co.th/WarrantyCheck/warr_chk.aspx
Dell
https://www.dell.com/support/home/en-th?app=warranty
HP
https://support.hp.com/th-th/checkwarranty
Lenovo
https://pcsupport.lenovo.com/th/th/warrantylookup#/

วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2562

การกำหนดคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอและการกำหนดผลงาน

          คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซืัอจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ได้มีหนังสือด่วนที่สุด
ที่ กค (กวจ) 0405.2/ว521 ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2562 กำหนดแนวปฏิบัติในการกำหนดคุณสมบัติของ
ผู้ยื่นข้อเสนอ และการกำหนดผลงาน เพื่อให้ส่วนราชการถือปฏิบัติดังนี้
          1.  งานก่อสร้าง
              1.1  การจัดจัดจ้างด้วยวิธีสอบราคา วิธีคัดเลือก หรือวิธีเฉพาะเจาะจง ให้กำหนดคุณสมบัติ
ของผู้ยื่นข้อเสนอตามแบบประกาศและแบบเอกสารประกวดราคาจ้างก่อสร้างด้วยวิธีประกวดราคา
อิเล็กทรอนิกส์ โดยอนุโลม
              1.2  การจ้างก่อสร้างที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000,000 บาทขึ้นไป ให้กำหนดว่าต้องเป็นนิติบุคคล
ตามกฎหมาย
              1.3  ห้ามกำหนดเงื่อนไขในเรื่องต่อไปนี้
                     1.3.1  จะต้องเป็นนิติบุคคลที่มีผลประกอบการเป็นกำไร
                     1.3.2  จะต้องยื่นใบอนุญาตประกอบวิชาชีพมาแสดงตั้งแต่ขณะเข้าเสนอราคา
                     1.3.1  จะต้องเป็นตัวแทนจำหน่ายและจะต้องมีหนังสือแต่งตั้งตัวแทนจำหน่าย หรือ
จะต้องมีหนังสือรับรองอะไหล่ เป็นต้น ไม่ว่าจะกำหนดไว้ในแบบรูปรายการและรายการละเอียด
หรือเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องขณะเข้าเสนอราคา
              1.4  กำหนดผลงานได้ไม่เกินร้อยละ 50 ของวงเงินงบประมาณ หรือวงเงินที่ประมาณการ
ที่จะจ้างก่อสร้างในครั้งนั้น และเป็นผลงานการก่อสร้างประเภทเดียวกันกับงานที่จะดำเนินการ
จัดจ้างก่อสร้าง ต้องเป็นผลงานในสัญญาเดียวเท่านั้น และเป็นผลงานที่แล้วเสร็จ ซึ่งได้มีการ
ส่งมอบงานและตรวจรับเรียบร้อยแล้ว ห้ามมิให้กำหนดเงื่อนไขอย่างอื่นที่มีลักษณะเป็นการกีดกัน
การเข้าเสนอราคาอย่างเป็นธรรมด้วย
          2.  งานซื้อหรืองานจ้างที่มิใช่ก่อสร้าง
              2.1  ห้ามมิให้กำหนดคุณลักษณะเฉพาะใกล้เคียงกับยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่ง หรือของผู้ขายรายใด
รายหนึ่งโดยเฉพาะ เว้นแต่ มีวัตถุประสงค์ความจำเป็นต้องใช้ และเห็นว่ามีลักษณะของการใช้งาน
หรือมีข้อจำกัดทางเทคนิคที่จำเป็นต้องระบุยี่ห้อเป็นการเฉพาะ
              2.2  ห้ามมิให้กำหนดเจาะจงแห่งประเทศผู้ผลิตหรือทวีป เช่น ต้องเป็นพัสดุที่ผลิตจาก
ทวีปอเมริกา หรือทวีปยุโรป หรือต้องเป็นสินค้าที่ผลิตจากประเทศเยอรมัน ประเทศญี่ปุ่น ประเทศ
เกาหลี เป็นต้น
              2.3  การกำหนดเงื่อนไขในการยื่นหนังสือแต่งตั้งตัวแทนจำหน่าย ให้กำหนดว่า ต้องได้รับ
การแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจำหน่ายจากผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย โดยให้ยื่นขณะ
เข้าเสนอราคา
              2.4  หากจำเป็นต้องกำหนดผลงาน ให้กำหนดผลงานได้ไม่เกินร้อยละ 50 ของวงเงิน
งบประมาณที่จะจัดซื้อจัดจ้างในครั้งนั้น

ที่มา : หนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
          ด่วนที่สุด
ที่ กค (กวจ) 0405.2/ว521 ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2562

วันอังคารที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2562

การประกาศผลผู้ชนุการจัดซื้อจัดจ้างและสาระสำคัญสัญญา กรณีที่ไม่ได้ดำเนินการในระบบ e-gp

       ตามที่พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 มาตรา 66 วรรคหนึ่ง  กำหนดให้ "หน่วยงานของรัฐประกาศผลผู้ชนะการจัดซื้อจัดจ้างหรือผู้ได้รับการคัดเลือกและเหตุผลสนับสนุนในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางและหน่วยงานของรัฐตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด และให้ปิดประกาศโดยเปิดเผย ณ สถานที่ปิดประกาศของหน่วยงานของรัฐนั้น" และ
มาตรา 98 กำหนดให้ "ให้หน่วยงานของรัฐประกาศเผยแพร่สาระสำคัญของสัญญาหรือข้อตกลง
ที่ได้ลงนามแล้ว รวมทั้งการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาหรือข้อตกลงในระบบเครือข่ายสารสนเทศ
ของกรมบัญชีกลาง และของหน่วยงานของรัฐ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด"
แต่เนื่องจาก กรมบัญชีกลางได้กำหนดแนวทางการปฏิบัติในการดำเนินการจัดซืัอจัดจ้างผ่านระบบ
e-GP ไม่ต้องดำเนินการผ่านระบบ e-gp กรณี การจัดซื้อจัดจ้างของส่วนราชการที่มีวงเงินต่ำกว่า
5,000 บาท, กรณีรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน องค์กรอิสระ องค์กรตามรัฐธรรมนูญ หน่วยธุรการ
ของศาล มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หน่วยงานสังกัดรัฐสภาหรือในกำกับของรัฐสภา หน่วยงานอิสระของรัฐ และหน่วยงานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ที่มีการจัดซื้อจัดจ้างไม่เกิน 100,000 บาท,
การจ้างเหมาบุคลธรรมดา และการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงไม่ถึง 10,000 ลิตร และไม่มีภาชนะจัดเก็บ
       ดังนั้น กรมบัญชีกลางจึงมีหนังสือด่วนที่สุด ที่ กค 0405.2/ว62 ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2562
กำหนดแนวทางการประกาศผลผู้ชนะการจัดซื้อจัดจ้างหรือผู้ได้รับการคัดเลือก และสาระสำคัญ
ของสัญญา หรือข้อตกลงเป็นหนังสือ กรณีที่ไม่ได้ดำเนินการในระบบ e-GP  โดยให้หน่วยงานของรัฐ
จัดทำแบบประกาศผลผู้ชนะการจัดซื้อจัดจ้างหรือผู้ได้รับการคัดเลือก และสาระสำคัญของสัญญา
หรือข้อตกลงเป็นหนังสือ ภายใน 30 วัน นับแต่วันสุดท้ายของแต่ละไตรมาส โดยให้จัดทำในรูปแบบ
ไฟล์เอกสารประเภท PDF FILE (Portable Document Format) แล้วจึงส่งข้อมูล (Upload) ผ่านทาง
ระบบ e-GP เพื่อขึ้นประกาศในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรบัญชีกลาง




ที่มา : หนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0405.2/ว62  ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2562

วันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2562

การร่วมจัดทำหนังสือที่ระลึกเพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษา

        คณะอนุกรรมการฝ่ายจัดทำหนังสือที่ระลึกและจดหมายเหตุงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
ได้แจ้งเวียนหลักเกณฑ์กรณีหน่วยงานต่างๆ มีความประสงค์จะร่วมจัดทำหนังสือที่ระลึกเพื่อ
ร่วมเฉลิมพระเกียรติในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษกไว้ดังนี้
        1. วัตถุประสงค์/เป้าหมายของการจัดทำหนังสือที่ระลึก (1) เพื่อเฉลิมพระเกียรติในโอกาส
มหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก หรือ (2) เพื่อเป็นการน้อมนำพระราชปณิธาน พระราชดำริ
พระบรมราโชวาท พระราชกรณียกิจ หรือโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในการบำบัดทุกข์
และบำรุงสุขให้แก่ประชาชน และพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้า
        2. ลักษณะเนื้อหา (1) เกี่ยวข้องกับพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ พระราชดำริของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือ (2) เป็นหนังสือเก่าที่มีคุณค่าหายาก หรือ (3) หนังสือ
กวีนิพนธ์เฉลิมพระเกียรติ
        3. ลักษณะการพิมพ์ (1) การกำหนดชื่อหนังสือ แบบปก ภาพประกอบ ต้องเหมะสมกับ
การเฉลิมพระเกียรติ  (2) ต้องไม่เป็นเพื่อการประชาสัมพันธ์องค์กร หรือผู้สนับสนุนการจัดพิมพ์
(3) ขนาดและจำนวนพิมพ์ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของหน่วยงานเจ้าของหนังสือ
        4. การเผยแพร่ (1) หน่วยงานเจ้าของหนังสือต้องเป็นผู้แจกจ่ายเผยแพร่ ห้ามจำหน่าย
(2) ต้องส่งมอบหนังสือที่จัดทำให้แก่สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร ไม่น้อยกว่า
10 เล่ม/ชุด ต่อเรื่อง
        5. การเสนอขอจัดทำหนังสือที่ระลึก (1) ให้มีหนังสือแจ้งความประสงค์พร้อมแบบสรุป
การขอจัดทำหนังสือที่ระลึกไปยัง "ฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการฝ่ายจัดทำหนังสือที่ระลึก
และจดหมายเหตุพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร"
(2) หน่วยงานของรัฐ ให้ผ่านการพิจารณาจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม หรือเทียบเท่า
ขึ้นไป (3) หน่วยงานภาคเอกชน ให้ผ่านการพิจารณาจากหัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร (4)
หากประสงค์จะนำตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษกไปใช้พิมพ์ในหนังสือ ให้แจ้ง
ขออนุญาตใช้ตราสัญลักษณ์ไปยังคณะอนุกรรมการฝ่ายกลั่นกรองการขอใช้ตราสัญลักษณ์
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
        6. ระยะเวลาดำเนินการ ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม 2563
หากมีความจำเป็นที่จะต้องแล้วเสร็จหลังเดือนพฤษภาคม 2563 ให้แจ้งเหตุผลประกอบ
ต่อสำนักจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร
        7. งบประมาณ เป็นงบประมาณของหน่วยงานเจ้าของหนังสือ หรือจากการสนับสนุน
ของหน่วยงานอื่นๆ ด้ายก็ได้
        8. กำหนดส่งคำขอจัดทำหนังสือที่ระลึก ภายในวันที่ 22 เมษายน 2562่
        ดังนั้น หากหน่วยงานใดที่การจัดซื้อจัดจ้าง ก็ควรนำข้อมูลเหล่านี้ไปประกอบการจัดซื้อ
จัดจ้างด้วยนะคะ

ที่มา :  หนังสือคณะอนุกรรมการฝ่ายจัดทำหนังสือที่ระลึกและจดหมายเหตุ
            งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ด่วนที่สุด ที่ วธ 0204/627 ลงวันที่ 5 เมษายน 2562

 



วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2562

พระราชบัญญัติ ที่ราชพัสด พ.ศ.2562

   วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2562 ได้มีประกาศพระราชบัญญัติ ที่ราชพัสดุ พ.ศ.2562
โดยบังคับใช้เพื่อพ้น 120 วัน นับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ที่มา  ราชกิจจานุเบิกษา เล่ม 136  ตอนที่ 28 ก