วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (ฉลากเขียว)

   ตามที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ (กวพ) เห็นควรให้การสนับสนุนสินค้า
ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  โดยเฉพาะสินค้าที่ได้รับ "ฉลากเขียว" ซึ่งเป็นสินค้า
ที่มีคุณภาพ และกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับ
ผลิตภัณฑ์ที่ทำหน้าที่อย่างเดียวกัน  โดยที่คุณภาพยังอยู่ในระดับมาตรฐาน
ที่กำหนด และผ่านการประเมินมาตรฐานทางด้านสิ่งแวดล้อมตามข้อกำหนด
และเห็นควรให้มีการสนับสนุนให้ส่วนราชการภายใต้บังคับระเบียบสำนัก-
นายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 จัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการ
ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในส่วนของสินค้าฉลากเขียวตามคู่มือ
การจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของกรมควบคุม
มลพิษ นั้น
    กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
จัดทำเกณฑ์ข้อกำหนดสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไว้ 17 รายการ
ซึ่งแบ่งออกเป็น สินค้า จำนวน 14 รายการ และ บริการ 3 รายการ ดังนี้
     1. กระดาษคอมพิวเตอร์ กระดาษสีทำปก
     2. กระดาษชำระ
     3. กล่องใส่เอกสาร
     4. เครื่องถ่ายเอกสาร
     5. เครื่องพิมพ์
     6. เครื่องเรือนเหล็ก
     7. ซองบรรจุภัณฑ์
     8. ตลับหมึก
     9. แบตเตอรี่ปฐมภูมิ
   10. ปากกาไวท์บอร์ด
   11. ผลิตภัณฑ์ลบคำผิด
   12. แฟ้มเอกสาร
   13. สีทาอาคาร
   14. หลอดฟลูออเรสเซนต์
   15. บริการทำความสะอาด
   16. บริการโรงแรม
   17. บริการเช่าเครื่องถ่ายเอกสาร

ที่มา  :  1. คู่มือการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตร
                กับสิ่งแวดล้อมของกรมควบคุมมลพิษ
             2. หนังสือ ที่ กค (กวพ) 0421.3/ว181 ลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2556

วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ค่าครุภัณฑ์ที่มีวงเงินต่อชุดไม่เกิน 5,000 บาท

   สำนักงบประมาณได้มีหนังสือเขียนซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้จ่าย
งบประมาณรายจ่ายสำหรับค่าวัสดุ ค่าครุภัณฑ์ หรือค่าสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะ
คงทนถาวร และใช้เกณฑ์ราคาในการกำหนดงบรายจ่ายสำหรับค่าวัสดุที่มีวงเงิน
ต่อหน่วยหรือต่อชุดไม่เกิน 5,000 บาท ค่าครุภัณฑ์ที่มีวงเงินต่อหน่วยหรือต่อชุด
เกินกว่า 5,000 บาท และค่าสิ่งก่อสร้างที่มีวงเงินต่อหน่วยเกินกว่า 50,000 บาท
    โดยได้ซ้อมความเข้าใจในกรณีที่เมื่อผลการจัดซื้อจัดจ้างยุติแล้วมีผลทำให้
งบรายจ่ายของรายการงบประมาณรายจ่ายเปลี่ยนแปลงไปจากงบรายจ่ายที่ได้รับ
การจัดสรรงบประมาณไว้เดิม เช่น
   1.  ได้ัรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบลงทุน มีราคาต่อหน่วย 5,500 บาท
แต่ผลการจัดหาได้ วงเงิน 4,900 บาท ซึ่งจัดเป็นค่าวัสดุ ก็ให้โอนเปลี่ยนแปลง
งบประมาณรายจ่ายไปตั้งจ่ายในงบดำเนินงาน ลักษณะค่าวัสดุ
   2.  ได้ัรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบดำเนินงาน ลักษณะค่าวัสดุ
เป็นการจัดหาสิ่งของที่มีลักษณะคงทนถาวร มีราคาต่อหน่วย 2,900 บาท
แต่ผลการจัดหาได้ วงเงิน 5,500 บาท ซึ่งจัดเป็นค่าครุภัณฑ์ ก็ให้โอน
เปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่ายไปตั้งจ่ายในงบลงทุน ลักษณะค่าครุภัณฑ์



ที่มา : หนังสือสำนักงบประมาณ ที่ นร 0704/ว49 ลงวันที่ 23 เมษายน 2555

ค่าวัสดุกับค่าซ่อมแซมบำรุงรักษาทรัพย์สิน

   การจำแนกประเภทรายจ่ายตามงบประมาณ ตามหนังสือเวียนสำนักงบประมาณ
ที่ นร 0704/ว33 ลงวันที่ 18 มกราคม 2553 ได้ให้ความหมายของคำว่า ค่าใช้สอย
หมายถึง รายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งบริการ และรายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งบริการตาม
(11) ค่าซ่อมแซมบำรุงรักษาทรัพย์สิน เพื่อให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ  รวมถึง
ได้กำหนดด้วยว่า กรณีเป็นการจ้างเหมาทั้งสิ่งของและค่าแรงให้จ่ายจาก ค่าใช้สอย
ค่าวัสดุ หมายถึง รายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งของ โดยสภาพมีลักษณะเมื่อใช้แล้ว
ย่อมสิ้นเปลือง หมดไป แปรสภาพ หรือไม่คงสภาพเดิม และให้หมาความรวมถึง
รายจ่าย (5) รายจ่ายเพื่อซ่อมแซมบำรุงรักษาทรัพย์สินให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ
แต่ไม่รวมถึงค่าจัดหาเครื่องยนต์ใหม่เพื่อใช้ในการซ่อมแซมรถยนต์ เมื่อพิจารณาแล้ว
จะเห็นได้ว่า เป็นรายจ่ายเพื่อการซ่อมแซมและบำรุงรักษาทรัพย์สินเหมือนกัน
เพียงแต่เบิกจ่ายต่างหมวดรายจ่ายกัน และยากต่อการพิจารณาว่าจะต้องอยู่ใน
หมวดใด
     ทั้งนี้ ในหนังสือเวียนดังกล่าว ได้กำหนดว่า กรณีที่ส่วนราชการเป็นผู้ดำเนินการ
ซ่อมแซมบำรุงรักษาทรัพย์สินเอง ให้ปฏิบัติดังนี้
     1. ค่าจ้างเหมาแรงงานของบุคคลภายนอก ให้จ่ายจาก ค่าใช้สอย
     2. ค่าสิ่งของที่ส่วนราชการซื้อมาใช้ในการซ่อมแซมบำรุงรักษาทรัพย์สิน
ให้จ่ายจาก ค่าวัสดุ
     เพื่อประกอบการทำความเข้าใจ ผู้เขียนขอนำข้อคำถามที่ได้มีผู้สอบถาม
ไปยังสำนักงบประมาณถึงความหมายและความแตกต่างของ ค่าใช้สอยและ
ค่าวัสดุ รวมถึงได้สอบถามถึงการซ่อมแซมซึ่งรวมแบตเตอรี่ซึ่งเป็นวัสดุ
อยู่ในรายการซ่อมแซมด้วย
      สำนักงบประมาณได้ให้คำตอบว่า การซ่อมแซมบำรุงรักษาทรัพย์สิน
เพื่อให้สามารถใช้งานได้ตามปกติมีอยู่ 2 กรณี คือ กรณีที่มีแต่ค่าแรงงาน
และกรณีที่มีทั้งค่าแรงงานและค่าสิ่งของ การเบิกจ่ายในหมวดค่าวัสดุ
จะเป็นกรณีส่วนราชการซื้อวัสดุมาซ่อมโดยไม่รวมค่าแรง ดังนั้น หากซื้อ
แบตเตอรี่มาเพื่อซ่อม ก็ให้เบิกในหมวดค่าวัสดุ แต่หากจ้างซ่อมแล้วมีการ
ใส่แบตเตอรี่ด้วย ก็ให้เบิกจ่ายจากค่าใช้สอย โดยไม่ต้องแยกการเบิกจ่าย

 
    แต่หากว่า แบตเตอรี่ที่ต้องการซื้อมาเพื่อซ่อม มีราคาเกินกว่า 5,000 บาท
ซึ่งจะต้องเข้าข่ายที่จะต้องเบิกจ่ายในหมวดค่าครุภัณฑ์ตามหลักการจำแนก
ประเภทรายจ่ายแล้ว ก็จะมีประเด็นที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติม
   สำนักงบประมาณเคยมีการให้ข้อคำตอบไว้ว่า การจัดหาแบตเตอรี่ ก็เพื่อ
ซ่อมแซมให้ใช้งานได้ถือเป็นการซ่อมแซมบำรุงรักษาสินทรัพย์ให้ใช้งาน
ได้ตามปกติ เนื่องจากแบตเตอรี่เป็นส่วนประกอบของรถยนต์จึงจัดเป็นค่าวัสดุ
 
 
   



วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แนวทางปฏิบัติในการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อใช้ในการปฏิบัติราชการตามภารกิจของหน่วยงาน

     แนวทางการปฏิบัติในการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อใช้ในการปฏิบัติราชการ
ตามภารกิจของหน่วยงาน ตามหนังสือคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ ด่วนที่สุด
ที่ กค (กวพ) 0421.3/ว462  ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2555  ใช้บังคับสำหรับ
การจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงของส่วนราชการเพื่อใช้ในการปฏิบัติภารกิจของ
หน่วยงาน โดยครอบคลุมรถราชการ และยานพาหนะอย่างอื่น รวมถึงอุปกรณ์
เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องจักรกล ครุภัณฑ์ หรือสิ่งอื่นใดที่ส่วนราชการ
มีไว้เพื่อใช้ในการปฏิบัติภารกิจ ซึ่งจำเป็นต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิง
      โดยแยกเป็น 2 กรณี คือ 1. กรณีการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงไม่ถึง 10,000 ลิตร
และ 2. กรณีการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงตั้งแต่ 10,000 ลิตรขึ้นไป  ซึ่งกรณีที่ 2
ให้จัดซื้อจาก บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) หรือคลังน้ำมัน หรือสถานีบริการ
จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยตรง โดยวิธี
กรณีพิเศษ
      สำหรับขั้นตอนหลัก ๆ ของการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงไม่ถึง 10,000 ลิตร
กรณีส่วนราชการไม่มีภาชนะที่ใช้สำหรับเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง ประกอบไปด้วย
1. การจัดทำรายงานขอซื้อน้ำมันเชื้อเพลิง 2. ดำเนินการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิง
และ 3. การจัดทำทะเบียนควบคุมการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิง
     แต่หากส่วนราชการมีภาชนะที่ใช้สำหรับเก็บรักษา จะประกอบด้วยขั้นตอน
1. การจัดทำรายงานขอซื้อน้ำมันเชื้อเพลิง 2. ดำเนินการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิง
3. การตรวจรับน้ำมันเชื้อเพลิง  4. การควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง

ที่มา :  หนังสือด่วนที่สุด ที่ กค (กวพ) 0421.3/ว462  ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555

การซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่(มือถือ)สำหรับใช้ในราชการ

   หากส่วนราชการต้องการที่จะซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่ไว้ใช้ในราชการ
สำนักงบประมาณได้ให้แนวไว้ว่า
        ให้อยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้าส่วนราชการที่จะพิจารณาตามความจำเป็น
และเหมาะสม ตามลักษณะงานในตำแหน่งหน้าที่นั้น ๆ ว่ามีความจำเป็นที่จะต้อง
ใช้ติดต่ออย่างไร จำนวนเท่าไร เพื่อประโยชน์แก่ทางราชการและไม่ทำให้ราชการ
เสียประโยชน์ รวมทั้งไม่เป็นภาระกับงบประมาณของส่วนราชการ ภายในวงเงิน
งบประมาณที่ได้รับการจัดสรร และการจัดซื้อต้องดำเนินการตามระเบียบ
สำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ด้วย


ครุภัณฑ์นอกมาตรฐานบัญชีราคามาตรฐานครุภัณฑ์ของสำนักงบประมาณ

     ในกรณีที่จะตั้งงบประมาณในการจัดซื้อจัดจ้าง หรือกรณีที่ต้องการจะกำหนด
รายละเอียดของครุภัณฑ์ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง สิ่งที่ควรพิจารณาขั้นต้นคือ
รายการดังกล่าวเป็นพัสดุที่อยู่ในบัญชีราคามาตรฐานครุภัณฑ์ของสำนักงบประมาณ
หรือไม่ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ของสำนักงบประมาณ (www.bb.go.th)
แต่หากรายการดังกล่าวมีชื่ออยู่ในบัญชีราคามาตรฐานครุภัณฑ์แต่คุณสมบัติต่ำกว่า
หรือไม่มีรายการอยู่ในบัญชีราคามาตรฐานล่ะ
      ตัวอย่างกรณีครุภัณฑ์ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
      ได้มีหน่วยงานสอบถามการจัดซื้อตู้เย็นขนาด 4.9 คิว ราคา 6,000 บาท
    


   ตัวอย่างกรณีไม่มีรายการอยู่ในบัญชีมาตรฐาน
   หน่วยงานต้องการจัดซื้อไม่ชักฟิวส์ และถุงมือยาง





       จะสังเกตได้ว่า สำนักงบประมาณจะให้คำตอบในลักษณะเดียวกันว่า เป็นรายการ
ที่สำนักงบประมาณมิได้กำหนดคุณลักษณะเฉพาะและราคาไว้ในบัญชีราคามาตรฐาน
ครุภัณฑ์ของสำนักงบประมาณ อาจเป็นรายการวัสดุกรณีที่มีราคาจัดหาต่อหน่วย
หรือต่อชุด ไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท หรือเป็นรายการครุภัณฑ์กรณีที่มีราคาจัดหาต่อหน่วย
หรือต่อชุด เกินกว่า ๕,๐๐๐ บาทแล้วแต่กรณี ตามหลักการจำแนกประเภทรายจ่าย
ตามงบประมาณ แจ้งตามหนังสือสำนักงบประมาณ ที่ นร ๐๗๐๔/ว ๓๓ ลงวันที่ 
๑๘ มกราคม ๒๕๕๓ ดังนั้น หากมีความจำเป็นต้องจัดหารายการดังกล่าว ก็ให้
ดำเนินการกำหนดรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะ โดยคำนึงถึงความจำเป็นและเหมาะสม
กับการใช้งาน แล้วตรวจสอบราคาจากผู้แทนจำหน่ายตามคุณลักษณะเฉพาะที่กำหนด
๓ รายขึ้นไป โดยคำนึงถึงความจำเป็นและเหมาะสมกับการใช้งาน แล้วตรวจสอบราคา
จากผู้แทนจำหน่ายตามคุณลักษณะเฉพาะที่กำหนด ๓ รายขึ้นไป โดยอาจตรวจสอบ
ราคาจากผู้แทนจำหน่ายโดยตรง และ/หรือตรวจสอบข้อมูลของผู้ประกอบการเพิ่มเติม
ผ่านเว็บไซต์ www.google.co.th (ถ้ามี) เพื่อนำผลการสำรวจมาประกอบการพิจารณา
กำหนดประเภทรายจ่าย คุณลักษณะเฉพาะ และราคากลาง แล้วดำเนินการจัดหา
ตามแนวทางที่กำหนดไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุพ.ศ. ๒๕๓๕
และที่แก้ไขเพิ่มเติม
        ดังนั้น หากมีรายการครุภัณฑ์ที่เข้าข่ายกรณีดังกล่าว สามารถนำคำตอบของ
สำนักงบประมาณไปเป็นแนวทางในการเสนอข้อมูลให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณา
ทั้งในด้านราคา และด้านคุณลักษณะเฉพาะได้ค่ะ





วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ผู้ขาย/ผู้รับจ้างตรวจสอบการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร (ส่วนราชการโอนให้ผู้ขาย/ผู้รับจ้าง)

         ผู้ขาย/ผู้รับจ้างต้องการตรวจสอบเงินที่ส่วนราชการโอนเข้าบัญชีเงินฝากต้องเข้าสู่ระบบ
เพื่อเข้าใช้งานรายงานการจ่ายชำระเงินที่เว็บไซต์ที่ http://vendors.mygfmis.com  ทั้งนี้
ผู้ขาย/ผู้รับจ้าง
จะต้องลงทะเบียนเพื่อใช้งานแล้วเท่านั้น ทั้งนี้ เว็บไซต์ให้ปฏิบัติดังนี้
          (หากต้องการดูข้อมูลเริ่มตั้งแต่ลงทะเบียน ดูได้ที่ http://office.nu.ac.th/psd/natarnongj/money.htm)
         1.  เข้าใช้งานที่ http://vendors.mygfmis.com 
                            2.1      ช่อง  รหัสประจำตัวผู้เสียภาษี  ระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
ของผู้ขายที่ได้ลงทะเบียนไว้แล้ว
                    2.2      ช่อง รหัสผ่าน  ระบุรหัสผ่านตามที่ได้กำหนดไว้เมื่อทำการลงทะเบียน
ดังรูปที่ 
1  แล้วจึงเลือก "ตกลง"  เพือเข้าสู่หน้าจอถัดไป ดังรูปที่ 2
 
                

                                                     รูปที่ 1
 
                

                                                      รูปที่ 2
                            2.3      ใช้ Mouse Click เลือก  รายงานการจ่ายชำระเงิน  เพื่อเข้าสู่
หน้าจอการเรียกแสดงข้อมูล
   ดังรูปที่ 3
 
                                                    รูปที่ 3

 
                2.4      ผู้ขายต้องเลือกวันที่ที่ต้องการให้ระบบแสดงข้อมูล
โดยกดปุ่ม   
   เพื่อเลือกวันที่ที่ต้องการ  (หากไม่ระบุ ระบบจะ
ไม่ประมวลผล)   ดังรูปที่
4
 
                                                       รูปที่ 4
                            2.5      กดปุ่ม  ตกลง   ระบบจะแสดงข้อมูลการจ่ายชำระเงินของหน่วยงาน
ภาครัฐเฉพาะการตั้งเบิก
ของหน่วยงานภาครัฐเพื่อจ่ายชำระเงินให้แก่ผู้ขายตามเลขประจำตัว
ผู้เสียภาษีอากรหรือเลขประจำตัวบัตรประชาชน
ที่ผู้ขายระบุตอนทำการลงทะเบียน ซึ่งรายงาน
จะแสดงข้อมูลในรูปของ
Excel file ดังรูปที่ 5
 
                                                      รูปที่ 5
 
ข้อมูลอะไรบ้างที่แสดงในรายงาน
                    ข้อมูลที่แสดงในรายงานการจ่ายชำระเงิน  มีดังนี้
                    · ช่อง ส่วนราชการผู้จ่ายชำระเงิน   แสดง  หน่วยงานระดับกรมที่จ่ายชำระเงิน
ให้แก่ผู้ขาย
                    · ช่อง หน่วยเบิกจ่าย    แสดง  หน่วยงานระดับหน่วยเบิกจ่าย  ซึ่งเป็นผู้ตั้งเบิก
และจ่ายชำระเงิน
                    · ช่อง จังหวัด   แสดง จังหวัดที่หน่วยเบิกจ่ายนั้นสังกัดอยู่
                    · ช่อง เลขที่ใบแจ้งหนี้  แสดงเลขที่เอกสารใบแจ้งหนี้ที่หน่วยงานบันทึก
ในระบบในขั้นตอนการ ตั้งเบิกของหน่วยงาน
                    ·  ช่อง วันที่สั่งโอนเงิน   แสดง  วันที่ที่กรมบัญชีกลางทำการสั่งโอนเงิน 
                    ·  ช่อง ธนาคาร/สาขา  แสดง   ชื่อธนาคาร และสาขาของบัญชีเงินฝากธนาคาร
ที่หน่วยงานภาครัฐ
                         สั่งให้โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้ขาย
 
                                              รูปที่ 6
 
§       ช่อง ชื่อบัญชี        แสดง    ชื่อเจ้าของบัญชีเงินฝากธนาคาร
                                                       ที่หน่วยงานภาครัฐสั่งโอนเงินเข้าบัญชี
§       ช่อง เลขที่บัญชี  แสดง     เลขที่บัญชีธนาคารที่หน่วยงานภาครัฐ
                                                       สั่งโอนเงินเข้าบัญชี
§     ช่อง จำนวนเงินรวม   แสดง  จำนวนเงินที่หน่วยงานภาครัฐ
                                                       ทำการตั้งเบิกก่อนหักภาษี ณ ที่จ่าย
                                                       และค่าปรับ
§       ช่อง ภาษีหัก ณ ที่จ่าย  แสดง  จำนวนเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย
§       ช่อง ค่าปรับ                  แสดง  ค่าปรับ (ถ้ามี)
§     ช่อง จำนวนเงินสุทธิ       แสดง  จำนวนเงินที่หน่วยงานภาครัฐ
                                                             สั่งจ่ายให้แก่ผู้ขายหลังจาก
                                                             หักภาษีหัก ณ ที่จ่าย 
                                                            
และค่าปรับ
(ถ้ามี) แล้ว  แต่เป็นมูลค่า
                                                             ก่อน หักค่าธรรมเนียมในการโอนเงิน
          หากบรรทัดรายการใดมีสัญลักษณ์รูปสี่เหลี่ยม  ปรากฏในช่องสุดท้าย  
(ดังแสดงในรูปที่ 9)  ให้ผู้ใช้กดที่ปุ่ม  จะปรากฏหน้าต่างย่อย  ดังรูปที่ 7  ซึ่งจะแสดง
ข้อความในกรณีที่เป็นรายการการโอนเงินที่ได้รับการโอนสิทธิการรับเงินจากผู้ขายรายอื่น
โดยจะระบุรหัสผู้ขาย-ชื่อผู้ขาย  ผู้ที่โอนสิทธิการรับชำระเงินมาให้ นอกจากนี้ถ้าส่วนราชการ
ได้บันทึกรายละเอียดเพิ่มเติมของการจ่ายชำระเงิน เช่น กรณีที่หน่วยงานภาครัฐรวบรวม 
ใบแจ้งหนี้หลายใบเพื่อจ่ายชำระในรายการเดียว  รายละเอียดเลขที่ใบแจ้งหนี้ย่อยที่หน่วยงาน
ภาครัฐระบุตอนตั้งเบิกจะปรากฏใน  รายละเอียดเพิ่มเติม 
 
 
                                   รูปที่ 7
 
ข้อจำกัดในการใช้งาน
 
1. ผู้ที่ใช้งานจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์พอสมควร
2. คอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ จะต้องต่อเข้ากับระบบ internet 
3. ข้อมูลที่เรียกได้อาจจะไม่เป็นปัจจุบัน
 
ปัญหาในการเริ่มต้น

 



 

                    เมื่อเรียกเวปขึ้นมา มักจะมีหน้าจอว่าง ให้คลิกขวาที่แถบสีเหลือง
 
                    จะปรากฏข้อความขึ้นมา ให้เลือก    Temporarily allow Pop-ups
 
                    เมื่อเลือกแล้ว หน้าจอด้านล่างนี้จึงจะเปิดขึ้นมา
 
 
ที่มา/แหล่งอ้างอิง
 
                    http://gfmisreport.mygfmis.com/public/Download/Manual_WebVendorPayment.doc
 
 
 
 
 
 

วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการโอนสิทธิเรียกร้อง

     กรณีที่ผู้ขาย/ผู้รับจ้าง ได้โอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงิน
กระทรวงการคลังได้แจ้งวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวกับการโอนสิทธิเรียกร้อง
ดังนี้
     1. เมื่อส่วนราชการได้รับหนังสือบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้อง
ในเงินค่าพัสดุ/ค่าเช่า/ค่าก่อสร้าง ให้ส่วนราชการส่งสำเนาหนังสือ
บอกกล่าวการโอนสิทธิการรับเงินดังกล่าวให้กรมสรรพากร หรือ
สำนักงานสรรพากรจังหวัด แล้วแต่กรณี เพื่อทราบ (ส่วนราชการ
ไม่ต้องแจ้งความยินยอมในการโอนสิทธิเรียกร้องให้ผู้รับโอนทราบ)
     2. ให้ส่วนราชการวางฎีกาขอเบิกเงินให้แก่เจ้าหนี้ตามที่ระบุ
ในสัญญาตามปกติ แต่ให้ส่วนราชการจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่
ผู้รับโอนโดยตรง
     3. ส่วนราชการจะต้องเรียกหลักฐานแสดงการโอนสทธิเรียกร้อง
เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการพิจารณาการจ่ายเงิน และให้ส่ง
สำเนาหลักฐานแสดงการโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวให้สำนักงาน
ตรวจเงินแผ่นดิน หรือสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินภาค แล้วแต่กรณี
เพื่อทราบด้วย
     4. ให้ผู้รับโอนออกใบเสร็จรับเงินเท่าจำนวนเงินสุทธิที่ได้รับ
จากส่วนราชการ โดยระบุว่าเป็นการรับเงินตามสิทธิเรียกร้องของผู้ใด
     5. ให้ส่วนราชการหมายเหตุรายละเอียดในใบเสร็จรับเงิน
ซึ่งผู้รับโอนออกให้ด้วยว่า เป็นการจ่ายเงินตามหลักฐานแสดงการ
โอนสิทธิเรียกร้องของผู้ขาย/ผู้รับจ้าง/ผู้ให้เช่า รายใด ตามสัญญา
ซื้อขาย/สัญญาจ้าง/สัญญาเช่า เลขที่ใด ลงวันที่ เดือน พ.ศ. ใด
เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบด้วย
     6. ให้ส่วนราชการออกใบรับรองการหักเงิน ณ ที่จ่าย สำหรับกรณี
ที่มีการโอนสิทธิเรียกร้อง แล้วส่งต้นฉบับให้แก่ผู้ขาย/ผู้รับจ้าง/
ผู้ให้เช่า  1 ฉบับ ส่วนสำเนาอีก 1 ฉบับ ส่งให้แก่กรมสรรพากร
หรือสำนักงานสรรพากรจังหวัด แล้วแต่กรณี
     7. ให้ส่วนราชการใช้หนังสือบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้อง
ใบเสร็จรับเงินของผู้รับโอน ที่แสดงจำนวนเงินที่ได้รับใบสุทธิ
และสำเนาใบรับรองการหักเงิน ณ ที่จ่าย ที่ส่วนราชการออกให้
ผู้รับโอนเป็นหลักฐานในการบันทึกบัญชี
      ตัวอย่างเอกสาร 

อ้างอิง : หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0526.5/ว 110
              ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2541

วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การดำเนินการตามมาตรการป้องกันและควบคุมอุบัติเหตุในงานก่อสร้างของรัฐ

        คณะรัฐมนตรีได้ลงมติอนุมัติในหลักการมาตรการป้องกันและควบคุมอุบัติเหตุ
ในงานก่อสร้างของรัฐตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการและสังคมเสนอ 
เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2543  ดังนี้
        1.  ให้กำหนดให้ผู้รับเหมาก่อสร้างที่จะยื่นซองประกวดราคา ต้องจัดทำเอกสาร
แนบท้ายเอกสารประกวดราคาเกี่ยวกับ "ระบบการจัดการความปลอดภัยในการก่อสร้าง"
        2.  กำหนดให้ผู้รับจ้าง หรือผู้รับเหมาก่อสร้าง ที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้รับจ้าง
งานก่อสร้าง ตามข้อ 1. จัดทำแผนปฏิบัติงานความปลอดภัยในการทำงานอย่างละเอียด
และชัดเจน ให้สอดคล้องกับระบบการจัดการความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้าง 
แล้วยื่นต่อผู้ว่าจ้าง หรือเจ้าของโครงการ ก่อนการดำเนินการก่อสร้าง ภายใน 30 วัน
นับแต่วันทำสัญญาว่าจ้าง
        3.  กำหนดให้ผู้ควบคุมงานของผู้ว่าจ้าง หรือเจ้าของโครงการ เป็นผู้ควบคุมดูแล
และตรวจสอบการปฏิบัติงานในหน่วยงานก่อสร้าง โดยให้ผู้รับจ้างปฏิบัติตามแผนปฏิบัติงาน
ความปลอดภัยตามข้อ 2. หรือผู้ว่าจ้างสามารถดำเนินการว่าจ้างที่ปรึกษาที่มีความสามารถ
ควบคุม ดูแล รับผิดชอบงานความปลอดภัย ในการทำงานก่อสร้างโดยตรง
        4.  กำหนดให้ผู้รับจ้าง หรือผู้รับเหมาต้องปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติงานตามข้อ 2. 
อย่างเคร่งครัด และสอดคล้องกับกฎหมาย และระเบียบที่กำหนดไว้ พร้อมรายงาน
ผลการดำเนินงานตามแผนการปฏิบัติงานดังกล่าว ให้แก่ผู้ว่าจ้าง หรือเจ้าของโครงการ
รับทราบ อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง